วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในสังคมบริโภค

พิธีกรรม คือ อะไร
พิธีกรรมทางศาสนา หมายถึง แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติทางพระศาสนา โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา และเกิดขึ้นภายหลังพระศาสนาบุญกิริยาวัตถุ นี้เอง เป็นต้นเหตุให้เกิดศาสนพิธีต่าง ๆ คือ
๑. รับศีล ปรับปรุงกายวาจาให้เรียบร้อยก่อน
๒. ภาวนา คือฟังพระสวดหรือเทศน์ให้จิตผ่องใสสบาย
๓. ทาน คือถวายสิ่งของแก่พระ
หมายความว่า ๑. ศีล ๒. ภาวนา ๓. ทาน ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นหลักในการทำบุญในพระพุทธศาสนา
พิธีกรรมทางพุทธศาสนาแยกไว้เป็น ๔ หมวด คือ
๑. หมวดกุศลพิธี : ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล
๒. หมวดบุญพิธี : ว่าด้วยพิธีทำบุญ
๓. หมวดทานพิธี : ว่าด้วยพิธีถวายทาน
๔. หมวดปกิณณกะ : ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด
ความสำคัญของพิธีกรรมและพิธีกรรมทางศาสนา
พิธีกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและวัฒนธรรม มนุษย์ในสังคมที่เจริญแล้วต่างก็มีประเพณีและพิธีกรรมที่เฉพาะของตน พิธีกรรมเป็นเครื่องชี้ถึงความสามัคคีความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ สำหรับประเทศไทยซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนั้น พิธีกรรมส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องของศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตร การไหว้พระสวดมนต์ การทำบุญในเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อและหลักการของพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น พิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนานี้ เรียกว่า ศาสนาพิธี ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑. ศาสนพิธีสำหรับพระ หมายถึง ระเบียบพิธีที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เช่น พิธีอุปสมบท พิธีสวดปาติโมกข์ เข้าพรรษา รับกฐิน เป็นต้น ซึ่งแต่ละพิธีนั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบของคณะสงฆ์ เวลาและสถานที่ ที่เฉพาะสำหรับพิธีนั้น ๆ ในส่วนที่เป็นระเบียบตามประเพณีนิยม เช่น กิจวัตรประจำวันที่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกบิณฑบาต การทำวัตรเช้า เย็น การศึกษาพระธรรมวินัย การสั่งสอนพระธรรมให้กับประชาชนทั่วไป
๒. ศาสนพิธีสำหรับชาวบ้าน เป็นระเบียบแบบแผนที่ผู้นับถือพุทธศาสนาจะต้องปฏิบัติ ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ คือ
๒.๑) กุศลพิธี เป็นพิธีเกี่ยวกับการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ได้แก่
(๑) การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
(๒) การรักษาอุโบสถศีล
(๓) การเวียนเทียนในวันสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
๒.๒) บุญพิธี เป็นพิธีทำบุญตามประเพณีนิยม มี ๒ ประเภท คือ
(๑) การทำบุญเนื่องในงานมงคล คือ การทำบุญเพื่อความสุขความเจริญ เช่น การทำบุญวันเกิด งานมงคลสมรส เป็นต้น
(๒) การทำบุญเนื่องในงานอวมงคล คือ การทำบุญในงานศพ การทำบุญเนื่องในวันครบวันตาย ๑๐๐ วัน เป็นต้น
๒.๓) ทานพิธี ได้แก่ การถวายทานโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ
(๑) ปาฏิบุคลิกทาน ได้แก่ ทานที่ทำถวายเฉพาะเจาะจงบุคคล เลือกวัด เลือกพระสงฆ์ที่จะถวาย
(๒) สังฆทาน ได้แก่ ทานที่ถวายแก่สงฆ์โดยส่วนรวม โดยไม่เลือกวัดและพระสงฆ์ที่รับทาน เช่น การถวายสังฆทาน การทำบุญตักบาตร เป็นต้น
๒.๔) ปกิณณกพิธี เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวข้องกับพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การแสดง ความเคารพพระสงฆ์ การอาราธนา การประเคนของ การนิมนต์พระ การกรวดน้ำ เป็นต้น
ประโยชน์ของพิธีกรรม
คนเป็นจำนวนมากที่เห็นพิธีกรรมเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระและเสียเวลาโดยใช่เหตุ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้ประกอบพิธีกรรมเหล่านั้น ไม่ได้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงระเบียบวิธีและแก่นแท้ของพิธีกรรมนั้น ๆ จึงทำให้เห็นเป็นเรื่องที่ไม่มีคุณค่า ไม่มีเหตุผลและงมงาย แท้จริงแล้ว พิธีกรรมทางศาสนามีประโยชน์มากมาย เช่น
๑) เป็นเครื่องมือสืบทอดพระพุทธศาสนา
๒) ทำให้เกิดความรักและสามัคคีของคนในสังคมนั้น ๆ
๓) แสดงถึงความเจริญทางจิตใจของคนในสังคม
๔) เป็นเครื่องจูงใจให้คนทำความดี ละเว้นความชั่ว
๕) ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ
คุณลักษณะของพิธีกรรมที่ดี พิธีกรรมที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
๑) วัตถุประสงค์ เชิงศีลธรรม
(๑.๑) เพื่อให้เกิดกุศล
(๑.๒) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
(๑.๓) เพื่อความสงบและร่มเย็นของสังคม
๒) วัตถุประสงค์ เชิงสังคม
(๒.๑) ความสามัคคีของหมู่คณะ
(๒.๒) ความอยู่รอดของศาสนา
(๒.๓) สร้างศรัทธาในศาสนา
๓) กระบวนการ
(๓.๑) ตรงไปตรงมา
(๓.๒) เรียบง่าย
(๓.๓) ไม่ฟุ่มเฟือย
(๓.๔) ไม่มีพิธีการมาก
เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยในพิธีกรรมทางศาสนา พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล มี ๓ อย่าง คือ
๑) ธูปสำหรับบูชาพระพุทธเจ้า
การจุดธูปสำหรับบูชาพระพุทธเจ้านั้น นิยมจุดบูชาครั้งละ ๓ ดอก โดยมีความหมายว่า พระพุทธเจ้านั้นมีพระคุณที่ยิ่งใหญ่ ๓ ประการ คือ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ธูปทั้ง ๓ ดอก จึงจุดเพื่อบูชาพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการนี้ ธูปสำหรับจุดบูชาพระพุทธเจ้านั้น นิยมใช้ธูปที่มีกลิ่นหอมที่มีลักษณะตรงข้ามกับกลิ่นหอมที่ชาวโลกนิยมใช้กันอยู่ คือ เป็นกลิ่นหอมเมื่อได้สูดดมแล้วทำให้เกิดจิตฟุ้งซ่านไม่สงบ แต่กลิ่นหอมของธูปจะทำให้กิเลสยุบตัวลง จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน นอกจากนั้นแม้ธูปจะไหม้หมดแล้วกลิ่นหอมของธูปก็ยังอบอวลอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เปรียบได้กับพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้าที่เข้าถึงจิตใจของบุคคลอยู่ตลอดเวลา แม้พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานไปนานถึง ๒ พันกว่าปีมาแล้วก็ตาม
๒) เทียนสำหรับบูชาพระธรรม
การจุดเทียนบูชาพระธรรมนั้นนิยมจุดบูชาครั้งละ ๒ เล่มโดยมีความหมายว่า พระธรรมอันเป็นคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มี ๒ ประเภท คือ พระวินัย สำหรับฝึกหัดกายวาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและพระธรรมสำหรับจิตใจให้ระงับความชั่วและทุจริตทุกประการ เทียน ๒ เล่ม ก็เพื่อบูชาพระวินัย ๑ เล่ม และบูชาพระธรรม ๑ เล่ม เทียนสำหรับบูชาพระธรรมนั้น นิยมใช้เทียนเล่มใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียนการใช้เทียนบูชาพระธรรมนั้น เพื่อแสดงว่าเทียนที่จุดขึ้น ณ ที่ใดย่อมกำจัดความมือของสถานที่นั้น ๆ ออกไปทำให้เกิดความสว่างเปรียบได้กับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาจนเกิดความรู้ความเข้าใจแล้วย่อมกำจัดความมืด คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาในจิตใจของบุคคลนั้น ๆ ให้หายหมดไป ทำให้เกิดแสงสว่าง คือ ปัญญาขึ้นภายในจิตใจของตน
๓) ดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์
การจัดดอกไม้เพื่อบูชาพระสงฆ์ มีความหมายว่า ดอกไม้นานาชนิดที่นำมาจัดไว้ในแจกันนั้น เมื่อยังอยู่ ณ ต้นของมัน ก็ย่อมมีความสวยงามตามสมควรแก่สภาพของพันธุ์ไม้นั้น ๆ ถ้าหากเราเก็บดอกไม้มากองรวมกัน โดยมิได้จัดสรรตกแต่ง ย่อมจะหาความเป็นระเบียบสวยงามมไม่ได้ เมื่อมีช่างจัดดอกไม้นำมาใส่แจกันหรือภาชนะอื่น ๆ ประดับให้เป็นระเบียบก็เกิดความสวยงามน่าดูเปรียบได้กับพระสงฆ์สมัยเมื่อยังเป็นคฤหัสถ์อยู่นั้น ย่อมมีกิริยามารยาทและจิตใจเรียบร้อยตามควรแก่ฐานะและตระกูลของตน บ้างก็มีจิตใจอ่อนโยน บ้างก็มีจิตใจหยาบกระด้างครั้นเมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นซึ่งต่างชาติต่างฐานะต่างตระกูลกันเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ถ้าไม่มีระเบียบแบบแผนเดียวกันก็จะทำให้พระสงฆ์เหล่านั้น ไม่มีความเป็นระเบียบ และไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้ที่พบเห็น ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้กำหนดพระธรรมวินัยไว้ให้เป็นแบบแผนในการปฏิบัติก็เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าเคารพบูชาเหมือนเหล่าดอกไม้ที่ได้จัดไว้อย่างดีแล้ว ดอกไม้สำหรับใช้บูชาพระสงฆ์นั้น นิยมใช้ดอกไม้ที่มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. มีสีสวย
๒. มีกลิ่นหอม
๓. กำลังสดชื่น
จึงมีการเปลี่ยนดอกไม้ที่ใช้บูชาพระประจำวันอยู่เสมอ อันเป็นนิมิตหมายของความสดชื่น รุ่งเรือง ไม่ปล่อยให้เหี่ยวแห้ง อันแสดงถึงความเสื่อมโทรม
ตัวอย่าง การบูชาพระประจำวัน
การบูชาพระประจำวันของพุทธศาสนานิกชนนิยมทำกันวันละ ๒ ครั้ง คือ ก่อนออกจากบ้านและก่อนนอน การบูชาพระก่อนออกจากบ้าน จะกระทำในเวลาเช้าเมื่อเตรียมตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าไปยังที่บูชาพระ นักคุกเข่าจุดเครื่องสักการะ คือ
(๑) จุดเทียน ๑ เล่ม ขวาของพระพุทธรูปก่อนแล้วจึงจุดเทียนเล่มซ้าย
(๒) จุดธูป ๓ ดอก แล้วปักที่กระถางโดยปักเรียงกัน แล้วกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
แนวคิดและเกณฑ์การตัดสินพิธีกรรม : ด้วยแนวคิดวิธีการบริโภคเชิงพุทธ
ในกระแสความเจริญของอารยธรรมโลกในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ ซึ่งส่งผลให้สังคมโลกเกิดกระแสการเสพบริโภคในเชิงวัตถุและเทคโนโลยี กระแสของการเสพบริโภคถูกปลุกเร้าจากการเป็นผู้เสพมากกว่าผู้ผลิต ถูกนำเสนอผ่านสื่อและโฆษณา โดยมีภาพของความสะดวกสบายเป็นตัวขับเคลื่อน ให้ผู้คนในโลกเกิดการแสวงหาและแข่งขันกันทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ว่าลักษณะการเสพบริโภคกับไม่มีความสมดุลในทางการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ จนเกิดปัญหาด้านต่างๆขึ้น เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตามมา เหตุเพราะการบริโภคนั้นมี ๒ กระแสหลัก คือ
๑. การบริโภคที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเป็นผู้ผลิต
๒. การบริโภคที่ตั้งอยู่บนฐานของการเสพเพียงอย่างเดียว
จากกระแสการบริโภค ๒ สายนี้ ก่อเกิดความไม่สมดุลในการดำเนินชีวิตของบุคคล ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นประเทศผู้ผลิต การบริโภคนั้นมีฐานของการผลิตที่ทำให้ผู้คนสามารถที่จะสร้างสรรค์วัตถุ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพทางการผลิตและพัฒนาความเจริญในทางวัตถุได้มากขึ้น กลุ่มที่สองเป็นประเทศโลกที่สามหรือประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ลาว เขมร เป็นต้น ซึ่งการผลิตเทคโนโลยียังล้าหลังและความคิดสร้างสรรค์ยังมิได้ถูกพัฒนา ทั้งนี้มิได้หมายความว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีภูมิปัญญา เพียงแต่พลังการส่งเสริมวัฒนธรรมการผลิตไม่เข้มแข็ง จึงทำให้การเสพบริโภคกลายเป็นสิ่งที่ครอบงำได้ง่ายมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
ในทางพระพุทธศาสนาการบริโภค เป็นกระบวนการที่เกื้อหนุนให้กับกระบวนการศึกษาหรือสิกขา เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของความเป็นมนุษย์เท่านั้น การบริโภคเป็นปัจจัยระดับพื้นฐานของการสร้างเหตุปัจจัยที่ดีงาม การบริโภคที่เป็นสัมมาทิฐิจะต้องบริโภคเพื่อพัฒนาศีล สมาธิปัญญา โดยใช้กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเป็นแกนกลางในการบริโภค “ปัจจัย ๔ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช หรือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค”
พิจารณาเนื้อหาหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความหมายเฉพาะในฐานะวิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง มีเนื้อหาหลัก คือ หลักสัจธรรมและหลักปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายในอัตถะประโยชน์ ๓ เป็นบริบทพื้นฐาน การศึกษาเชิงพุทธ ก็คือ การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ โดยพิจารณาถึงศักยภาพของมนุษย์ว่าเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ ใช้หลักโพธิศรัทธาเป็นสภาพเอื้อให้เกิดจิตสำนึกในการศึกษา ซึ่งมีศูนย์รวมของการศึกษาที่ “ปัญญา” ผ่านกระบวนการปริยัติ, ปฏิบัติ, และปฏิเวธ บุพภาคการศึกษาเริ่มต้นที่สัมมาทิฐิแล้ว พัฒนาที่การใช้อินทรีย์ ซึ่งมีปรโตโฆสะกับโยนิโสมนสิการเป็นตัวหนุนผ่านหลักหมวดธรรม ๗ ประการ มีกัลยาณมิตตตา เป็นต้นนำสู่สิกขา วิธีการศึกษา คือการใช้หลักไตรสิกขา ผ่านหลักวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรค ทำให้เนื้อหาของการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่เป็นผลสัมฤทธิ์ของการศึกษา คือ อริยบุคคล ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรให้กับสังคมและทำให้เกิดคุณสมบัติในตัวผู้ได้รับการศึกษา คือ มีปัญญาและกรุณา ในขั้นการประเมินผลการศึกษาใช้หลักภาวนาเป็นตัวชี้วัด มีภาวิตกาย เป็นต้น ผู้มีภาวนาครบ ชื่อว่าจบการศึกษา โดยใช้หลักธรรมที่เป็นสาระสำคัญในการอธิบายทฤษฎีการศึกษาเชิงพุทธ เช่น ขันธ์ ๕ เป็นต้น เชื่อมโยงผ่านการศึกษาที่มุ่งสู่มนุษย์สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต การบริโภค สภาพสังคมและสรรพสิ่งให้เกิดความถูกต้องดีงาม
ในแง่การเสพบริโภค นอกจากกระบวนการศึกษาแล้วปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลัก ก็คือ การสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจ คือ
คำว่า “เศรษฐกิจ” (Economy) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด และอย่างประหยัดที่สุด
ส่วนคำว่า สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึงสถาบันสังคมสถาบันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด สถาบันเศรษฐกิจนี้ มีส่วนประกอบที่เป็นกิจกรรมอยู่ ๓ ประการ คือ การผลิต การแจกจำหน่าย และการบริโภค
เนื่องจากสถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันสังคมที่สำคัญมากสถาบันหนึ่ง จึงมีหน้าที่ต่อสังคมซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการผลิต จำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคอย่างแยกกันไม่ได้
การผลิต หมายถึง การสร้างและการหาผลิตผลหรือการบริการมาเพื่อสนองความต้องการในการบริโภค เช่น การผลิตอาหาร การผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคเครื่องอำนวยความสะดวกต่อชีวิตของมนุษย์
สำหรับการบริการก็มี เช่น การศึกษา การดูแลรักษาพยาบาล การบันเทิง การสาธารณูปโภค การคมนาคม เป็นต้น
การผลิตต่าง ๆ เหล่านี้มีบุคคลทำหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ชาวนาผลิตอาหาร กรรมกรผลิตสินค้าในโรงงาน แพทย์ดูแลรักษาพยาบาล พนักงานขับรถโดยสารให้บริการด้านการคมนาคม เป็นต้น
การผลิตนอกจากอาศัยบุคคลแล้วยังต้องอาศัยทุน ทรัพยากร และการจัดการ การจำหน่ายจ่ายแจก สถาบันเศรษฐกิจมีหน้าที่ในการแจกจ่ายหรือกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่สมาชิกของสังคม โดยมีตลอดเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และมีสถาบันอื่น ๆ ช่วยสนับสนุน เช่น สถาบันการเงิน นายหน้า คนกลางหรือพ่อค้า เป็นผู้ดำเนินการ
การบริโภค เป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะทำการบริโภคหรือใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อความอยู่รอดและความสะดวกในการดำเนินชีวิต หากปราศจากการบริโภคสถาบันเศรษฐกิจจะอยู่ไม่ได้
หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเรื่องเศรษฐกิจนั้นมีอยู่ เพราะพระพุทธศาสนาเห็นว่าเป้าหมายของคนในสังคมต้องการความสุขและความสุขนี้แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
๑. ระดับโลกิยะ เป็นเรื่องของปุถุชนธรรมดาทั่วไปที่มีความต้องความสุขขั้นพื้นฐานโดยรวมมี ๔ ประการ คือ ความสุขเกิดจากมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ความสุขจากการไม่เป็นหนี้สิน และเกิดจากมีงานทำที่สุจริต แต่ความสุขดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์คือ ประโยชน์ในปัจจุบันมี ๔ ประการ คือ
๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการดูแลรักษา
๓) กัลยาณมิตตตา มีมิตรที่ดี
๔) สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตให้พอเหมาะพอดี
หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นหลักปฏิบัติให้ถึงความสุขระดับโลกิยะได้อย่างสมบูรณ์
๒. ระดับโลกุตตระ เป็นการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมของแต่บุคคลที่จะสามารถขัดเกลากิเลสให้เบาบางและหมดไปในที่สุดจนถึงเป้าหมาย คือ ความสุขอันสูงสุดกล่าว คือ พระนิพพาน
นอกจากนี้ยังมีหลักในการบริโภคปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนในสังคมที่จะต้องใช้สอยหลักการดังกล่าวนี้ คือ ปัจจเวกขณะ ได้แก่การพิจารณาอยู่เนืองๆ ในการบริโภคปัจจัย ๔ อย่างมีสติตลอดเวลา โดยคำนึงถึงคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมของปัจจัย ๔ ที่บริโภคอยู่อย่างถูกต้องและมีสติก็จะทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง
หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการบริโภคผ่านหลักการระลึกถึงบุคลอื่นๆ เพื่อลดการเห็นแก่ตัว ที่ เรียกว่า หลักสาราณียธรรม คือ บริโภคโดยไม่แบ่งแยก ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
หลักการบริโภคเชิงพุทธ
จะต้องเริ่มต้นจากการบริโภคอย่างมี “สัมมาทิฐิ” เป็นเบื้องต้น คือ ความเข้าใจตามนัยเหตุผล ค่านิยม อุดมการณ์ แนวทัศนะในการมองโลกและชีวิต ตลอดจนทัศนคติพื้นฐานที่สืบเนื่องจากความเห็นความเข้าใจและความใฝ่นิยมเหล่านั้น ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำและมีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิต สังคม และการบริโภคอย่างมาก
การบริโภคนั้นเป็นภาพสะท้อนในแง่การปฏิบัติ เช่น เมื่อคนชอบความมั่งมีในเชิงวัตถุ มักจะเห็นว่าความพรั่งพร้อมในการบริโภคทางวัตถุส่วนตัวเป็นจุดหมายชีวิต เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของบุคคลและเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจ เขาย่อมดิ้นรนขวนขวายเพื่อแสวงหาการเสพบริโภคทางวัตถุนั้นๆ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการเสพบริโภคเพื่อสนองความอยาก คือ ตัณหา
การบริโภคเชิงพุทธจึงต้องใช้โยนิโสมนสิการเป็นตัวกำกับ นำ และคุมความประพฤติ เพื่อให้การบริโภคนั้น เป็นสภาพเอื้อไปสู่ การศึกษาหรือกระบวนการแห่งไตรสิกขา ได้แก่การบริโภคที่เป็น พรหมจรรย์ คือ
ศึกษา หมายถึงการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่ สิกขา
สิกขา หมายถึง การศึกษา, การสำเหนียก, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี ๓ อย่าง คือ
๑. อธิศีลสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องศีล
๒. อธิจิตตสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องจิต
๓. อธิปัญญาสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา
สิกขา นั้นแปลว่า ศึกษา สิกฺขา เป็นภาษาบาลี สันสกฤตเป็น ศิกฺษา เป็นไทยว่า ศึกษา เป็นคำๆ เดียวกัน ฉะนั้น หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่าการศึกษา
ได้แก่ การดำเนินชีวิตหรือหลักการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา ที่นำเอาการศึกษาเข้ามาเป็นสาระสำคัญ เป็นเนื้อแท้ของการดำเนินชีวิต และทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นการศึกษา ภารกิจที่สำคัญของการศึกษาจึงได้แก่ การช่วยให้บุคคลเกิดทัศนคติที่ถูกต้อง คือรู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และสามารถจัดการกับสิ่งเหล่านั้นตามที่ควรจะเป็น ให้เกิดเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคม ไม่ให้มองเห็นและจัดการสิ่งทั้งหลายตามอำนาจกิเลสตัณหา แต่การที่จะทำให้เกิดการพัฒนาปัญญาจนเข้าถึงภาวะสงบเย็น ที่สลายตัณหา มานะ ทิฐิ ได้ก็ต้องพัฒนาตน โดยพัฒนาเริ่มต้นที่จะเข้าสู่กระบวนการศึกษา คือ การพัฒนามนุษย์ จากการใช้ตา หู เพื่อเสพ มาสู่การใช้ตา หู เพื่อศึกษา อันนี้คือจุดเริ่มที่แท้ของการศึกษา ซึ่งเป็นจุดสำคัญมาก มนุษย์ใช้ตา หู อย่างไร
(๑) มนุษย์ใช้ตา หู ฯลฯ เพื่อสนองความต้องการในด้านความรู้สึกคือเอาสิ่งทั้งหลายมาบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้นของตน ให้มีความสุขความเพลิดเพลินชื่นชอบใจ เรียกว่า เสพ, หรือบริโภค
(๒) มนุษย์ใช้ตา หู ฯลฯ เพื่อสนองความต้องการในด้านความรู้คือใช้เรียนรู้ เรียกว่า ศึกษา
ตรงนี้เป็นจุดแยกที่สำคัญ เมื่อมีการศึกษาที่ถูกต้อง มนุษย์เริ่มพัฒนา ก็ต้องรู้จักใช้ตา หู เพื่อการศึกษา ดังนั้น ย้ายจากความเป็นนักเสพบริโภคคนก็จะพัฒนาความเป็นนักศึกษาขึ้นมา นักศึกษาก็คือ บุคคลที่รู้จักใช้ ตา หู มิใช่เพียงเพื่อเสพบริโภค แต่ใช้เพื่อเรียนรู้ การศึกษาในทางพระพุทธศาสนามิได้มุ่งไปที่ผู้สอน แต่มุ่งที่ผู้ศึกษา คือความปรารถนาที่จะเป็นผู้สามารถรู้เอง, เห็นเอง, และทำได้เอง โดยมีการสร้างสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้นก่อน สัมมาทิฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด
การบริโภคเชิงพุทธ ก็คือปัจจัยที่จะเอื้อต่อระบบและกระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุคคล กระบวนนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ เรียกว่า ไตรสิกขา แปลว่า หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ
(๑) การฝึกฝนอบรม ในด้านความประพฤติ (Training in Higher Morality) ระเบียบวินัย ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ เรียกว่า ศีล ได้แก่ การรู้จักประมาณในการบริโภคเชิงวัตถุ
(๒) การฝึกอบรมทางจิตใจ (Training in Higher Mentality) การปลูกฝังคุณธรรมสร้างเสริมคุณภาพ สมรรถภาพและสุขภาพของจิต เรียกว่า สมาธิ หรือการรู้จักควบคุมความต้องการบริโภคทาง จิตใจที่เป็นเรื่องของตัณหาล้วนๆ
(๓) การฝึกฝนอบรมทางปัญญา (Training in Higher Wisdom) ให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำให้แก้ปัญหาไปตามแนวทางเหตุผลรู้เท่าทันโลกและชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตใจอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า ปัญญา หรือได้แก่การพิจารณาก่อนจะบริโภค คือ บริโภคเพื่อเป็นปัจจัยหนุนตัว สติ เพื่อเป็นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมวินัย นี่เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์อย่างเต็มระบบ
วัตถุประสงค์ของการบริโภคในพระพุทธศาสนา
จากกระบวนการบริโภคเชิงพุทธข้างต้น ทำให้กระบวนการพัฒนาชีวิตก้าวหน้าต่อไปอีก กล่าวคือ เมื่อได้เรียนรู้ผ่านการบริโภค ก็จะทำให้แยกได้ระหว่างสิ่งที่ดีกับสิ่งที่ยังไม่ดี ระหว่างสิ่งที่สมบูรณ์กับสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์ ระหว่างสิ่งที่อยู่ในภาวะที่ควรจะเป็นกับสิ่งที่ยังไม่เข้าถึงภาวะที่ควรจะเป็น พอแยกได้อย่างนั้นแล้ว บุคคลก็อยากให้สิ่งนั้นอยู่ในภาวะที่ดี ที่สมบูรณ์ ที่ควรจะเป็น ถึงตอนนี้ ก็จะเกิดความอยาก (ฉันทะ) หรือความต้องการชนิดใหม่ คือ ต้องการให้มันดี ให้มันสมบูรณ์ เรียกง่ายๆ ว่า ใฝ่ดี เมื่ออยากให้มันดี แต่มันยังไม่ดี ก็อยากทำให้มันดี ความอยากทำให้มันดีนี้ เรียกว่า ความใฝ่สร้างสรรค์ เมื่ออยากทำให้มันดี ก็พยายามที่จะทำ เมื่อทำด้วยความต้องการที่จะทำ เขาก็จะมีความสุขจากการกระทำ และเมื่อทำให้ดีได้ก็จะยิ่งมีความสุข เรียกว่า ความสุขจากการสร้างสรรค์ ตรงนี้แหละเป็นเป้าหมายของการบริโภคเชิงพุทธ ได้แก่ การฝึกหรือใช้การบริโภคเป็นจุดเริ่มเพื่อที่จะพัฒนา คือ ความใฝ่สร้างสรรค์ และการมีความสุขจากการทำการสร้างสรรค์ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคนให้เกิดความต้องการทำให้ดี และการมีความสุขจากการกระทำที่สนองความต้องการนั้น
ผลสัมฤทธิ์ของการบริโภคที่เป็นตัวขับเคลื่อนของการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการบริโภคเชิงพุทธ คือ มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นอริยบุคคลที่เรียกว่า พระอรหันต์ บุคคลที่บริโภคอย่างไม่เป็นทาสของกิเลส มี ๔ จำพวก คือ
๑. พระโสดาบันบุคคล แปลว่า ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลขั้นแรก สามารถละโอรัมภาคิยสังโยชน์อันเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดาปัตติมรรค คือ ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระโสดาบันหรือญาณคือ ความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ
๒. พระสกทาคามีบุคคล แปลว่า ผู้จะเกิดอีกครั้งเดียว หรือผู้จะมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้เหมือนขั้นโสดาบัน พร้อมกับบรรเทา ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
๓. พระอนาคามีบุคคล แปลว่า ผู้ไม่มาสู่โลกนี้อีก หมายความว่าหลังจากตายไปแล้วท่านจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วบรรลุอรหันตผลในที่นั้น ละสังโยชน์ได้เพิ่มจากเดิมอีก ๒ ประการ คือ ๑) กามราคะ
๒) ปฏิฆะ หรือ พยาบาท รวมเป็น ๕ ประการ ซึ่งเรียกว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์
๔. พระอรหันต์ มีความหมายเป็น ๕ นัย คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส, กำจักข้าศึกคือกิเลส, เป็นผู้หักซี่กำแห่งสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด, เป็นผู้ควรรับไทยทาน, เป็นผู้ไม่มีความลับในการทำบาป และเป็นอเสขะคือจบการศึกษา และพ้นทุกข์ถึงพระนิพพาน
โดยนัยนี้ คนที่บรรลุวัตถุประสงค์วิธีการใช้สอยปัจจัย ๔ หรือ การรู้จักพิจารณาบริโภคในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะพ้นจากอำนาจครอบงำของความรู้สึกฝ่ายตัณหา ขึ้นมาสู่ความปลอดโปร่งชื่นบานแห่งความรู้ความเข้าใจฝ่ายปัญญา และสามารถดำรงตนในฐานะกัลยาณมิตรให้กับสังคมที่เปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นต่อไปได้ ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการแห่งการบริโภคเชิงพุทธ อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เราเรียกว่า พระธรรมวินัย
เกณฑ์การตัดสินหรือหลักการตัดสิน “การบริโภค”
คือ สิ่งใดที่เรียกว่า บริโภคด้วยปัญญา และสิ่งใดที่เรียกว่าบริโภคเพื่อเสพด้วยตัณหา ดังนี้ ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัส ไว้แก่นางมหาปชาบดีโคตมีมีอยู่ ๘ ประการด้วยกัน ท่านบอกว่า หลักที่ใช้ตัดสินว่าการบริโภคเช่นไรเป็นเชิงพุทธหรือเช่นไรผิดหลักพุทธ ซึ่งได้กล่าวเป็นเกณฑ์หลักว่า ธรรมหรือคำสอนอันใดเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็คือให้ดูว่าธรรมที่เขายกมาอ้างหรือกล่าว หรือประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อวิราคะ คือ ความคลายกำหนัด คลายความติดหรือไม่ เป็นไปเพื่อวิสังโยค เพื่อความคลายการหลุดจากความทุกข์ไม่ประกอบด้วยความทุกข์ เป็นไปเพื่ออปจยะ ความไม่พอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออัปปิจฉตา ความมักน้อย เป็นไปเพื่อสันตุฏฐี ความสันโดษ เป็นไปเพื่อความปวิเวก ความสงัด เป็นไปเพื่อวิริยารัมภะ การปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อสุภรตา ความเลี้ยงง่ายหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามหลัก ๘ ประการนี้ ก็ถือว่าไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าบริโภคไม่เป็นไปตามนี้ถือว่าผิดหลักพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นไปตามหลักนี้เข้ากันได้กับความที่กล่าวมา ๘ ประการ ก็เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และเป็นการบริโภคเชิงพุทธที่ถูกต้องดีงาม
ยังมีหลักธรรมคล้ายๆกันอีกหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แก่พระอุบาลี ก็เรียกชื่อทำนองเดียวกันว่าเป็นลักษณะตัดสินพระธรรมวินัยมี ๗ ประการ คือ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อเอกันตนิพพิทา เพื่อความเบื่อหน่ายโดยสิ้นเชิง เป็นไปเพื่อวิราคะ การคลายความยึดติด เป็นไปเพื่อนิโรธ ความดับทุกข์ เป็นไปเพื่ออุปสมะ ความเข้าไปสงบระงับ เป็นไปเพื่ออภิญญา ความรู้ยิ่งเฉพาะ เป็นไปเพื่อสัมโพธะ ความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน รวม ๗ ประการ ถ้าเข้ากับหลักนี้ ก็เรียกว่าพระธรรมวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่เข้ากับหลักนี้ก็ไม่ใช่ หลักการทั้งสองประการนี้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยลักษณะของการบริโภคทางพระพุทธศาสนาได้ดีมากในเวลาที่ผู้ศึกษาเกิดความไม่แน่ใจหรือไขว้เขวต่อวิธีการหาข้อสรุปที่ชัดเจนในทางพระพุทธศาสนา

สรุป
การบริโภคเชิงพุทธ ก็คือ การบริโภคอย่างมี สติ และใช้ปัญญาในการพิจารณา เพื่อบริโภคในการเอื้อต่อการปฏิบัติธรรม คือการบริโภคเพื่อการศึกษา อันจะนำไปสู่การไม่ตกเป็นทาสตัณหา คือ ความเป็นอิสรภาพในขั้นอายตนะคือ เพื่อเรียนรู้มิใช่เพื่อเสพ และควบคุมการปรุงแต่งทางความต้องการทางใจหรือตัณหา และเพื่อพิจารณาส่งเสริมต่อการใช้ปัญญา อันจะนำไปสู่ ความดับทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าวางไว้มาเป็นเกณฑ์การตัดสิน
พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในสังคมไทยปัจจุบัน จึงต้องใช้กระบวนทัศน์การบริโภคเชิงพุทธที่ยกมาเป็นกรอบวิธีการในการบูรณาการ เพื่อให้พิธีกรรมนั้นๆเป็นไปเพื่อการสร้างสภาพเอื้อต่อกระบวนการ สร้างศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ คือนำพิธีกรรมเป็นตัวเร้าให้เกิดการสนใจที่จะเรียนรู้ ฝึกหัด พัฒนาบุคคล และใช้กระบวนการทางพิธีกรรมในการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เป็นสังคมแห่งกัลยาณมิตร และเป็นปรโตโฆสะที่ดีงาม ต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักการแห่งศีล สมาธิ ปัญญา หรือพระธรรมวินัยนั่นเอง













ภาคผนวก
แนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )
สังคมไทยในปัจจุบัน มีวิถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของเศรษฐกิจกระแสหลัก ด้วยมนุษย์ต้องดำเนินชีวิตอิงอาศัยปัจจัยสี่ จึงมีการแลกเปลี่ยนทางเงินตราเพื่อเป็นปัจจัยในการซื้อขายสิ่งยังชีพเหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าระบบเศรษฐกิจ แต่ว่าการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขมิได้มีเพียงการพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างเดียว แต่มีปัจจัยภายในคือการดำรงชีวิตอย่างมีปัญญาเพื่อจัดสรรชีวิตให้เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญ นั่นเป็นที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งมีหลักปรัชญา คือ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการประยุกต์วิถีทางเศรษฐกิจพื้นฐานจากบริบทสังคมไทยดั้งเดิมโดยดำรงและปฏิบัติตนตามสภาพวิถีแห่งวัฒนธรรมไทยอย่างที่ควรจะเป็นด้วยการมองโลกเชิงระบบที่มีพลวัติ มุ่งเน้นการดำเนินชีวิตที่ทวนกระแสเงินตราแต่ให้กลับมาสู่การดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองคือ การทำมาหากินตามศักยภาพของตนอย่างมีคุณภาพและความสุข เป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางตามอิทธิพลพระพุทธศาสนาผ่านการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คือ ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ (1) ความพอประมาณ หมายถึง การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอดี (2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล (3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอดี คือ อาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ได้จริง แต่ต้องประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาวะสังคมไทยในแต่ละภูมิภาค คำว่าพอเพียงเป็นทัศนะแม่บท ที่คนไทยต้องนำมาใช้จัดสรรผ่านองค์ความรู้ท้องถิ่น ด้วยการรู้จักใช้ปัญญา พึ่งพาตนเองได้ จึงจะเป็นวิถีชีวิตพอเพียงตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนี้แล.

หนังสืออ้างอิง
๑.๑ พระไตรปิฎก
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เล่มที่ ๑, เล่มที่ ๔, เล่มที่ ๑๑, เล่มที่ ๑๒, เล่มที่ ๒๕,เล่มที่ ๒๐, เล่มที่ ๓๐, เล่มที่
๓๖, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙.
๑.๒ อรรถกถา
วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกาปาราชิกกณฺฑ สํฆาทิเสสาทิมหาวคฺคาทิอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี). เล่มที่ ๑.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙.
๑.๓ หนังสือ
คณาจารย์ภาควิชาสังคม. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัย
รามคำแหง, ๒๕๓๔.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๘,กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, ๒๕๔๐.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๘.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐,
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). วาทะธรรมเพื่อการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร :
นานมีบุ๊ค, ๒๕๔๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การศึกษาทางเลือก : สู่วิวัฒน์หรือวิบัติ ในยุคโลกไร้พรมแดน. พิมพ์
ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๑.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม.พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๒.
สุพัตรา สุภาพ. สังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๔.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. หลักสังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๓.
------------------------. พุทธสังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์, ๒๕๓๓.
แสง จันทร์งาม. พุทธศาสนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพ ฯ : เจริญกิจ, ๒๕๓๕.

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลักธรรมที่ครอบคลุมหลักธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีมากมาย แต่โดยสรุปแล้วจะมีหลักการหรือหัวใจพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่า พระคาถาของพระอัสสชิ มาเป็นเครื่องพิจารณา เมื่อพระอัสสชิ ได้พบกับพระสารีบุตรแต่ก่อนบวชพระสารีบุตรได้ถามถึงใจความของพระพุทธศาสนา ว่ามีอยู่อย่างไร โดยย่อที่สุดพระอัสสชิได้ตอบว่า โดยย่อที่สุดแล้ว ก็คือ เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุง ตถาคโต, เตสญฺจ โย นิโรโธ จ,เอวํวาที มหาสมโณ, เป็นใจความสั้น ๆ เพียงเท่านี้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยเรา ก็ว่า “สิ่งทั้งหลายเหล่าใด เกิดมาแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าท่านทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้นพร้อมทั้งแสดงความดับสิ้นเชิง ของสิ่งเหล่านั้น เพราะหมดเหตุ, พระมหาสมณเจ้าตรัสอย่างนี้” นี้ เป็นคำตอบของพระอัสสชิ แต่ถือกันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในทุกประเทศที่เป็นพุทธบริษัท ถึงกับมีการจารึกลงในแผ่นอิฐ มาตั้งแต่ครั้งใกล้สมัยพุทธกาล คือยุคสมัยพระเจ้าอโศกเป็นต้นมาทีเดียว เป็นตัวอักษร ๔ บรรทัดนี้เท่านั้น ถือกันว่าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในฐานะเป็นใจความของพระพุทธศาสนา
ถ้าเอาตามหลักนี้ ก็กล่าวได้ว่า ใจความของพุทธศาสนานั้น คือการบอกให้รู้ว่า “สิ่งทั้งปวงนั้น มันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา มันดับไม่ได้จนกว่าจะดับเหตุเสียก่อน” แม้ใจความสำคัญนี้ ก็เป็นการชี้ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คือเป็นการชี้ให้รู้ว่าอย่าไปเห็นว่าเป็นปรากฏการณ์อะไรเป็นตัวตนที่ถาวร ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร มีแต่สิ่งที่เกิดงอกงามออกมาจากเหตุ และงอกงามเจริญเติบโตต่อไปโดยอำนาจของเหตุ และจะดับไปเพราะความสิ้นสุดของตัวเหตุ คำว่าเหตุในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มีอำนาจปรุงแต่ง ซึ่งเราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัจจัย ก็ได้ สิ่งหนึ่ง ๆ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยแต่งสิ่งอื่นๆ สืบต่อกันไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ หรือปรากฏทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นผลิตผลของสิ่งที่เป็นเหตุ ไม่มีตัวมันเองที่เป็นของอิสระตายตัว เป็นแต่ความเลื่อนไหลไป ในฐานะเป็นผลของสิ่งที่เป็นเหตุที่ปรุงแต่งกันไม่หยุด เพราะอำนาจของธรรมชาติมีลักษณะปรุงไม่หยุดยั้งสิ่งต่างๆ จึงปรุงแต่งกันไม่หยุด และเปลี่ยนแปลงกันไม่หยุด พุทธศาสนาจึงบอกให้รู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน (อนัตตา) มีแต่ความที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งกันไป และเป็นความทุกข์(ทุกขัง)รวมอยู่ในนั้นด้วย เพราะไม่มีอิสระในตัวเอง ต้องเป็นไปตามอำนาจของเหตุ จะไม่มีความทุกข์ ก็ต่อเมื่อหยุดหรือดับ ก็ต่อเมื่อดับเหตุ ทำเหตุนั้นให้หยุดให้ดับ ไม่ให้มีการปรุงสืบไป ข้อนี้เป็นการบอกว่าอะไรเป็นอะไรอย่างลึกซึ้ง อย่างสุดสามารถที่คนเราหรือว่าผู้มีสติปัญญาตามธรรมดาจะบอกได้ นับว่าเป็นหัวใจพุทธศาสนาจริง ๆ
ไตรลักษณ์ กระบวนการตามกฎธรรมชาติ
กฏธรรมชาตินี้ เป็นธรรมธาตุ คือภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา เป็น ธรรมฐิติ คือภาวะที่ตั้งอยู่หรือยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็น ธรรมนิยาม คือกฎธรรมชาติ หรือกำหนดแห่งธรรมดาไม่เกี่ยวกับผู้สร้างผู้บันดาล หรือการเกิดขึ้นของศาสนาหรือศาสดาใด ๆ กฎธรรมชาตินี้แสดงฐานะของศาสดาในความหมายของพุทธธรรมด้วยว่าเป็นผู้ค้นพบกฎเหล่านี้แล้วนำมาเปิดเผยชี้แจงแก่ชาวโลก สำหรับไตรลักษณ์นั้น มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้
“ตถาคต(พระพุทธเจ้า) ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า
๑.สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง...........
๒.สังขารทังปวง เป็นทุกข์...............
๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา...............
ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง...... สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์.......... ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา......”
ไตรลักษณ์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณ์ แปล่ว่า สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะทั่วไป หรือเสมอเหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง ซึ่งได้ความหมายเท่ากัน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ จะแสดงความหมายของไตรลักษณ์ ( The Three Characteristics of Existence ) โดยมีใจความดังนี้
๑. อนิจจตา ( ) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
๒. ทุกขตา ( ) คาวมเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไปจะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก้ผู้เข้าไปจะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน
๓. อนัตตา ( ) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง
สิ่งทั้งหลายหากจะกล่าวว่ามีก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่ และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้ ก็ย่อมไม่เป็นตัวของมัน มีตัวตนแท้จริงไม่ได้
ในกรณีของสัตว์บุคคล ให้แยกว่า สัตว์บุคคลนั้นประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ เป็นอันตัดปัญหาเรื่องที่จะมีตัวตนเป็นอิสระอยู่ต่างหาก จากนั้นหันมาแยกขันธ์ ๕ ออกพิจารณาแต่ละอย่าง ๆ ก็จะเห็นว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้นกดดันแก่ผู้เข้าไปยึด เมื่อเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวตน ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ก็เพราะแต่ละอย่าง ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยไม่มีตัวตนของมันเอง อย่างหนึ่ง เพราะไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นของของสัตว์บุคคลแท้จริง (ถ้าสัตว์บุคคลนั้นเป็นเจ้าของขันธ์ ๕ แท้จริง ก็ย่อมต้องบังคับเอาเองให้เป็นไปตามความต้องการได้ และไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพที่ต้องการได้ เช่น ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ป่วย เป็นต้น) อย่างหนึ่ง
พุทธ(พจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ จักเป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนาในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า “รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” แต่เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใคร ๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ วิญญาณ ว่า “รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน?”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?” (ตรัสถามที่ละอย่าง จนถึงวิญญาณ)
“ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือ เป็นสุข ?”
“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นเป็นเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ?”
“ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
คำสอนเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ มีวิธีที่จะประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งมากมาย หลายอย่างหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเอาผลของการปฏิบัติจนเห็นแจ้งในสิ่งเหล่านี้เป็นหลักแล้ว เราจะพบว่ามีข้อที่สังเกตได้ง่าย ๆ ข้อหนึ่ง คือ การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น ต้องเป็นการเห็นจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่ายึดถือ ไม่มีอะไรที่น่าอยากน่าปรารถนาในทางที่จะเอา จะได้ จะมี จะเป็น ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุได้สรุปสั้น ๆ ว่า “ไม่มีอะไรน่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น” นี้เป็นความหมายที่กะทัดรัดที่สุดของการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นหลักธรรมะที่สามารถอธิบายครอบคลุมหลักธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนาได้อีกหลักธรรมหนึ่ง

การบวช

พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน หลักธรรมคำสอนได้สอดแทรกเข้าไปสู่วิถีการดำเนินชีวิต เป็นรากฐานให้กับวัฒนธรรมประเพณี ตลอดถึงวิธีคิดในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม ด้านความเป็นอยู่ ล้วนอาศัยพระพุทธศาสนาเป็นองค์ความรู้พื้นฐาน จนกลายเป็นลักษณะพิเศษของคนไทย จากการที่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สังคมไทยในอดีตกาลนั้น ได้รับองค์ความรู้จากนักบวช คือ พระภิกษุที่นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ และกลายเป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นที่เคารพสักการะ และเกิดการบวชกุลบุตรที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นภิกษุขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
การบวชจึงเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง ที่ชาวพุทธให้ความสำคัญ จึงเกิดเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ชายไทยพออายุครบยี่สิบปี มักจะหาระยะเวลาสักครั้งในชีวิตเพื่อเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา และการออกบวชวิวัฒนาการมาโดยลำดับสลับซับช้อนขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นค่านิยม บางครั้งการบวชในสังคมไทยก็ออกนอกหลักการพระธรรมวินัยในด้านเนื้อหาไปเรื่อยๆ คงไว้แค่เพียงรูปแบบ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดภาวะอ่อนแอและเสื่อมโทรมไปในที่สุด
พระพุทธศาสนากล่าวถึงการออกบวชเป็นการดำเนินชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตเฉพาะแบบ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มุ่งสู่เป้าหมายคือความพ้นทุกข์ที่เรียกว่า “พรหมจรรย์” ดังคำสรุปการตรัสรู้ของพระพุทธองค์และการบรรลุความเป็นพระอรหันต์ของพระสาวกว่า
ชาติสิ้นไปแล้ว พรหมจรรย์เสร็จสิ้นลงแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจ
อื่นๆที่จะต้องทำเพื่อการนี้ ย่อมไม่มีอีก ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประ
โยชน์ ได้โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ
พระพุทธพจน์นี้แสดงถึงวัตถุประสงค์ของชีวิตนักบวชต้องการ คือการบรรลุพระนิพพาน ได้แก่ การหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งรูปธรรมนามธรรม คือ “ความสิ้น ราคะ โทสะ โมหะ” “และ ความสิ้นตัณหา” คือจุดจบแห่งทุกข์
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแนวคิดการบวชในพระพุทธศาสนาจากเดิม คือ ต้องการพ้นทุกข์ (นิพพาน) ได้มีพลวัติไปเป็นวัตถุประสงค์ที่หลากหลายในสังคมไทยปัจจุบัน แม้ในวิธีการบวชยังอ้างอิงแนวคิดในพระไตรปิฏก แต่การดำเนินชีวิตของผู้บวชมิได้ตั้งอยู่ในองค์ความรู้ตามหลักการดั้งเดิม ได้แก่ การมีวัตถุประสงค์ทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การบวชตามประเพณี บวชเพื่อศึกษาวิชาการตามระบบทางโลกซึ่งมิได้เป็นไปตามระบบไตรสิกขา การบวชเพราะต้องการชุบตัวทางสังคม บางครั้งการบวชกลายเป็นช่องทางในการทำมาหาเลี้ยงชีพ จึงเป็นภาวการณ์ที่น่าเป็นห่วงว่า แนวคิดการบวชที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของพระพุทธศาสนา อาจเป็นแค่กิจกรรมทางสังคมชนิดหนึ่งที่ชาวพุทธเองไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระอันแท้จริง ในพระไตรปิฏกกล่าวถึงนักบวชหรือบรรพชิตในพระพุทธศาสนาไว้เป็น ๕ ประเภท คือ
๑) ภิกษุ ได้แก่นักบวชที่เป็นชายมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ภิกษุนี้จะต้องประพฤติปฏิบัติตามวินัย จำนวน ๒๒๗ สิกขาบท
๒) ภิกษุณี ได้แก่นักบวชที่เป็นหญิง มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือถ้าเคยผ่านการมีครอบครัวมีสามีมาแล้วต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๒ ปีบริบูรณ์ แต่ต้องผ่านการศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี และสงฆ์ให้การรับรองแล้ว ก็สามารถที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ ภิกษุณีมีวินัยสำหรับประพฤติปฏิบัติจำนวน ๓๑๑ สิกขาบท
๓) สิกขมานา ได้แก่นักบวชที่เป็นหญิง ที่ต้องประพฤติสิกขาในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีโดยไม่ให้ขาดไม่ให้บกพร่องแล้วจึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ หรือได้แก่สามเณรีที่มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ กำลังเตรียมตัวเป็นภิกษุณี สิกขมานาจะต้องประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบท ๖ ข้อ
๔) สามเณร ได้แก่นักบวชที่เป็นชายมีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ บวชด้วยการรับไตรสรณคมณ์ แม้ผู้ที่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ยังไม่ได้รับการอุปสมบท ก็ยังชื่อว่าเป็นสามเณรอยู่เช่นเดิม สามเณรจะต้องประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบทจำนวน ๑๐ ข้อ สิกขาบท ๖ ข้อแรกเหมือนกับสิกขาบทของสิกขมานา โดย รักษาเพิ่มอีก ๔ ข้อ
๕) สามเณรี ได้แก่นักบวชที่เป็นหญิง มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เป็นสามเณรผู้หญิงที่ยังไม่ได้รับการอุปสมบท สามเณรีจะต้องประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบทจำนวน ๑๐ ข้อเหมือนสามเณร
ในการบวชของนักบวชเหล่านี้ ต้องอาศัยหลักพระธรรมวินัยเป็นรูปแบบและทำให้การบวชนั้นสมบูรณ์ คือ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการบวชไว้หลายประการ ในระยะแรกทรงบวชภิกษุด้วยพระองค์เองก่อน ต่อมาเหตุการณ์และความจำเป็นตลอดจนเงื่อนไขเหตุปัจจัยต่างๆบางประการที่พัฒนาการขึ้น จึงทรงอนุญาตให้พระสาวกดำเนินการแทน และในที่สุดทรงมอบความเป็นใหญ่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสงฆ์ในการดำเนินการ วิธีการบวชนั้น เรียกว่า อุปสัมปทา หรือ อุปสมบท ซึ่งเป็นวิธีการสำหรับตรวจสอบบุคลากร ก่อนรับบุคคลเข้าสู่ชีวิตการเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา มี ๘ วิธี ได้แก่
๑) เอหิภิกขุปสัมปทา คือ วิธีการบวชที่ทรงตรวจสอบด้วยพระองค์เอง เป็นวิธีการในยุคแรก และเป็นวิธีแรกของการบวชในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๒ แบบ คือ (๑.๑) ถ้าบุคคลผู้ที่จะเข้ามา ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ ก็จะมีพุทธดำรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดโดยชอบเถิด
(๑.๒) ถ้าบุคคลนั้นได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็จะมีพุทธดำรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
๒) ติสรณคมณูปสัมปทา คือ วิธีการบวชที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกดำเนินการตรวจสอบและรับแทน ด้วยการรับไตรสรณคมณ์ โดยผู้ประสงค์จะบวชต้องปลงผมโกนหนวด และนุ่งห่มจีวรเรียบร้อยแล้วกราบเท้าของภิกษุ ประนมมือกล่าวคำปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยตามคำของภิกษุ ๓ ครั้งก็เป็นอันเสร็จ
๓) โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา คือ วิธีการบวชด้วยการรับเป็นข้อประพฤติปฏิบัติโอวาทไป เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ท่านพระมหากัสสปะเป็นกรณีพิเศษ
๔) ปัญหาพยากรณูปสัมปทา คือ วิธีการบวชด้วยการให้ตอบปัญหา เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ท่านโสปากะ ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรมีอายุเพียง ๗ ปี โดยการถามปัญหาเรื่องอสุภะ เมื่อท่านทูลตอบปัญหานั้นได้ จึงทรงอนุญาตให้ท่านอุปสมบทด้วยการตอบปัญหานั้นนั่นเอง
๕) ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา คือ วิธีการบวชด้วยการให้รับครุธรรม ไปศึกษาและปฏิบัติเป็นวิธีแรกของการบวชหรืออุปสมบทเป็นภิกษุณี พระพุทธเจ้าทรงประทานครุธรรม นั้นแก่นางมหาปชาบดีโคตมีให้รับเอาไปศึกษาและปฏิบัติตลอดชีวิต และเป็นบวชภิกษุณีครั้งแรก
๖) ทูเตนูปสัมปทา คือวิธีการบวชด้วยการใช้ทูตดำเนินการแทน เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่หญิงผู้ที่ได้รับอุปสมบทจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องการจะไปขอรับอุปสมบทจากฝ่ายภิกษุสงฆ์ แต่เธอไม่สามารถที่จะเดินทางไปด้วยตนเองได้ เนื่องจากอาจทำให้ได้รับอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุณีแม้โดยการใช้ทูตดำเนินการแทน ขั้นตอนแห่งการอุปสมบท เหมือนกับว่าเธอมาดำเนินการขออุปสมบทด้วยตนเองทุกประการ
๗) อัฏฐวาจิกูปสัมปทา คือ วิธีการบวชที่มีวาจา ๘ เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่หญิงผู้จะอุปสมบทเป็นภิกษุณีด้วยญัตติจตุตถกรรมจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือบุคคลผู้ที่จะเข้ามาบวชด้วยวิธีนี้เมื่อเป็นสิกขมานาเป็นเวลา ๒ ปีแล้ว จะต้องทำพิธีอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เสียก่อน จากนั้นจึงทำพิธีอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมจากฝ่ายภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง
๘) ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา คือ วิธีการบวชด้วยญัตติจตุตถกรรม อันหมายถึง กรรมมีญัตติเป็นที่สี่เป็นสังฆกรรมที่สำคัญ เช่น อุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้วต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยว ว่าจะอนุมัติหรือไม่ เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ดำเนินการบวชพระภิกษุด้วยการตั้งญัตติ หมายถึงคำเผดียงสงฆ์ การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน แล้วสวดอนุสาวนา อันหมายถึงคำสวดประกาศ คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ คำขอมติ ๓ หน โดยสงฆ์ได้อุปสมบทให้ท่านพระราธะเป็นรูปแรก มีท่านพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นรูปแบบของการบวชหรืออุปสมบทในปัจจุบัน อนึ่ง หลังจากการทรงอนุญาตให้สงฆ์ใช้ระบบญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสมบทแล้ว ก็ทรงยกเลิกการใช้ระบบติสรณูปสัมปทาสำหรับการรับสมาชิกของพระภิกษุอีก แต่ทรงปรับให้ใช้วิธีนี้บวชสามเณรแทน
นอกจากนี้แล้ว ยังมีบวชอีกวิธีหนึ่งคือ ทายัชชอุปสัมปทา ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษแก่สามเณรสุมนะที่มีอายุ ๗ ปี แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์ตั้งแต่เมื่ออายุ ๗ ปี และสามเณรที่มีอายุ ๗ ปีได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุมีเพียง ๒ รูปเท่านั้น คือสามเณรสุมนะและโสปากะ ซึ่งทรงอุปสมบทให้เป็นกรณีพิเศษเพราะสามารถพัฒนาตนจนเป็นพระอรหันต์ จะเห็นว่ากระบวนการบวชนั้นมีความละเอียดรอบคอบ แต่ทั้งนี้ ก็ทรงคำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการนั้นขึ้นอยู่กับพัฒนาการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงและขยายตัวตามเหตุปัจจัยของสถานการณ์
ทั้งนี้ การออกบวชตามหลักพระพุทธศาสนาก็ต้องอาศัยความเลื่อมใสศรัทธาในพระธรรมวินัยเป็นหลักเบื้องต้น และบุคคลที่ออกบวชจะต้องมีวัตถุประสงค์การออกบวชที่ชัดเจน ด้วยการเชื่อมั่นในแนวคิดแบบพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความแตกต่างจากนักบวชในลัทธิอื่นๆ ในสังคมไทยปัจจุบันการบวชบางประเภทมิได้ชัดเจนทั้งในรูปแบบและเนื้อหา เช่น นักบวชที่เป็นแม่ชี สามเณรีที่ยังเป็นปัญหา และนักบวชของลัทธิบางกลุ่มที่อาศัยพระพุทธศาสนาเป็นสื่ออธิบายความหมาย เช่น กลุ่มสันติอโศก หรือพวกพราหมณ์ที่ยังอิงอยู่กับสถานะทางสังคมพุทธ โดยมีหน้าที่บางอย่างร่วมกับพิธีการทางพระพุทธศาสนา
นักบวชที่เห็นว่าได้รับการยอมรับสถานะในทางสังคมไทยในปัจจุบัน ที่ชัดเจนตามหลักพระธรรมวินัย จึงเหลืออยู่แค่ ๒ ประเภท คือ พระภิกษุ กับ สามเณร ซึ่งในปัจจุบันมีความหละหลวมทางพระวินัยจนเกิดปัญหาและอธิกรณ์ขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่ชาวพุทธควรจะกลับมาทบทวนแนวคิดการบวชว่าเกิดอะไรขึ้น แนวคิดการบวชในสังคมไทยปัจจุบันตั้งอยู่ฐานองค์ความรู้เดิมหรือไม่ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการบวชเปลี่ยนแปลงไปเพราะอะไร มีบริบททางสังคมอะไรที่ทำให้แนวคิดการบวชถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามระบบต่างๆของรัฐและสังคม จนไม่เอื้อต่อแนวคิดการบวชดั้งเดิมในพระไตรปิฏก และจะมีเกณฑ์การตัดสินอย่างไรที่จะชี้วัดแนวคิดการบวชในสังคมไทยปัจจุบันให้กลับมาอยู่ในบริบทคำสอนดั้งเดิมตามพระธรรมวินัย โดยไม่ทำให้การบวชในสังคมไทยปัจจุบันเกิดความเสียหาย และสามารถที่จะรักษาวัตถุประสงค์ตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันอย่างไรมิให้เกิดผลเสียหายต่อแนวคิดการบวชที่เป็นเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้า

การบริโภคเชิงพุทธ : ในกระแสยุคโลกาภิวัฒน์

ในกระแสความเจริญของอารยธรรมโลกในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ ซึ่งส่งผลให้สังคมโลกเกิดกระแสการเสพบริโภคในเชิงวัตถุและเทคโนโลยี กระแสของการเสพบริโภคถูกปลุกเร้าจากการเป็นผู้เสพมากกว่าผู้ผลิต ถูกนำเสนอผ่านสื่อและโฆษณา โดยมีภาพของความสะดวกสบายเป็นตัวขับเคลื่อน ให้ผู้คนในโลกเกิดการแสวงหาและแข่งขันกันทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ว่าลักษณะการเสพบริโภคกลับกลายเป็นกระแสที่ไม่มีความสมดุลในทางการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ จนเกิดปัญหาด้านต่างๆขึ้น เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตามมา เหตุเพราะการบริโภคนั้นมี ๒ กระแสหลัก คือ
๑. การบริโภคที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเป็นผู้ผลิต
๒. การบริโภคที่ตั้งอยู่บนฐานของการเสพเพียงอย่างเดียว
จากกระแสการบริโภค ๒ สายนี้ ก่อเกิดความไม่สมดุลในการดำเนินชีวิตของบุคคล ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นประเทศผู้ผลิต การบริโภคนั้นมีฐานของการผลิตที่ทำให้ผู้คนสามารถที่จะสร้างสรรค์วัตถุ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพทางการผลิตและพัฒนาความเจริญในทางวัตถุได้มากขึ้น กลุ่มที่สองเป็นประเทศโลกที่สามหรือประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ลาว เขมร ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการผลิตและเทคโนโลยียังล้าหลังและความคิดสร้างสรรค์ยังมิได้ถูกพัฒนา ทั้งนี้มิได้หมายความว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีภูมิปัญญา เพียงแต่พลังการส่งเสริมวัฒนธรรมการผลิตไม่เข้มแข็ง จึงทำให้การเสพบริโภคกลายเป็นสิ่งที่ครอบงำได้ง่ายมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
ในทางพระพุทธศาสนาการบริโภค เป็นกระบวนการที่เกื้อหนุนให้กับกระบวนการศึกษาหรือสิกขา เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของความเป็นมนุษย์เท่านั้น การบริโภคเป็นปัจจัยระดับพื้นฐานของการสร้างเหตุปัจจัยที่ดีงาม การบริโภคที่เป็นสัมมาทิฐิจะต้องบริโภคเพื่อพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา โดยใช้กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเป็นแกนกลางในการบริโภค “ปัจจัย ๔ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช หรือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค”
เมื่อพิจารณาเนื้อหาหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความหมายเฉพาะในฐานะวิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง มีเนื้อหาหลัก คือ หลักสัจธรรมและหลักปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายในอัตถะประโยชน์ ๓ เป็นบริบทพื้นฐาน การศึกษาเชิงพุทธ ก็คือ การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ โดยพิจารณาถึงศักยภาพของมนุษย์ว่าเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ ใช้หลักโพธิศรัทธาเป็นสภาพเอื้อให้เกิดจิตสำนึกในการศึกษา ซึ่งมีศูนย์รวมของการศึกษาที่ “ปัญญา” ผ่านกระบวนการปริยัติ, ปฏิบัติ, และปฏิเวธ บุพภาคการศึกษาเริ่มต้นที่สัมมาทิฐิแล้ว พัฒนาที่การใช้อินทรีย์ ซึ่งมีปรโตโฆสะกับโยนิโสมนสิการเป็นตัวหนุนผ่านหลักหมวดธรรม ๗ ประการ มีกัลยาณมิตตตา เป็นต้นนำสู่สิกขา วิธีการศึกษา คือการใช้หลักไตรสิกขา ผ่านหลักวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรค ทำให้เนื้อหาของการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่เป็นผลสัมฤทธิ์ของการศึกษา คือ อริยบุคคล ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรให้กับสังคมและทำให้เกิดคุณสมบัติในตัวผู้ได้รับการศึกษา คือ มีปัญญาและกรุณา ในขั้นการประเมินผลการศึกษาใช้หลักภาวนาเป็นตัวชี้วัด มีภาวิตกาย เป็นต้น ผู้มีภาวนาครบ ชื่อว่าจบการศึกษา โดยใช้หลักธรรมที่เป็นสาระสำคัญในการอธิบายทฤษฎีการศึกษาเชิงพุทธ เช่น ขันธ์ ๕ เป็นต้น เชื่อมโยงผ่านการศึกษาที่มุ่งสู่มนุษย์สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต การบริโภค สภาพสังคมและสรรพสิ่งให้เกิดความถูกต้องดีงาม
ในแง่การเสพบริโภค นอกจากกระบวนการศึกษาแล้วปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลัก ก็คือ การสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจ คือ
คำว่า “เศรษฐกิจ” (Economy) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด และอย่างประหยัดที่สุด
ส่วนคำว่า สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึงสถาบันสังคมสถาบันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด สถาบันเศรษฐกิจนี้ มีส่วนประกอบที่เป็นกิจกรรมอยู่ ๓ ประการ คือ การผลิต การแจกจำหน่าย และการบริโภค
เนื่องจากสถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันสังคมที่สำคัญมากสถาบันหนึ่ง จึงมีหน้าที่ต่อสังคมซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการผลิต จำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคอย่างแยกกันไม่ได้
การผลิต หมายถึง การสร้างและการหาผลิตผลหรือการบริการมาเพื่อสนองความต้องการในการบริโภค เช่น การผลิตอาหาร การผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคเครื่องอำนวยความสะดวกต่อชีวิตของมนุษย์
สำหรับการบริการก็มี เช่น การศึกษา การดูแลรักษาพยาบาล การบันเทิง การสาธารณูปโภค การคมนาคม เป็นต้น
การผลิตต่าง ๆ เหล่านี้ มีบุคคลทำหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ชาวนาผลิตอาหาร กรรมกรผลิตสินค้าในโรงงาน แพทย์ดูแลรักษาพยาบาล พนักงานขับรถโดยสารให้บริการด้านการคมนาคม เป็นต้น
การผลิตนอกจากอาศัยบุคคลแล้วยังต้องอาศัยทุน ทรัพยากร และการจัดการ การจำหน่ายจ่ายแจก สถาบันเศรษฐกิจมีหน้าที่ในการแจกจ่ายหรือกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่สมาชิกของสังคม โดยมีตลอดเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และมีสถาบันอื่น ๆ ช่วยสนับสนุน เช่น สถาบันการเงิน นายหน้า คนกลางหรือพ่อค้า เป็นผู้ดำเนินการ
การบริโภค เป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะทำการบริโภคหรือใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อความอยู่รอดและความสะดวกในการดำเนินชีวิต หากปราศจากการบริโภคสถาบันเศรษฐกิจจะอยู่ไม่ได้
หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเรื่องเศรษฐกิจนั้นมีอยู่ เพราะพระพุทธศาสนาเห็นว่าเป้าหมายของคนในสังคมต้องการความสุขและความสุขนี้แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
๑. ระดับโลกิยะ เป็นเรื่องของปุถุชนธรรมดาทั่วไปที่มีความต้องความสุขขั้นพื้นฐานโดยรวมมี ๔ ประการ คือ ความสุขเกิดจากมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ความสุขจากการไม่เป็นหนี้สิน และเกิดจากมีงานทำที่สุจริต แต่ความสุขดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์คือ ประโยชน์ในปัจจุบันมี ๔ ประการ คือ
๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการดูแลรักษา
๓) กัลยาณมิตตตา มีมิตรที่ดี
๔) สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตให้พอเหมาะพอดี
หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นหลักปฏิบัติให้ถึงความสุขระดับโลกิยะได้อย่างสมบูรณ์
๒. ระดับโลกุตตระ เป็นการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมของแต่บุคคลที่จะสามารถขัดเกลากิเลสให้เบาบางและหมดไปในที่สุดจนถึงเป้าหมาย คือ ความสุขอันสูงสุดกล่าว คือ พระนิพพาน
นอกจากนี้ยังมีหลักในการบริโภคปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนในสังคมที่จะต้องใช้สอยหลักการดังกล่าวนี้ คือ ปัจจเวกขณะ ได้แก่การพิจารณาอยู่เนืองๆ ในการบริโภคปัจจัย ๔ อย่างมีสติตลอดเวลา โดยคำนึงถึงคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมของปัจจัย ๔ ที่บริโภคอยู่อย่างถูกต้องและมีสติก็จะทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง
หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการบริโภคผ่านหลักการระลึกถึงบุคลอื่นๆ เพื่อลดการเห็นแก่ตัว ที่ เรียกว่า หลักสาราณียธรรม คือ บริโภคโดยไม่แบ่งแยก ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
หลักการบริโภคเชิงพุทธ
จะต้องเริ่มต้นจากการบริโภคอย่างมี “สัมมาทิฐิ” เป็นเบื้องต้น คือ ความเข้าใจตามนัยเหตุผล ค่านิยม อุดมการณ์ แนวทัศนะในการมองโลกและชีวิต ตลอดจนทัศนคติพื้นฐานที่สืบเนื่องจากความเห็นความเข้าใจและความใฝ่นิยมเหล่านั้น ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำและมีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิต สังคม และการบริโภคอย่างมาก
การบริโภคนั้นเป็นภาพสะท้อนในแง่การปฏิบัติ เช่น เมื่อคนชอบความมั่งมีในเชิงวัตถุ มักจะเห็นว่าความพรั่งพร้อมในการบริโภคทางวัตถุส่วนตัวเป็นจุดหมายชีวิต เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของบุคคลและเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจ เขาย่อมดิ้นรนขวนขวายเพื่อแสวงหาการเสพบริโภคทางวัตถุนั้นๆ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการเสพบริโภคเพื่อสนองความอยาก คือ ตัณหา
การบริโภคเชิงพุทธจึงต้องใช้โยนิโสมนสิการเป็นตัวกำกับ นำ และควบคุมความประพฤติ เพื่อให้การบริโภคนั้น เป็นสภาพเอื้อไปสู่การศึกษาหรือกระบวนการแห่งไตรสิกขา ได้แก่การบริโภคที่เป็นพรหมจรรย์ คือ
ศึกษา หมายถึงการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่ สิกขา
สิกขา หมายถึง การศึกษา, การสำเหนียก, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี ๓ อย่าง คือ
๑. อธิศีลสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องศีล
๒. อธิจิตตสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องจิต
๓. อธิปัญญาสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา
สิกขา นั้นแปลว่า ศึกษา สิกฺขา เป็นภาษาบาลี สันสกฤตเป็น ศิกฺษา เป็นไทยว่า ศึกษา เป็นคำๆ เดียวกัน ฉะนั้น หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่าการศึกษา
ได้แก่ การดำเนินชีวิตหรือหลักการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา ที่นำเอาการศึกษาเข้ามาเป็นสาระสำคัญ เป็นเนื้อแท้ของการดำเนินชีวิต และทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นการศึกษา ภารกิจที่สำคัญของการศึกษาจึงได้แก่ การช่วยให้บุคคลเกิดทัศนคติที่ถูกต้อง คือรู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และสามารถจัดการกับสิ่งเหล่านั้นตามที่ควรจะเป็น ให้เกิดเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคม ไม่ให้มองเห็นและจัดการสิ่งทั้งหลายตามอำนาจกิเลสตัณหา แต่การที่จะทำให้เกิดการพัฒนาปัญญาจนเข้าถึงภาวะสงบเย็น ที่สลายตัณหา มานะ ทิฐิ ได้ก็ต้องพัฒนาตน โดยพัฒนาเริ่มต้นที่จะเข้าสู่กระบวนการศึกษา คือ การพัฒนามนุษย์ จากการใช้ตา หู เพื่อเสพ มาสู่การใช้ตา หู เพื่อศึกษา อันนี้คือจุดเริ่มที่แท้ของการศึกษา ซึ่งเป็นจุดสำคัญมาก มนุษย์ใช้ตา หู อย่างไร
(๑) มนุษย์ใช้ตา หู ฯลฯ เพื่อสนองความต้องการในด้านความรู้สึกคือเอาสิ่งทั้งหลายมาบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้นของตน ให้มีความสุขความเพลิดเพลินชื่นชอบใจ เรียกว่า เสพ, หรือบริโภค
(๒) มนุษย์ใช้ตา หู ฯลฯ เพื่อสนองความต้องการในด้านความรู้คือใช้เรียนรู้ เรียกว่า ศึกษา
ตรงนี้เป็นจุดแยกที่สำคัญ เมื่อมีการศึกษาที่ถูกต้อง มนุษย์เริ่มพัฒนา ก็ต้องรู้จักใช้ตา หู เพื่อการศึกษา ดังนั้น ย้ายจากความเป็นนักเสพบริโภคคนก็จะพัฒนาความเป็นนักศึกษาขึ้นมา นักศึกษาก็คือ บุคคลที่รู้จักใช้ ตา หู มิใช่เพียงเพื่อเสพบริโภค แต่ใช้เพื่อเรียนรู้ การศึกษาในทางพระพุทธศาสนามิได้มุ่งไปที่ผู้สอน แต่มุ่งที่ผู้ศึกษา คือความปรารถนาที่จะเป็นผู้สามารถรู้เอง, เห็นเอง, และทำได้เอง โดยมีการสร้างสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้นก่อน สัมมาทิฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด
การบริโภคเชิงพุทธ ก็คือปัจจัยที่จะเอื้อต่อระบบและกระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุคคล กระบวนนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ เรียกว่า ไตรสิกขา แปลว่า หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ
(๑) การฝึกฝนอบรม ในด้านความประพฤติ (Training in Higher Morality) ระเบียบวินัย ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ เรียกว่า ศีล ได้แก่ การรู้จักประมาณในการบริโภคเชิงวัตถุ
(๒) การฝึกอบรมทางจิตใจ (Training in Higher Mentality) การปลูกฝังคุณธรรมสร้างเสริมคุณภาพ สมรรถภาพและสุขภาพของจิต เรียกว่า สมาธิ หรือการรู้จักควบคุมความต้องการบริโภคทาง จิตใจที่เป็นเรื่องของตัณหาล้วนๆ
(๓) การฝึกฝนอบรมทางปัญญา (Training in Higher Wisdom) ให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำให้แก้ปัญหาไปตามแนวทางเหตุผลรู้เท่าทันโลกและชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตใจอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า ปัญญา หรือได้แก่การพิจารณาก่อนจะบริโภค คือ บริโภคเพื่อเป็นปัจจัยหนุนตัว สติ เพื่อเป็นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมวินัย นี่เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์อย่างเต็มระบบ
วัตถุประสงค์ของการบริโภคในพระพุทธศาสนา
จากกระบวนการบริโภคเชิงพุทธข้างต้น ทำให้กระบวนการพัฒนาชีวิตก้าวหน้าต่อไปอีก กล่าวคือ เมื่อได้เรียนรู้ผ่านการบริโภค ก็จะทำให้แยกได้ระหว่างสิ่งที่ดีกับสิ่งที่ยังไม่ดี ระหว่างสิ่งที่สมบูรณ์กับสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์ ระหว่างสิ่งที่อยู่ในภาวะที่ควรจะเป็นกับสิ่งที่ยังไม่เข้าถึงภาวะที่ควรจะเป็น พอแยกได้อย่างนั้นแล้ว บุคคลก็อยากให้สิ่งนั้นอยู่ในภาวะที่ดี ที่สมบูรณ์ ที่ควรจะเป็น ถึงตอนนี้ ก็จะเกิดความอยาก (ฉันทะ) หรือความต้องการชนิดใหม่ คือ ต้องการให้มันดี ให้มันสมบูรณ์ เรียกง่ายๆ ว่า ใฝ่ดี เมื่ออยากให้มันดี แต่มันยังไม่ดี ก็อยากทำให้มันดี ความอยากทำให้มันดีนี้ เรียกว่า ความใฝ่สร้างสรรค์ เมื่ออยากทำให้มันดี ก็พยายามที่จะทำ เมื่อทำด้วยความต้องการที่จะทำ เขาก็จะมีความสุขจากการกระทำ และเมื่อทำให้ดีได้ก็จะยิ่งมีความสุข เรียกว่า ความสุขจากการสร้างสรรค์ ตรงนี้แหละเป็นเป้าหมายของการบริโภคเชิงพุทธ ได้แก่ การฝึกหรือใช้การบริโภคเป็นจุดเริ่มเพื่อที่จะพัฒนา คือ ความใฝ่สร้างสรรค์ และการมีความสุขจากการทำการสร้างสรรค์ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคนให้เกิดความต้องการทำให้ดี และการมีความสุขจากการกระทำที่สนองความต้องการนั้น
ผลสัมฤทธิ์ของการบริโภคที่เป็นตัวขับเคลื่อนของการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการบริโภคเชิงพุทธ คือ มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นอริยบุคคลที่เรียกว่า พระอรหันต์ บุคคลที่บริโภคอย่างไม่เป็นทาสของกิเลส มี ๔ จำพวก คือ
๑. พระโสดาบันบุคคล แปลว่า ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลขั้นแรก สามารถละโอรัมภาคิยสังโยชน์อันเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดาปัตติมรรค คือ ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระโสดาบันหรือญาณคือ ความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ
๒. พระสกทาคามีบุคคล แปลว่า ผู้จะเกิดอีกครั้งเดียว หรือผู้จะมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้เหมือนขั้นโสดาบัน พร้อมกับบรรเทา ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
๓. พระอนาคามีบุคคล แปลว่า ผู้ไม่มาสู่โลกนี้อีก หมายความว่าหลังจากตายไปแล้วท่านจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วบรรลุอรหันตผลในที่นั้น ละสังโยชน์ได้เพิ่มจากเดิมอีก ๒ ประการ คือ ๑) กามราคะ
๒) ปฏิฆะ หรือ พยาบาท รวมเป็น ๕ ประการ ซึ่งเรียกว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์
๔. พระอรหันต์ มีความหมายเป็น ๕ นัย คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส, กำจักข้าศึกคือกิเลส, เป็นผู้หักซี่กำแห่งสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด, เป็นผู้ควรรับไทยทาน, เป็นผู้ไม่มีความลับในการทำบาป และเป็นอเสขะคือจบการศึกษา และพ้นทุกข์ถึงพระนิพพาน
โดยนัยนี้ คนที่บรรลุวัตถุประสงค์วิธีการใช้สอยปัจจัย ๔ หรือ การรู้จักพิจารณาบริโภคในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะพ้นจากอำนาจครอบงำของความรู้สึกฝ่ายตัณหา ขึ้นมาสู่ความปลอดโปร่งชื่นบานแห่งความรู้ความเข้าใจฝ่ายปัญญา และสามารถดำรงตนในฐานะกัลยาณมิตรให้กับสังคมที่เปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นต่อไปได้ ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการแห่งการบริโภคเชิงพุทธ อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เราเรียกว่า พระธรรมวินัย
เกณฑ์การตัดสินหรือหลักการตัดสิน “การบริโภค”
คือ สิ่งใดที่เรียกว่า บริโภคด้วยปัญญา และสิ่งใดที่เรียกว่าบริโภคเพื่อเสพด้วยตัณหา ดังนี้ ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัส ไว้แก่นางมหาปชาบดีโคตมีมีอยู่ ๘ ประการด้วยกัน ท่านบอกว่า หลักที่ใช้ตัดสินว่าการบริโภคเช่นไรเป็นเชิงพุทธหรือเช่นไรผิดหลักพุทธ ซึ่งได้กล่าวเป็นเกณฑ์หลักว่า ธรรมหรือคำสอนอันใดเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็คือให้ดูว่าธรรมที่เขายกมาอ้างหรือกล่าว หรือประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อวิราคะ คือ ความคลายกำหนัด คลายความติดหรือไม่ เป็นไปเพื่อวิสังโยค เพื่อความคลายการหลุดจากความทุกข์ไม่ประกอบด้วยความทุกข์ เป็นไปเพื่ออปจยะ ความไม่พอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออัปปิจฉตา ความมักน้อย เป็นไปเพื่อสันตุฏฐี ความสันโดษ เป็นไปเพื่อความปวิเวก ความสงัด เป็นไปเพื่อวิริยารัมภะ การปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อสุภรตา ความเลี้ยงง่ายหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามหลัก ๘ ประการนี้ ก็ถือว่าไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าบริโภคไม่เป็นไปตามนี้ถือว่าผิดหลักพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นไปตามหลักนี้เข้ากันได้กับความที่กล่าวมา ๘ ประการ ก็เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และเป็นการบริโภคเชิงพุทธที่ถูกต้องดีงาม
ยังมีหลักธรรมคล้ายๆกันอีกหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แก่พระอุบาลี ก็เรียกชื่อทำนองเดียวกันว่าเป็นลักษณะตัดสินพระธรรมวินัยมี ๗ ประการ คือ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อเอกันตนิพพิทา เพื่อความเบื่อหน่ายโดยสิ้นเชิง เป็นไปเพื่อวิราคะ การคลายความยึดติด เป็นไปเพื่อนิโรธ ความดับทุกข์ เป็นไปเพื่ออุปสมะ ความเข้าไปสงบระงับ เป็นไปเพื่ออภิญญา ความรู้ยิ่งเฉพาะ เป็นไปเพื่อสัมโพธะ ความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน รวม ๗ ประการ ถ้าเข้ากับหลักนี้ ก็เรียกว่าพระธรรมวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่เข้ากับหลักนี้ก็ไม่ใช่ หลักการทั้งสองประการนี้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยลักษณะของการบริโภคทางพระพุทธศาสนาได้ดีมากในเวลาที่ผู้ศึกษาเกิดความไม่แน่ใจหรือไขว้เขวต่อวิธีการหาข้อสรุปที่ชัดเจนในทางพระพุทธศาสนา
สรุป
การบริโภคเชิงพุทธ ก็คือ การบริโภคอย่างมี สติ และใช้ปัญญาในการพิจารณา เพื่อบริโภคในการเอื้อต่อการปฏิบัติธรรม คือการบริโภคเพื่อการศึกษา อันจะนำไปสู่การไม่ตกเป็นทาสตัณหา คือ ความเป็นอิสรภาพในขั้นอายตนะคือ เพื่อเรียนรู้มิใช่เพื่อเสพ และควบคุมการปรุงแต่งทางความต้องการทางใจหรือตัณหา และเพื่อพิจารณาส่งเสริมต่อการใช้ปัญญา อันจะนำไปสู่ ความดับทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าวางไว้มาเป็นเกณฑ์การตัดสิน
ภาคผนวก
แนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )
สังคมไทยในปัจจุบัน มีวิถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของเศรษฐกิจกระแสหลัก ด้วยมนุษย์ต้องดำเนินชีวิตอิงอาศัยปัจจัยสี่ จึงมีการแลกเปลี่ยนทางเงินตราเพื่อเป็นปัจจัยในการซื้อขายสิ่งยังชีพเหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าระบบเศรษฐกิจ แต่ว่าการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขมิได้มีเพียงการพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างเดียว แต่มีปัจจัยภายในคือการดำรงชีวิตอย่างมีปัญญาเพื่อจัดสรรชีวิตให้เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญ นั่นเป็นที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งมีหลักปรัชญา คือ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการประยุกต์วิถีทางเศรษฐกิจพื้นฐานจากบริบทสังคมไทยดั้งเดิมโดยดำรงและปฏิบัติตนตามสภาพวิถีแห่งวัฒนธรรมไทยอย่างที่ควรจะเป็นด้วยการมองโลกเชิงระบบที่มีพลวัติ มุ่งเน้นการดำเนินชีวิตที่ทวนกระแสเงินตราแต่ให้กลับมาสู่การดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองคือ การทำมาหากินตามศักยภาพของตนอย่างมีคุณภาพและความสุข เป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คุณลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางตามอิทธิพลพระพุทธศาสนาผ่านการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คือ ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
(๑) ความพอประมาณ หมายถึง การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอดี
(๒) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
(๓) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอดี คือ อาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ได้จริง แต่ต้องประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาวะสังคมไทยในแต่ละภูมิภาค คำว่าพอเพียงเป็นทัศนะแม่บท ที่คนไทยต้องนำมาใช้จัดสรรผ่านองค์ความรู้ท้องถิ่น ด้วยการรู้จักใช้ปัญญา พึ่งพาตนเองได้ จึงจะเป็นวิถีชีวิตพอเพียงตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนี้แล.
--------------------------------------------
หนังสืออ้างอิง
๑.๑ พระไตรปิฎก
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เล่มที่ ๑, เล่มที่ ๔, เล่มที่ ๑๑, เล่มที่ ๑๒, เล่มที่ ๒๕,เล่มที่ ๒๐,เล่มที่ ๒๙, เล่มที่ ๓๐,
เล่มที่ ๓๑, เล่มที่ ๓๖, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ,
๒๕๓๙.
๑.๒ อรรถกถา
วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกาปาราชิกกณฺฑ สํฆาทิเสสาทิมหาวคฺคาทิอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี). เล่มที่ ๑.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙.
๑.๓ หนังสือ
คณาจารย์ภาควิชาสังคม. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัย
รามคำแหง, ๒๕๓๔.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๘,กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, ๒๕๔๐.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๘.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐,
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). วาทะธรรมเพื่อการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร :
นานมีบุ๊ค, ๒๕๔๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การศึกษาทางเลือก : สู่วิวัฒน์หรือวิบัติ ในยุคโลกไร้พรมแดน. พิมพ์
ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๑.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม.พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๒.
สุพัตรา สุภาพ. สังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๔.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. หลักสังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๓.
------------------------. พุทธสังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์, ๒๕๓๓.
แสง จันทร์งาม. พุทธศาสนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพ ฯ : เจริญกิจ, ๒๕๓๕.

--------------------------------------------------