วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553
อภิปรัชญา
1.1. ความเป็นมาของอภิปรัชญา
เมื่อยุคเหตุผลได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2- 3 พันปีผ่านมา มนุษย์เสื่อมศรัทธาจากแนวคิดเรื่องพระเจ้าเป็นซึ่งถือว่าปฐมเหตุของสรรพสิ่งในสมัยนั้น และพากันตั้งข้อสงสัยใหม่ว่า ปฐมเหตุของสรรพสิ่งไม่น่าจะเป็นพระเจ้า น่าจะเป็นธรรมชาติมากกว่า ต่างก็พยายามคิดหาคำตอบ ที่แตกต่างกันไปต่าง ๆ นา ๆ เช่น น้ำ อากาศ ไฟ และปรมาณูเป็นต้น ในระยะแรก ๆ แนวความคิดอาจหยาบจนมีช่องโหว่ให้คนรุ่นหลังโต้แย้งได้เรื่อย ๆ ละเอียดอ่อนขึ้นจนถึงขั้นที่คิดวิเคราะห์สิ่งที่เป็นนามธรรมได้ว่าเป็นต้นตอ ของสิ่งที่เป็นรูปธรรม นี่คือวิวัฒนาการของกระบวนการค้นหาความแท้จริงซึ่งคนโบราณเรียกกันว่า ภววิทยาบ้าง ปฐมปรัชญาบ้าง จักรวาลวิทยาบ้าง และโลกวิทยาบ้าง สุดแต่รายวิชาที่เกี่ยวข้อง และอีกหนึ่งที่มาของคำว่า อภิปรัชญา ซึ่งแปลตามตัวว่า ปรัชญาอันยิ่ง หรือปรัชญาชั้นสูง เป็นคำที่พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทารงคิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำ metaphysics โดยทรงคิดเทียบเคียบกับคำ อภิธรรมปิฎก ส่วนเหตุผลที่ทรงคิดบัญญัติคำนี้ขึ้น ทรงอธิบายไว้ว่าคำ (metaphysics) นั้นจะแปลตามมูลศัพท์ไม่ได้ เพราะเป็นคำซึ่งผูกขึ้นเนื่องมาจากเหตุบังเอิญ คือข้อความที่อาริสโตเติลแสดงในเรื่อง หลักมูลแห่งวิชาความรู้ ที่เรียกว่า First Philosophy นั้น บังเอิญอยู่หลังตอนที่แสดงเรื่องฟิสิกส์ ฉะนั้น การหาคำแปลจึงต้องหาคำซึงมีความหมายถึง First Philosophy ในพระไตรปิฎก ซึ่งว่าด้วยเนื้อความอย่างยิ่ง ฉะนั้น โดยทำนองเดียวกัน First Philosophy ก็อาจแปลได้ว่า อภิปรัชญาด้วยเหตุนี้จึงได้แปล metaphysics ว่า “อภิปรัชญา” นั่นคืออภิปรัชญา ก็คือ First Philosophy ของอาริสโตเติล และ First Philosophy ก็คือ metaphysics ปัญหาและที่มาของคำว่า metaphysics คือ
1.2. Metaphysics มีความเป็นมาอย่างไร ?
เมื่อประมาณก่อน ค.ศ. 70 แอนโดรนิคุสแห่งเกาะโรดส์ (Androicus of rodes) ผู้ทำหน้าที่รวบรวมผลงานของอาริสโตเติล ไว้เป็นหมวดหมู่ ได้จัดเรียงผลงานที่มีลักษณะเป็น ปรัชญาที่เรียกว่า First Philosophy ไว้หลังผลงานปรัชญา ธรรมชาติ Natural Philosophy
กล่าวอีกอย่างก็คือ แอนโดรนิคุสได้เรียงผลงานของอาริสโตเติล ที่มีลักษณะเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ ในฐานะเป็นสิ่งจริงแท้ ตามสภาพที่มันเป็นอยู่นั้น หรือเรื่อง (abstraction) ไว้หลังผลงานที่ว่าด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพ (physics) ต่อมานิลาโคอุส (Nicolaus) แห่งดามัสกัสได้เรียก First Philosophy นั้นว่า tameta phisika แปลว่า “มาทีหลัง” physika
ดังนั้น คำว่า meta อาจมีความหมายแยกออกเป็น 2 ประเด็นคือ
- มีผู้แปลคำว่า metaphysika ว่าหมายถึงผลงานกองถัดไปบ้าง
- แปลว่า วิชามาภายหลังฟิสิกส์ (comes after physics ) บ้าง
- แปลว่าวิชาที่อยู่เหนือฟิสิกส์ (beyondphysics ) บ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า metaphysics ก็ยังหมายถึง First philosophy อยู่นั้นเอง.
ในการศึกษาวิชาปรัชญาเดิมนั้น ไม่ได้แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ยังคงศึกษาร่วมกันไป ดังนั้นคำว่า metaphysics จึงหมายถึงปรัชญาทั้งหมดเพราะวิชาปรัชญาเป็นวิชาแรกของโลก
อภิปรัชญาระยะเริ่มแรก ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดคือ (First Philosophy)
1.2.1 Ontology = ภววิทยา
1.2.2 Cosmology = จักรวาลวิทยา
1.2.3 Epistemology= ญาณวิทยา
1.3. ความหมายของอภิปรัชญา
นักปรัชญาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของอภิปรัชญาไว้ต่าง ๆ กันจึงขอนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เฉพาะทรรศนะที่น่าสนใจดังนี้
อภิปรัชญาถ้าแปลตามรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ก็หมายถึง ความรู้อันประเสริฐยิ่งซึ่งมาจากรูปศัพท์คือ อภิ (ยิ่งใหญ่) + ปร (ประเสริฐ) + ชญา (ความรู้) = อภิปรัชญา แปลว่า ความรู้อันประเสริฐยิ่ง หรือยิ่งใหญ่ ในความหมายของทางศาสนาพุทธ คำว่าความรู้อันประเสริฐนั้นหมายถึงความรู้ที่ไม่มีความสงสัย เป็นความรู้ที่ได้จากการ ตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าที่เป็นระบบเบ็ดเสร็จแล้ว เช่น มรรคมีองค์ ๘, อริยสัจจ์ ๔, และปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
แต่อภิปรัชญาในความหมายของปราชญ์เมธีทางตะวันตกส่วนมากที่แปลตามความหมาย (metaphysics) ก็คือ สิ่งที่อยู่เหนือการพิสูจน์ หรือเหนือการสัมผัสได้ ทางอินทรีย์ ๕ และยังเป็นสิ่งที่กังขา รอการหาคำตอบที่ชัดเจนอยู่ เรียกว่า อภิปรัชญา .
หรือถ้าพิจารณาตามเนื้อหาที่วิชาปรัชญาศึกษาก็เห็นว่าแบ่งออกเป็น 3 สาขาคือ จะเห็นความหมายที่แตกต่างกันดังนี้
(1) สาขาอภิปรัชญา = ศึกษาปัญหาเรื่องโลก จักรวาล พระเจ้าแ ละจิตซึ่งมีความสงสัยว่า
(what is reality) ? อะไรคือ ความจริง ?
(2) สาขาญาณวิทยา = ศึกษาเรื่องกำเนิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และวิธีการตรวจสอบความรู้ (How to know reality) ? จะรู้ความจริงได้อย่างไร ?
(3) สาขาคุณวิทยา = จริยศาสตร์ ศึกษาปัญหาเรื่อง ความดี, เป้าหมายของชีวิต, และเกณฑ์การตัดสินปัญหาเรื่องความดีและความชั่ว (How to act according to reality) เราพึงประพฤตตนอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับความแท้จริง ? และอีกนัยหนึ่ง อภิปรัชญาพยายามตอบปัญหาที่ว่า อะไรคือความจริงอันติมะ (What is ultimate reality )?
สรุปว่า: วิชาที่ว่า อภิปรัชญา หรือเมตาฟิสิกส์นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ความหมาย และมีคำไวพจน์ หรือคำแทนชื่อ 4 คำคือ
(1). อภิปรัชญา (2). ความรู้ขั้นปรมัตถ์
(3). Metaphysics (4). อตินทรีย์วิทยา
โดยทั่วไปถือกันว่า อภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาซึ่งว่าด้วยปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวกับสภาพของโลกและฐานะของมนุษย์ แต่มีผู้ทักว่านิยามนี้กว้างเกินไป เพราะปรัชญาเองก็อาจนิยามเช่นนี้ได้ด้วย แล้วเสนอนิยามที่แคบกว่านี้ว่า อภิปรัชญาคือ การศึกษาเรื่องภาวะหรือสัตว์ (Being) และความมีอยู่ (existence) คือศึกษาถึงภาวะทั่วไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ของสิ่งทั้งหลาย นอกเหนือไปจากที่วิทยาศาสตร์แต่ละสาขาศึกษาได้
ตามประวัติของปรัชญาตะวันตกปรากฏว่าบางครั้งอภิปรัชญาถูกกล่าวหาว่าเป็นนักขี้สงสัยหรือถูกปรักปรำว่า เป็นการศึกษาปัญหาไร้ประโยชน์และหาสารประโยชน์อะไรไม่ได้เลยเช่น
ค้านท์ (Kant) เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่าอภิปรัชญาคือการศึกษาทางวิภาษวิธีและกลลวง (a dialectical and deceptive study ) หนังสือ (Ritique of pure reason) ของท่านถือเอาเรื่องการวิพากษ์อภิปรัชญาและกลลวงของอภิปรัชญา เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในช่วงเวลา 10 ปี นับจาก พ.ศ.2470 – 2480 ปรัชญาของอังกฤษและอเมริกาได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก จาก ปฏิฐานนิยม (positivism) จึงถือว่าอภิปรัชญาไม่ใช่การศึกษาที่ถูกต้อง
ในช่วงเวลา 10 ปี นับจาก พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๐๐ บรรยากาศของอภิปรัชญาก็ค่อย ๆ ดีขึ้น แม้ในอังกฤษก็มีทฤษฎีใหม่ หลายทฤษฎีต่างถือว่า ปัญหาทางอภิปรัชญาเป็นปัญหาอันดับรอง คือไม่ใช่ปัญหาอันดับแรกเช่น ทฤษฎี เหล่านี้จะถามกันว่า ข้อความของอภิปรัชญา เป็นข้อความชนิดไหน ไม่ใช่ถามว่า อภิปรัชญาคืออะไร ให้ต่างและดีกว่าโลกที่เราประจักษ์เช่น อภิปรัชญาไตร่ตรองของ ปาร์มิเดส ที่ถือว่า โลกปรากฏแก่เราว่าเปลี่ยนแปลงและมีหลายสิ่ง หลายอย่างอยู่ในโลก แต่ตามความเป็นจริงแล้วโลกนี้คงที่และมีอย่างเดียว.
1.4. ลักษณะปัญหาทาง อภิปรัชญา
ปัญหาทางอภิปรัชญาหลัก ๆ ก็คือสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสหรือ สิ่งที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้เช่น คำถามที่ว่า
(1). พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างโลกจริงหรือ
(2). สิ่งแรกที่เป็นต้นตอของสรรพสิ่งคือพระเจ้าหรือธาตุ
(3). ปฐมธาตุของสรรพสิ่งเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม
(4). ปฐมธาตุของสรรพสิ่งคือน้ำ
(5). สสารเป็นผลพลอยได้ของจิต
(6). ผี สาง เทวดา มีจริงหรือไม่
(7). นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่
(8). วิญญาณเป็นอมตะใช่หรือไม่
(9). อิเล็กตรอน โปรตอน เป็นอนุภาคสุดท้ายของสสาร
(10). ปรมาณูทางจิต เป็นอนุภาคสุดท้ายของสสาร
คำถามเหล่านี้คือ ปัญหาของอภิปรัชญาที่ยังเฝ้าคอยรอคำตอบ มานานนับหลายพันปีแต่ก็ มี. 1.5. ความแตกต่างระหว่างอภิปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์
อภิปรัชญาและวิทยาศาสตร์ต่างกับศาสนาตรงที่ การศึกษาเริ่มต้นด้วยความสงสัยเป็นพื้นแต่ศาสนาศึกษาเริ่มต้นด้วยความศรัทธาเป็นพื้น และศาสนาดำเนินการด้วยพิธีกรรมและการปฏิบัติตามหลักของศาสดานั้น ๆ แต่วิทยาศาสตร์ดำเนินการด้วยการทดลองแล้ว ๆ เล่า ๆ เพื่อเค้นหาสิ่งที่ต้องการและอภิปรัชญาดำเนินการด้วยการคิดและทกเถียงสนทนาด้วยการวิเคราะห์, การสังเคราะห์และการ วิพากษ์วิจารณ์ประเมินค่าส่วนเป้าหมายของอภิปรัชญา ก็คือ รู้เพื่อรู้ ส่วนวิทยาศาสตร์รู้เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีพและศาสนานั้นเป้าหมายเพื่อความสุข ทางจิตใจ เพื่อจะได้ไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า หรือเพื่อถึงความหลุดพ้น ฯลฯ.
1.6. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในสังคมปัจจุบันได้อย่างไร
อภิปรัชญาเป็นเมื่อดูโดยไม่ได้ใช้การใคร่ ควนแล้ว ก็เหมือนเป็นเรื่องของอุดมคติ ที่เกินความจำเป็นที่จะเข้าไปมีคุ้นเคยด้วยเลย หรือเหมือนชาวบ้านที่เป็นพุทธศาสนิกชนทั่วไปเห็นตู้หนังสือพระไตรปิฎกอันเป็นคลังแห่งปริยัติธรรม แต่เขาก็คงคิดว่าอยู่คนละมิตินั่นดีแล้ว เพราะเกินความต้องการที่จะเข้าไปรู้จัก แท้ที่จริงแล้วอภิปรัชญาก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้จักนำมาประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิดผลได้อย่างเนอกปริยาย ที่จะกำหนดให้หมดสิ้นได้ อย่างเช่นผู้รู้ต้นไม้อย่างถ่องแม้เหมือนหมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็เห็นว่าต้นไม้ใบหญ้าทั่วปริมณฑล ๓ โยชน์เมืองตักศิลา เขาไม่เห็นมีต้นไม้ชนิดใดที่ไม่มีคุณค่าต่อการพยาบาลคนไข้ได้ เลยแม้สักต้นเดียว
ดังนั้น อภิปรัชญาก็เป็นแปรนหรือแผนที่ ๆ เราทุก ๆ คนที่คงต้องได้รู้ เพราะโลกใบนี้ถึงแม้ว่าจะมีวิชาต่าง ๆ ที่ต้องให้เราต้องศึกษามากมายแต่เมื่อย่นย่อลงหน่อยก็มีเพียง 2 วิชานั่นก็คือ วิชาที่ว่าด้วยการครองชีพ หรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จะพอเป็นวิชาทำมาหากิน เลี้ยงปากท้อง ฯลฯ และวิชาที่ให้ความสุขทางใจหรือ เป็นสะลัก ลิ่มของจิตใจ ไม่ให้ห่อเหี่ยวและสดใสอยู่ได้
เพราะ ฉะนั้นอภิปรัชญาเมื่อประมวลลงโดยสังเขปแล้วสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบันดังนี้ ในการดำรงชีพและประพฤติปฏิบัติ จารีตประเพณี หรือในวิถีชีวิต (The ways of life ) นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษของเราเคยพร่ำสอนว่าในครอบครัวของเราถ้าเราไม่ก่อการทะเลาะวิวาท เคารพนับถือบิดามารดา เชื่อฟังถ้อยคำของ คนเฒ่าคนแก่ จะทำให้ ครอบครัวนั้น ๆ อยู่สุขสบาย เพราะมีเทวดาคุ้มครอง ป่าไม้ ภูเขา ที่เปลี่ยวหนาและต้นน้ำ ลำธาร บนขุนเขาย่อมมีสิ่งศักดิ์สิทธ์และเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครอง จึงทำให้ครอบครัวและป่าไม้ได้รับความชุ่มเย็นเรื่อยมาได้หลายร้อยปีเพราะมีมนุษย์ยังมีความ เกรงกลัว แต่ถ้าสมมติว่าเราไม่มีความเชื่อกับสิ่งเหล่านี้ คือไม่เชื่อว่าบิดามารดา มีอุปการคุณต่อลูก ๆ ไม่เชื่อว่ามี ผีสาง เทวดา ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีหรือไม่มี ไม่เชื่อนรกมี สวรรค์มี เมื่อมารดาตั้งครรภ์ขึ้นมาก็เห็นว่าเป็นภาระจะทำแท้งหรือทารุนอย่างไรก็ได้เพราะสิทธิของฉัน หรือพ่อแม่ที่ชราภาพแล้วลูก ๆ เห็นว่าน่ารำคาญ เมื่อลับตาคนหรือคิดว่ากฎหมายเอาผิดไม่ได้ก็ฆ่าทิ้งเสีย แล้วบ้านเมืองของเราจะเป็นอย่างไร เหตุนี้เองการใช้อภิปรัชญาแม้จะอยู่เหนือการสัมผัสแต่ก็สามารถนำมาพร่ำสอนและเป็นวิทยายุทธ์ ให้ความสุขอยู่ ไม่น้อยเลย
และประโยชน์อันยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของอภิปรัชญาก็คือ การสร้างองค์กรทางสังคมบนพื้นฐานบางอย่าง ที่มั่นคงเนื้อหาปรัชญาที่เกี่ยวข้อง บางส่วนขึ้นอยู่กับทางสังคมแต่ละสถาบันจะต้องมีการออกกฎระเบียบเพื่อที่สร้างหลักประกันที่มั่นคงในระเบียบดังกล่าวจะมีการระบุถึงปรัชญาไว้ไม่ได้โดยนัยก็ระบุโดยตรง เช่น มีหลายประเทศพยายามที่จะลอกเลียนแบบระบบประชาธิปไตย ของประเทศที่ประสบผลสำเร็จเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา ไปใช้ในประเทศของตนบ้าง แต่กลับล้มเหลว ทั้งนี้เนื่องจากว่าพวกเขารับไปแต่วิธีการปฏิบัติและรูปแบบเท่านั้น โดยไม่ได้ดูดกลืนเอาปรัชญาประชาธิปไตยไปด้วยพวกเขายึดตามหลักประชาธิปไตย แต่ไม่ได้พยายาม ที่จะเข้าใจ ประชาธิปไตยเสียบ้างเลย การที่จะนำประชาธิปไตยไปใช้อย่างได้ผลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะเข้าใจปรัชญาประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้
ฉะนั้น อภิปรัชญาจึงยังมีความจำเป็นอยู่มากสำหรับการอธิบายถึงจุดกำเนิดของสรรพสิ่ง การดำเนินชีวิต กฎเกณฑ์ทางสังคม และเป้าหมายสูงสุดของชีวิตและสังคม อภิปรัชญาจึงเป็นเหมือนปุ๋ยอินทรีย์และน้ำสำหรับเติมเต็ม สิ่งที่สังคมยังพร่องให้ดูดีอีกต่อไป.
2. สัจนิยม (Realism)
2.1. ความหมาย สัจนิยม
คำว่า สัจนิยมหมายถึงทฤษฎีที่ถือว่าโลกภายนอกเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างแท้จริงและเป็นสิ่งที่มีอย่างอิสระจากจิตของมนุษย์ จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ใน ทาง ประวัติศาสตร์จากเหตุผลอันนี้ สัจนิยม บางครั้งเราก็เรียกว่าวัตถุวิสัยนิยม (Objectivism) สัจนิยม และวัตถุวิสัยนิยม ทั้งสองเป็นทฤษฎีอภิปรัชญา ที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่ในทางญาณวิทยา สัจนิยมถือว่าในกระบวนการของความรู้ วัตถุเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างอิสระและมีอยู่โดยปราศจากการรับรู้ของผู้รู้ ดังนั้นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้ในขอบเขตของญาณวิทยาถือว่าวัตถุและคุณภาพของสัตถุทุกชนิดเป็นสิ่งที่มีอย่างอิสระปราศจากการรับรู้ของผู้รู้และกระบวนการของความรู้ แต่เป็นสิ่งที่เรารับรู้ด้วยประสาทสัมผัสและเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างแท้จริงตามสภาพของมัน
ที่นี้ คำว่า Real Reality & Realism คำว่า Real หมายถึงสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่แท้จริงโดยระบุถึงสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ ที่มีอยู่ตามสภาพของมันซึ่งตรงกันข้ามกับการจินตนาการณ์ ดังนั้น คำว่า Real จึงหมายถึงสิ่งที่มันเป็นจริง
คำว่า Reality คือสภาวะหรือคุณภาพของสิ่งที่มีอยู่ หรือดำรงอยู่อย่างแท้จริงซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นเพียงปรากฏการณ์ คือ (มีอยู่ชั่วคราว)
คำว่า Realism ตามความหมาย ที่นิยมกันทั่วไป อาจหมายถือเฉพาะเจาะจงข้อเท็จจริงตามแต่กรณี ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราปรารถนาหรือสิ่งที่เราต้องการ
อย่างไรก็ตามในทางปรัชญา คำว่า Realism เรานำมาใช้ ในความหมายทางวิชาการกันมาก ดังนั้น คำว่า Realism ในความหมายปรัชญาคือ สิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างแท้จริงตามสภาพของมัน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านั้นมีอยู่อย่างแท้จริงอย่างอิสระจากการรับรู้หรือรับทราบของจิตแต่ยังมีนักสัจนิยมหลายคนยืนว่า ปรากฏการณ์ ทางจิตและปรากฏการณ์ทางกายถูกถือว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ต่างหากจากการรับรู้ของจิต
2.2. ลักษณะของ สัจนิยมทั่วไป
(1). สสาร เป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างอิสระจากความรู้ สสารมิได้มีอยู่เพราะมันถูกรู้ จิตจะรับรู้หรือไม่ก็ตามสสารก็มีอยู่อย่างนั้น
(2). สสาร มีคุณภาพเป็นของตนเองสสารแต่ละชนิดมีคุณภาพเป็นของตัวเองและลักษณะการมีอบยู่ของสสารก็มิได้ขึ้นอยู่กับผู้รู้แต่อย่างใดคุณภาพทั้งหมดของสสารมีอยู่อย่างอิสสรเช่นเดียวกับสสาร.
(3). ความรู้ มิได้มีอิทธิพลเหนือสสารแต่ประการใดความรู้เรื่องสสารหรือคุณภาพของสสารมิได้มีอิทธิพลใด ๆ เหนือสสารหรือคุณภาพของสสารแลกะความรู้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสสารแต่อย่างใด.
(4). สสารเป็นสิ่งมีอยู่ตามที่ปรากฏไม่มีความแตกต่างระหว่างรูปแบบและธรรมชาติของ สสารเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามที่มันปรากฏโดยทำนองนี้ จึงไม่มีความแตกต่างระหว่างความจริงเรื่องสสารและประสบการณ์เกี่ยวกับสสาร.
(5). สสารเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้โดยตรงเรารู้สสารโดยตรงกล่าวอีกอย่างไม่มีอะไรเข้าไปขัดขวางระหว่างสสารและความรู้เกี่ยวกับสสาร ๆ เป็นเนื้อหาแห่งประสบการณ์ของเราและการได้รู้สสารตามที่มันมีอยู่.
(6). สสารเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปความรู้เรื่องสสารมิได้ถูกจำกัด เฉพาะบุคคลใด บุคคลหนึ่ง บุคคลจำนวนมากสามารถมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับสสารชนิดเดียวกันเพราะฉะนั้นสสารชนิดเดียวกันสสารและความรู้เกี่ยวกับสสารจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจกันโดยทั่วไป.
2.3. ลัทธิสัจนิยมทั่วไป
ลัทธินี้ ถือว่าสิ่งภายนอกตัวเรามีจริงมีอยู่ด้วยตัวเอง ไม่ขึ้นอยู่กับจิตความรู้คือการถ่ายแบบ สิ่งภายนอกพร้อมทั้งคุณสมบัติทุกอย่างของมันเข้าไปในจิต การถ่ายแบบมีลักษณะเหมือนกับการจำแผนภูมิ หรือจำรูปเรขาคณิตสิ่งภายนอกหรือสสารเป็นวัตถุวิสัยมีคุณภาพ 2 ชั้นคือ คุณภาพปฐมภูมิกับคุณภาพทุติยภูมิ คุณภาพปฐมภูมิเป็นคุณภาพโครงสร้างของสสารเช่น การกินที่ การเคลื่อนที่ น้ำหนัก รูปทรง ขนาด ปริมาณ การหยุดนิ่ง เป็นต้น ส่วนคุณภาพทุติยภูมิซึ่งเราจะรับรู้มันได้ทางประสาทสัมผัส.
2.4. ลัทธิสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร ?
จอห์น ลอค (John Locke) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธินี้เขาถือว่าความรู้คือการถ่ายแบบเช่นกัน แต่คุณภาพปฐมภูมิเท่านั้นที่จะถ่านแบบเข้าไปในจิตได้ส่วนคุณภาพทุติยภูมิ ไม่จำเป็นต้องถ่ายแบบเพราะเป็นเพทนาการ หรือความคิดของจิตอยู่แล้วเขาจึงถือว่าคุณภาพปฐมภูมิของสสารเป็นวัตถุนิยม ส่วนคุณ ภาพทุติยภูมิเป็นจิตวิสัยคือต้องขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตถ้าจิตไม่รับรู้จะมีอยู่ไม่ได้เลย เช่น สีไม่มีสำหรับคนตาบอดสี เสียงไม่มีสำหรับคนหูหนวก ดังนั้นความรู้คือการถ่ายแบบคุณภาพปฐมภูมิ ของสิ่งภาพนอกเข้าไปในจิต.
ความแตกต่างระสัจนิยมทั่วไปกับสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ดังต่อไปนี้
สัจนิยมทั่วไป สัจนิยมทางวิทยาศาสตร์
1. สสารมีอยู่อย่างอิสระจากความรู้
2. คุณภาพต่าง ๆ ของสสารมีอยู่ในสสาร
3. ความรู้ไม่มี อิทธิพลเหมือนสสาร
4. สสารคือสิ่งที่มีอยู่ตามที่มันปรากฏ
5. สสารเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไป
6. สสารเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไป 1. สสารมีอยู่อย่างอิสระจากความรู้ แต่การเก็งความจริงทางอภิปรัชญาขึ้นอยู่กับจิต
2. คุณภาพทุติยภูมิของสสารจิตเป็นตัวกำหนดให้มีโดยอาศัยสสาร
3. มีความคิดมี อิทธิพลเหนือสสาร
4. มีความแตกต่างระหว่างสสารที่มีอยู่จริงกับความคิดเกี่ยวกับสสารซึ่งเป็นเพียงจินตนาการถึงสสารที่แท้จริงเท่านั้น
5. ความรู้เรื่องสสารอยู่ในรูปแบบของความคิดซับซ้อน โดยผ่านสื่อกลางของความคิดทั่วไป
6. สำหรับความคิดทั่วไป สสารเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไป แต่ในกรณีของความคิดซับซ้อน สสารไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วปะเพราะว่า สสารเดียวกันทำให้บุคคลมองเห็นแตกต่างกันไป
2.5. สัจนิยมใหม่ (Neo-realism)
ลัทธินี้เชื่อว่าจิตรับรู้สิ่งภายนอกได้โดยตรง ไม่ใช่รับผ่านความคิด ความรู้จึ่งไม่ใช่การถ่ายแบบสิ่งภายนอกเข้าในจิต แต่เป็นอาการที่จิตรับรู้สิ่งภายนอกโดยตรง วัตถุภายนอกมีอยู่จริงด้วยตัวเองไม่ขึ้นอยู่กับจิต คุณภาพทุกอย่างของสสารจึงเป็นวัตถุวิสัย
อย่างไรก็ดี ทรรศนะของลัทธิสัจนิยมจึงไม่ใช่เป็นความคิดใหม่ในทางปรัชญา นักจิตนิยมได้กล่าวไว้ว่า “ ลัทธิสัจนิยมจัดเป็นความเชื่อในทางสัญชาติญาณของมนุษย์ซึ่ง เป็นลัทธิที่มีมาตั้งแต่คนเราเกิดมาในโลก” ลัทธิสัจนิยมสมัยใหม่ได้สร้างทรรศนะขึ้นมาจากรูปแบบต่าง ๆ ของลัทธิสัจนิยมสมัยโบราณ ปรัชญาของอาริสโตเติลได้ยึดหลักเกณฑ์สำคัญของลัทธิสัจนิยมนี้ และมีการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในศตวรรษที่ ๑๓ โดย เซนต์ โทมัส อไควนัส ที่ได้นิพนธ์ไว้ใน “จุดเด่นเทววิทยา” อีกแง่หนึ่ง ปรัชญาของเซนต์ โทมัสอไควนัส ยังมีนักคิดทางโรมันคาทอลิกได้ปรับปรุงใหม่อีก ดังนั้น ลัทธิโทมัสนิยมใหม่จึงได้รุ่งโรจน์โชติช่วงเรื่อยมา โดยอาศัยลัทธินี้ ลัทธิสัจนิยมของอาริสโตเติลจึงได้กลั่นกรองเพื่อให้เป็นความคิดเพื่อให้เป็นความคิดใหม่ ยิ่งกว่านั้นลัทธิสำนักค้านท์ก็ยอมรับการตีความแก้ไขของลัทธิสัจนิยมนี้ด้วย และตามความรู้สึกทั่วไปปรัชญาของโทมัสเรด (Thomas Reid) ก็ยังให้การสนับสนุนลัทธิสัจนิยมนี้ด้วย.
2.6. ลัทธิสัจนิยมเชิงวิจารณ์ (Gritical Realism)
ซันตายานา (George Santayana: 1863-1952) นักปรัชญาชาวอเมริกัน ถือว่าความรู้คือการที่จิตรับรู้สิ่งภายนอกโดยผ่านตัวกลาง ( Sensa ) ซึ่งเป็นสื่อระหว่างจิตกับวัตถุภายนอก สื่อมีลักษณะไม่ใช่จิตและไม่ใช่วัตถุ แต่สามารถใช้เหตุผลคิดได้ว่ามันมีอยู่จริง เขาถือว่าเรารับรู้วัตถุภายนอกโดยอ้อม ไม่ใช่โดยตรง วัตถุภายนอกจะต้องเปลี่ยนตัวเองให้อยู่ในสภาพที่จิตจะรับรู้ได้เสียก่อนโดยอาศัยตัวกลางเป็นสื่อนำ กระบวนการรับรู้จึงมี (1)วัตถุภายนอก (2) ตัวกลาง (3) จิต.
2.7. สัจนิยมในพระพุทธศาสนา
เมื่อมาพิจารณาดูหลักฐานทางพระพุทธศาสนาแล้วพอสรุปได้ว่า สัจจะมี 4 ปะเภท ดังต่อไปนี้
2.7.1. สมมติสัจจะ (Conventional truth) ได้แก่ความจริงภายนอก ความจริงชั่วคราวที่โลกสมมติบัญญัติกันขึ้นมา ยอมรับกัน เช่น ชื่อ คน สัตว์ ตำแหน่งต่าง ๆ เป็นต้น
2.7.2. สภาวะสัจจะ (Empirical truth) ได้แก่ความจิรงชั้นในที่อยู่เบื้องหลังสมมติสัจจะ ซึ่งอาจได้จากการวิเคราะห์ก็ได้เช่น พระพุทธองค์ทรงส่งเสริมให้ภิกษุศึกษาสภาวะสัจจะโดยการสอนให้พิจารณาแยกแยะร่างกายเป็นธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อาการ 32 เป็นต้น
2.7.3. ปรมัตถสัจจะ (Metaphysical truth) หมายถึงความจริงสิ่งที่อยู่นอกเหนือวิสัยของประสาทสัมผัส ความจริงที่ไม่สมารถพิสูจน์ได้ด้วยเครื่องมือใด ๆ จึ่งต้องอาศัยการคิด อนุมาน หรือคิด อุปมาณ เช่น ความดี ความชั่ว นรก สวรรค์ ตายเกิด ตายสูญเป็นต้น
2.7.4. อริยสัจจะ (The Noble Truth) ความจริงอันประเสริฐเกี่ยวกับชีวิต 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นความจริงทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นความสำคัญเป็นพิเศษ .
สรุปสัจจะนิยม
สัจจะสำหรับผู้เขียนแล้วเห็นว่ามีอยู่ 3 อย่างคือ จริงโดยสมมติ, จริงตามธรรมชาติและจริงยิ่งกว่าจริง (อริยสัจ ๔), จริงโดยสมมติก็ เหมือนยานี้เป็นยาที่เรานำมาผสม จากต้นไม้ใบหญ้าต่าง ๆ แล้วนำมาบดมาตำ... นำมาปั้น... ให้เป็นขนานเดียวเพื่อรักษาโรค, จริงโดยธรรมชาติก็คือ ต้นไม้ ใบหญ้า ชนิดเดียวไม่ต้องผสม แต่ตัวของมันก็เป็นยาอยู่อย่างนั้น และจริงยิ่งกว่าจริงก็คือ คู่มือหมอ หรือตำราการแพศย์ คือเราสามารถใช้ความรู้จากตำรานั้นศึกษาได้ทุกแบบอยู่ที่เราจะต้องการยาขนานไหน เรารู้วิธีปรุงยาก็เพราะอาศัยตำรา, เรารู้ต้นไม้ก็เพราะอาศัยตำราพร้อมทั้งอาการณ์ของผู้ต้องการบริโภคยานั้นด้วย
แท้ที่จริงแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า ยิ่งเราพูดถึงสัจจะ ยิ่งเราอธิบายสัจจะมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้สัจจะพร่ามัวเท่านั้น เพราะทุกคนจะพูดถึงสัจจะแต่ในแง่ของตน แม้พระอรหันต์ซึ่งเราเชื่อว่า ท่านเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เข้าถึงความจริงได้แล้ว ท่านก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้ในเรื่องเดียวกัน นับประสาอะไรกับเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ยุ่งอยู่กับความวุ่น มากกว่าความว่างเล่า...
หนังสืออ้างอิง :
1. ผศ. สุเมธ เมธาวิทยากูล, ปรัชญาเบื้องต้น (Introduction to Philosophy); พิมพ์ครั้งที่ 1 , โอ. เอส.พริ้นติ้ง เฮ้า, 2534
2. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, อธิบายคำ “ปรัชญา” และ “อภิปรัชญา” , ในสมุดที่ระลึกวันรคาชบัณฑิตยสถาน, ๓๑ มีนาคม ๒๔๘๖
3. E.G. Spaulding in the New Rationalism (New york : Holty, 1918 ).
4. ดร. เดือน คำดี, ปัญหาปรัชญา; โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ , พ.ศ. ๑๕๓๔
5. อาจารย์ บัณฑิต รอดเทียน, Dhammaca, Vol. 4 May – Oct 2001
6. แสง จันทร์งาม, วิธีสอนของพระพุทธเจ้า, พิมพ์ครังแรก พ.ศ. 2526; กรุงเทพฯ : - - - กมลการพิมพ์ 2526
เปรียบเทียบสถานะและบทบาทของมหาสิทธิกับพระโพธิสัตว์
ตันตระ มาจากรากศัพท์ ตัน ตนะ แปลว่า แผ่ออกไป แต่นักเขียนยุคต่อมาบางท่านบอกว่า มาจากศัพท์ “ ตตริ หรือ ตันตริ” แปลว่า กำเนิดหรือความรู้ นัยที่แท้จริงหมายถึงคัมภีร์เป็นอุปกรณ์ถ่ายทอดความรู้ หลักการสังขยะ บางครั้งเรียก“ตันตระ” เป็นแขนงหนึ่งของความรู้ถือการสวดมนต์มีส่วนสำคัญมากพวกตันตระหรือพวกตันตริก ถือว่าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พวกเขายึดถือนั้นมิได้อุบัติขึ้นบนโลกนี้
พุทธศาสนาตันตรยานหรือมหายานแบบทิเบต มีวิวัฒนาการมาจากพระพุทธศาสนาที่ผสมผสานกับฮินดูในยุคนั้น
ตันตระได้มีพัฒนาการขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๐ นักบวชนิกายนี้ไม่เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า “สิทธะ” ต่อมาได้แตกแยกสาขาออกไปอีก แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ
(๑) ทักษิณจารี กลุ่มนี้ยังประพฤติตามธรรมวินัย ถ้าเป็นพระยังรักษาพรหมจรรย์ โดยตีความให้เป็นธรรม กล่าวโดยสัญญลักษณ์ จะถือเอาตรงมิได้ เช่นในคัมภีร์สนธนมาลา ของท่านอนังควัชระ ซึ่งเป็นสิทธาจารย์คนหนึ่ง ได้กล่าวว่า “สาธุควรได้รับการบำเรอจากสตรีเพศ เพื่อให้เสวยมหามธุรา” ข้อความเช่นนี้เป็นสนธยาภาษา จะต้องไขความว่า สตรีเพศในที่นี้ท่านให้หมายเอาปัญญา สาธุเป็นเพศชาย จะต้องสร้างอุบายเพื่อร่วมเป็นเอกีภาพ
(๒) วามจารี กลุ่มนี้ประพฤติคลาดเคลื่อน ไม่รักษาพรหมจรรย์ มีลักษณะเป็นหมอผีมากขึ้น คือ อยู่ป่าช้าใช้กะโหลกหัวผีเป็นบาตร และใช้ภาษาลับพูดกันเรียกว่า “สนธยาภาษา” ถือการเสพกามคุณเป็นการบรรลุวิโมกข์ การบรรลุนิพพานต้องทำให้ธาตุชายธาตุหญิงหญิงมาสมานกัน ธาตุชายเป็นอุบาย ธาตุหญิงเป็นปรัชญา
ความสัมพันธ์กับอินเดีย
ในสมัยพุทธกาล ทิเบตถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของชมพูทวีป อยุ่ในแคว้นโกศล ป่ามหาวันที่อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ มีอาณาบริเวณเหนือครอบคลุมถึงภูเขาหิมาลัย ด้านใต้จรดทะเล พระพุทธเจ้าทรงแสดงงมหาสมัยสูตรและมธุปิณฑิกสูตร ป่ามหาวันนี้
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อทำตติยสังคายนาเสร็จแล้ว มีการส่งสมณะทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สาย พระมัชฌิมเถระและคณะซึ่งเป็นพระธรรมทูตสายหนึ่งเดินทางไปประกาศพระศาสนาบริเวณเทือกเขาหิมาลัย
ในยุคที่นาลันทามหาวิหารรุ่งเรืองชาวทิเบตหลายคนมาศึกษาวิชาสาขาพระพุทธศาสนาและสาขาอื่นๆ เช่น ประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ ธอนมี สัมโภตะ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชสำนัก เดินทางมาศึกษาที่นาลันทา กลับไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในทิเบต และประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งรัฐ
ประมาณ พ.ศ. ๑๕๒๓ – ๑๕๙๖ พระโอรสแห่งกษัตริย์กัลยารศรีและพระมเหสีศรีประภาวดี จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี ได้มาเป็นอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาใน พ.ศ. ๑๕๗๗ - ๑๕๘๑ ต่อมาได้รับเชิญไปทิเบตเพื่อปฏิรูปพระศาสนา และได้ก่อตั้งนิกายลามะ (Lamaism) ขึ้นในทิเบต พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถือเป็นยุตที่มีการส่งคนไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่นาลันทามหาวิหารมาก เนื่องกษัตริย์ประสงค์ที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในทิเบต มีการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต สร้างวัด และนิมนต์หรือเชิญนักปราชญ์ในอินเดียไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบต นักปราชญ์ชาวทิเบตที่จบการศึกษาจากนาลันทามหาวิหาร เป็นผู้วางระบบการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็อาศัยนักปราชญ์ต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียและเอเชียกลางนำหลักวิชาการไปสอนตามระบบที่วางเอาไว้ ทำให้วิชาการด้านพระพุทธศาสนารุ่งเรือง ทั้งในรูปแบบพระพุทธศาสนาดั้งเดิมและพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ความแปลกแยกทั้งในด้านหลักการและวิธีการจึงปรากฏอยู่ให้เห็นอยู่มาก
เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทิเบตจะมีส่วนผสมของวัฒนธรรมของอินเดียมากกว่าของจีน ที่เป็นเช่นนี้เพราะทิเบตรับวัฒนธรรมด้านศาสนาและภาษามาจากอินเดียเป็นหลัก โดยเฉพาะพระพุทธศาสนามหายานและภาษาสันสกฤตที่มีการเรียนการสอนที่นาลันทามหาวิหาร
ท่านศานตรักษิตะสอนตันตระ นำเสนอแนวคิดที่จะเชื่อมพลังชายและหญิงเข้าด้วยกัน ด้วยระบบ พลังทางเพศที่ได้รับการควบคุม (Disciplined Sexual Energy) กระบวนการแห่งจักรวาลหมุนไปโดยการมีเพศสัมพันธ์
อภิปรัชญา
ทฤษฎีกาลจักร ( Theory of time and Space) คือระบบควบคุมจักรวาล นั่นคือ จักรวาลหมุนไปต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างกระแสแห่งชีวิตในร่างกายและกระแสแห่งกาลในจักรวาล หรือกระแสชีวิตภายในและกระแสชีวิตภายนอกจักรวาลเชื่อมโยงกับมันตระศักดิ์สิทธ์ ๖ พยางค์ คือ โอม มณี ปัทเม หูม (โอม มณี เปเม หุง) และพระธยานีพุทธะทั้ง ๕
มนุษย์มีวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ในตัว แต่เข้าถึงไม่ได้ ต้องอาศัย การปฏิบัติการทางเพศที่ได้รับการควบคุมจะช่วยชำระ ระบบประสาทให้บริสุทธิ์
สภาวะเป็นสภาวะที่ทั้งสงบนิ่งและเคลื่อนไหว เป็นพลังที่เกิดจากการรวมกันระหว่างปรัชญากับอุบาย (ปรัชญา+ อุบาย) ปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นภาพสะท้อนให้เห็นสิ่งสูงสุด ๒ ประการ คือ (๑) อันติมจิต (๒) ปรัชญาและอุบายที่รวมกันอยู่อย่างแบ่งแยกไม่ได้
จักรวาลทั้งสิ้นแบ่งออกเป็นองค์ ๒ส่วนที่เสริมกันและกัน คือ
(๑) คัพภธาตุ มีลักษณะเป็นนามธรรม สถิตนิ่งอยู่ภายใน
(๒) วัชรธาตุ มีลักษณะเป็นรูปธรรม เคลื่อนไหว
ตันตระมีแนวคิดเชิงพหุเทวนิยม (Polytheistic) แม้จะเป็นตันตระแบบพุทธก็มีแนวคิดที่เอียงไปข้างสัสสตทิฏฐิ (Eternalist) เน้นความกลมกลืนระหว่างสรรพสิ่งที่ตรงกันข้าม ถือเป็นปรัชญาสหภาพนิยม (Unificationism) เป้าหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติคือการกำจัด “ทวยะ หรืออทวิภาวะ Duality” เข้าถึง “อทวยะ หรือ อทวิภาวะ (Non- Duality)
ในเบื้องต้น ความหมายแห่งอทวยะ คือการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวระหว่างจิตกับวัตถุ จุดหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติโยคะคือการรวมกันระหว่างผู้รู้ (Subject) กับสิ่งที่ถูกรู้(Object) การกำจัดความแตกต่างระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นเป็นแนวคิดเรื่องปรัชญากับกรุณา พัฒนากรุณา(Male) ให้อยู่ในฐานะเป็นผู้รู้หรือผู้กระทำ พัฒนาปรัชญา (Female) ให้อยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำ การรวมกันอย่างกลมกลืนระหว่างกรุณากับปรัชญา เรียกว่า อทวยะ หมายถึงความไม่แบ่งแยกปฏิบัติการ ภาพของปรากฏการณ์ที่ซ้าย-ขวา, บวก – ลบ หรือเป็นฝั่งโน้นฝั่งนี้เกิดเพราะการมองแบ่งแยก และสาเหตุที่ทำให้เกิดการมองอย่างแบ่งแยก เพราะพลังปรัชญากับกรุณา ปฏิบัติการอย่างไม่ประสานกัน ปรัชญามองอย่างแบ่งแยก ในขณะที่กรุณามองรวมกัน แต่การรวมสนิทไม่เกิดขึ้น เพราะพลังปรัชญาสอดแทรกอยู่ตลอดเวลา ภาวะรวมนี้สะท้อนออกมาเป็นภาพใน ๔ ด้าน คือ (๑) จักรวาล (๒) พุทธวิทยา (๓) ปัจเจกชน และ (๔) สังคม ทั้งหมดรวมเป็นร่างของปรัชญากับ (Embodiment of two – in –one of Wisdom and Compassion)
ภาพด้านจัรกวาลก็คือว่า จักรวาลทั้งหมดแบ่งเป้น ๒ ส่วนคือ คัพภธาตุและวัชรธาต ธาตุทั้ง ๒นี้รวมกันเป็นร่างมหาไวโรจนะคัพภธาตุเป็นพลังฝ่ายจิต เป็นพลังสถิตสงบนิ่งอยู่ภายใน (Passsive) ส่วนวัชราตุเป็นพลังฝ่ายวัตถุ เป็นพลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว (Active)
ภาพด้านพุทธวิทยา คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย และอุตตรรูปอื่น เป็นบุคคลาธิษฐานของนัยต่างๆแห่งสัจภาวะหรือขั้นต่างๆของมรรคาเป็นพลังฝ่ายชายที่ปรากฏร่วมกันอย่างแยกไม่ออกกับพลังศักติซึ่งเป็นพลังฝ่ายหญิง ศักตะคือร่างบุรุษหมายถึงอุบาย (กรุณา) ศักติคือร่างสตรีหมายถึง ปรัชญา
ภาพด้านปัจเจกชน ในตัวของแต่ละบุคคล ปรัชญากับกรุณาเป้นพลังที่ไหลเลื่อนตามเส้นประสาทออกทางช่องจมูก เรียกว่า “รสนา (ลิ้มรส- บุรุษ)” การปฏิบัติโยคะชั้นสูงของพุทธตันตระใช้วิธีการประสานพลังตามเส้นประสาททั้ง ๒นี้ เป้นผลก่อให้เกิดละเอียดอ่อนสามารถนำไปรวมอยุ่ในประสาทกลาง เรียกว่า “อวธูตี” พลังนี้จะก่อให้ปฏิกิริยาขึ้นที่จิต (Mental) ต่อจากนั้นกระทบจิตพิเศษ (Super conscious) และท้ายที่สุดจะก่อปฏิกิริยาที่อุตตรภูมิ (Transcendental Plane ) เป็นผลให้พลังแฝงทั้งหมดของบุคคลได้รับการกระตุ้นด้วยพลังไฟและรวมเป็นกลุ่มก้อน ก่อให้เกิดพลังมหาศาล แทงตลอดสรรพธรรม การประสานพลังอย่างนี้ เรียกว่า “ปรัชโยบาย” เป็นวิธีปฏิบัติซับซ้อนยากและอันตราย ผู้ปฏิบัติต้องอาศัยครูแนะนำอย่างใกล้ชิด
ภาพด้านสังคม ประเด็นทอภิปรายเกี่ยวกับนัยที่แท้จริงของ Sexual Sacramentalism การใช้สตรีเป็นสัญลักษณ์แทนปรัชญาและใช้บุรุษเป็นสัญลักษณ์แทนกรุณา และประสานสัญลักษณ์ทั้งสอง เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดพลังนำไปสู่จุดหมายสูงสุด ทำให้เกิดลักษณะนอกรีตในยุคต่อมา เช่นมีการสร้างรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ (กรุณา) อยู่ในอ้อมกอดของเทพี(ศักติ- ปรัชญา ) มีการประยุกต์หลักการนี้เพื่อปฏิบัติ นำสตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนการปฏิบัติ โดยเชื่อว่าจะเป็นพลังกระตุ้นให้เกิดการบรรลุธรรมเร็วขึ้น การใช้ตัณหา เป็นอุปกรณ์เพื่อไปสู่จุดหมาย โดยปรับสภาพตัณหาให้บริสุทธิ์ (Sublimation of Desire) เป็นยานที่จำนำไปสู่ความหลุดพ้น “การหลั่งน้ำอสุจิคือการปลุกโพธิจิต”
พระอาทิพุทธะ
พระอาทิพุทธะ แปลว่า พระพุทธเจ้า ผู้เป็นกำเนิด (Primordial Buddha) ข้อความในคุณการุณฑวยูหะเขียนไว้ว่า “ในครั้งโน้นไม่มีอื่นนอกจากพระศัมภู นั้นคือ พระสวยัมภู พระองค์ผู้มากก่อนสรรพสิ่ง เกิดเองเป็นเองพร้อมกับโลก ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด จึงได้นามว่า อาทิพุทธะ กระแสแนวคิดที่ทำให้เกิดเรื่อง อาทิพุทธะ” มีเชื้อของลัทธิเทวนิยมส่วนหนึ่งเป็นความพยายามของผู้ประกาศพระพุทธศาสนาในนยุคที่จะต่อสู้กับกระแสเทวนิยม
พระธยานีพุทธะ
พระธยานีพุทธะถือว่าเป็นบุตรผู้สืบสายด้านจิตใจ (Spiritual Son ) ของพระอาทิพุทธะ แท้ที่จริง สาระแห่งพระธยานีพุทธะก็คือ “ธรรมกาย” ประทับสงบนิ่งอยู่ในสวรรค์ชั้นอรูปธาตุ (อรูปพรหม ?) แสดงธรรมลึกซึ้งแก่สัตว์โลกตลอดเวลา เมื่อปรากฏคู่กับศักติ จะอยู่ในรูป “ยับ-ยูม” พระธยานีพุทธะที่ปรากฏชื่อมี ๕ พระองค์ เมื่อสวมมงกุฏทิเบตเรียกว่า มกุฏพุทธะ (Crowned Buddha) แวดล้อมพระธยานีโพธิสัตว์ ชาวทิเบตนิยมทำภาพวาดพระธยานีพุทธะมากกว่าที่สร้างเป็นพระพุทธรูป ในวรรณกรรมพระพุทธะศาสนาในทิเบตบางเล่มปรากกชื่อพระธยานีพุทธะอีกองค์คือ พระวัชรสัตตวะแทนที่ พระอักโษภยะ แต่โดยที่พระกายอันเป็นรูปตามตรีกาย ทรงเป็นธรรมกาย หรือพระกายแห่งการตรัสรู้ พระธรรมของพระพุทธเจ้า และด้วยอำนาจฌานของพระธยานนีพุทธะทำให้เกิดพระธยานีโพธิสัตว์
โลกประกอบด้วยจักรวาลธาตุหรือขันธ์ ๕ และขันธ์เหล่านี้เป็นพลังจักรวาลที่อมตะไม่มีเบื้องต้นและที่สุด นั่นคือพระธยานีพุทธะ โดยมีพระอาทิพุทธะเป็นศูนย์กลางในโลกปัจเจกบุคคลก็ก็มีขันธ์ ๕ เป็น ส่วนประกอบพระธยานีพุทธะที่ประจำอยู่ในนแต่ละขันธ์แสดงถึงโพธิกรรมที่แทรกอยู่ โดยยกฐานะขึ้นเป็นเทพในวัชรยาน ปรากฏในรูปของพระธยานีพุทธะ แต่ก็ได้พยายามเสนอแนวคิดในรูปแห่ง “เอกเทวนิยม” โดยสร้างทฤษฎี “วัชรธร” คือ อาทิพุทธะขึ้นมา วัชรยานถือว่าอาทิพุทธเป็นเทพสูงสุด เป้นเทพองค์เดียวที่เป็นต้นกำเนิดของพระธยานีพุทธะทั้งหลาย
พระธยานีพุทธเป็นพระพุทธเจ้าพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการเป็นโพธิสัตวื พระองค์ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์สิ่งใด แต่การสร้างสรรค์ดลกเป็นหน้าที่ของเทวดพธิสัตว์ผู้เป็นเหล่ากอของพระธยานีพุทธะ ทฤษฎีพระธยานีพุทธะได้รับการเผยแพร่ในราว พ.ศ. ๘๐๐ เกิดมาจากทฤษฎีสัสสตภาวะของขันธ์ ๕
พระธยานีพุทธะทุกองค์มีศีกดิ์หรือเทพธรรมที่ทรงแสดงคู่เดียวเรียกว่า อาทิธรรม หรือ อาทิปรัชญา พระธยานีพุทธะทั้ง ๕ องค์ คือ
พระไวโรจน์พุทธะ
พระอักโษภยะ
พระรัตนสัมภวะ
พระอมิตาภะ
พระอโมฆสิทธิ
พระธยานีโพธิสัตว์
พระธยานีโพธิสัตว์ ผู้ที่อยู่ในรูปสัมโภคกาย สถิตอยู่ในสวรรค์รูปธาตุ พระธยานีโพธิสัตว์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมาก คือกลุ่ม ๕ อาจเป็นเพราะถือว่าเกิดมาจากพระยานีพุทธะโดยตรง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถือเป็นบุตรทางจิตของพระธยานีพุทธะ เป็นสังฆะผู้สร้าง เป็นผลิตผลของการรวมกันระหว่างพระพุทธะ (จิต)พระธรรม (วัตถุ) บางตำนานบอกว่า พระยานีโพธิสัตว์ได้รับพลังปฏิบัติการจากพระอาทิพุทธะโดยผ่านพระธยานีพุทธะวัมนธรรมเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ถือเป็นจุดเด่นที่สุดของพระพุทธศาสนามหายานทั้งยุคดั้งเดิมและยุคใหม่หรือตันตรยานซึ่งแพร่หลายในทิเบต รูปของพระโพธิสัตว์ที่สร่างขึ้นนั้นมีทั้งที่เป็นแบบตันตระ (Tamtra Form) และไม่ใช่ตันตระ (Non- tantra Form ) ไม่ปรากฏหลักฐานสนับสนุนมากนักว่า เพราะเหตุไรจึงมีทั้งแบบตันตระและไม่ใช่ตันตระ การสร้างรูปพระโพธิสัตว์ด้วยวัตถุที่แน่นหนามั่นคง นิยมมากในยุคที่บ้านเมืองรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นเมืองมีปัญหา ประชาชนต้องอพยพย้ายถิ่น การวาดรูปพระโพธิสัตว์เป็นที่นิยมมากกว่า เพราะน้ำหนักไม่มากสามารถนำติดตัวไปได้
ภารกิจการสร้างโลก
หน้าที่เชิงจักรวาลวิทยาอย่างหนึ่งของพระโพธิสัตว์ คือ การสร้างโลก ซึ่งคงไม่ได้หมายถึงการท้องฟ้า แผ่นดิน แม่น้ำ ภูเขา และสภาพแวดล้อมต่างๆ บนโลกนี้ แต่หมายถึงการสร้างยุคสมัยบนโลกนี้
พระสมันตภัทระ บุตรของพระธยานีพุทธไวโรจนะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีพุทธกกุสันธะ สร้างโลกยุคที่ ๑
พระวัชรปาณี บุตรของธยานีพุทธอักโษภยะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีพุทธโกนาคม สร้างโลกยุคที่ ๒
พระรัตนปาณี บุตรของพระธยานีพุทธรัตนะสัมภวะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีพุทธกัสสปะ สร้างโลกยุคที่ ๓
พระอวโลกิเตศวร หรือ พระปัทมปาณี บุตรของพระธยานีพุทธะ อมิตาภะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นมานุษีพุทธโคตมศากยมุนี สร้างโลกยุคที่ ๔ ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน
พระวิสวะปาณี บุตรของธยานีพุทธอโมฆสิทธิผู้จะแสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีไมเตรยะ จะสร้างโลกยุคที่ ๕
พระสมันตรภัทระ มีเครื่องหมายประจำ คือ แก้วสารพัดนึก
สีประจำ คือ สีเขียวหรือสีเหลือง
สัญลักษณ์ คือ ดอกบัวน้ำเงิน
พาหนะ คือ ช้าง
ปาง คือ ปางรำพึง (วิตก) แลละปางประทานพร
พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ๕ เป็นผู้สูงส่งด้านปัญญา เทียบเท่าอาทิพุทธะ แต่ต่อมาถูกลดฐานะลงไปนิกายโยคาจารกล่าวว่า “พระองค์เป็นผู้สร้างระบบโยคะ” ภาพที่แสดงไว้ในที่ต่างๆ นิยมสวมมงกุฏ มือซ้ายถือแก้วสารพัดนึกดอกบัวสีน้ำเงินอยู่บนบ่าซ้าย มือขวาแสดงท่าปางรำพึงประทับนั่งหรือยืน บางครั้งมีสักติที่อยู่ในท่ายับ – ยุมเคียงข้าง
พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ๘ มือขวาแสดงท่าปางรำพึงและประทานพร ถือกลีบบัวที่รองรับแก้วสารพัดนึก มือซ้ายถือวัชระ บางครั้งระบายสีเหลือง ในประเทศญี่ปุ่น จะพบรูปพระสมันตรภัทระอยู่ด้านขวาพระศากยมุนี มีพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เคียงคู่อยู่ด้วย พระองค์อยู่บนหลังช้าง ๓ เศียร หรือ ๑ เศียร ๖ งา คุกเข่าหรือยืน ถือดอกบัว ในประเทศสจีนก็เหมือนนกันจะพบรูพระสมันตรภัทระอยู่คู่กับพระศากยมุนีพุทธะและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ประทับอยู่บนหลังช้าง
พระวัชรปาณี
เครื่องหมายประจำ คือ วัชระ
สีประจำ คือ นำเงินดำหรือสีขาว
สัญลักษณ์ คือดอกบัวสีน้ำเงิน
ศักติ คือ นางสุชาดา
พระวัชรปาณีปรากฏอยู่ในร่างมนุษย์ก็มี ร่างอื่น ๆ ก็มี มี ๑ เศียร ๔ แขน หรือ ๓ เศียร ๖ แขน หรือ ๔ เศียร ๔ แขน ๔ ขา แท้ที่จริงแล้ว พระองค์คือภาพสะท้อนของพระธยานีพุทธอักโษภยะ บางตำนานบอกว่า พระวัชรปานีคือท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นเทพแห่งฝน มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระพุทธเจ้าต่อสู้กับพวกครุฑ หรือการบำเพ็ญพุทธกิจสำคัญ หรือบางคราวก็คอยปกป้องพวกนาคจากการรุกรานของพวกครุฑ หรือในบางโอกาส ถือเป็นศัตรูฉกาจของพวกปีศาจ
รูปของพระวัชรปานีปรากฏคู่กับพระอมิตาภะ (หรือมัญชุศรี) และพระปัทมปาณี ในวรรณกรรมเนปาล มีรูปพระวัชรปาณีประกอบ ยืนอยู่ด้านซ้ายของพระทีปังกรพุทธเจ้า หรือด้านขวาของนางตารา มือขวาถือวัชระมีกลีบบัวริองรับ มือซ้ายอยู่ในปางประทานพร ยืนขวาไขว้กัน บางทีจะพบรูปของพระวัชระปานีสีดำ
พระรัตนปาณี
พระธยานีโพธิสัตว์รัตนปาณีไม่เป็นที่นิยมมากกนักจึงไม่มีรูปปั้นหรือรูปภาพปรากฏแพร่หลาย รุปที่ปรากฏจะสวมมงกุฏ ๕ แฉกและสวมเครื่องประดับ มือขวาแสดงท่าปางประทานพร บางทีถือดอกบัวมือซ้ายประคองแก้วสารพัดนึกบนหน้าตักประติมากรรมจีน มีแก้วสารพัดนึก (ไข่มุก) ๓ ชิ้นอยู่ที่มงกุฏ วางเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม มีแสงประกาย มือซ้ายถือแก้วสารพัดนึกมีรัศมีเปล่งออกเป็นสามแฉก มือขวาแสดงท่าประทานพร
พระอวโลกิเตศวร
พระอวโลกิเตศวร กอ่กำเนิดมาจากการประทับเข้าฌาณของพระอมิตาภพุทธเจ้าในยุคดั้งเดิม มีบทบากด้านการช่วยเหลือผู้ประสพทุกข์ ตรวจดูความเป็นไปของโลก พระอวโลกิเตศวรดั้งเดิมเป็นชาย ต่อมาในประมาณพ.ศ. ๑๑๐๐ เทพแห่งเมตตาเป็นที่บูชาสักการะมากในจีน ในทุกวัดจะมีรูปเทพแห่งเมตตา ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แห่งความอ่อนโยน แต่ยุคนี้ไม่มีการตั้งชื่อเทพแห่งเมตตา จึงมีผุ้สถาปนาพระอวโลกิเตศวรขึ้นเป็นเทพแห่งเมตตา ในนามว่า “กวนยิน”
“เมตตา” เป็นสัยลักษณ์แห่งเพศหญิง เมื่อกำหนดพระอวโลกิเตศวรให้เป็นเทพแห่งเมตตาแล้ว จึงเชื่อว่า เทพีแห่งเมตตานั้นเป็นการแสดงออกมาของพระอวโลกิเตศวร
มานุษีพุทธะ
พระมานุษีพุทธะคือนิยตมานุษีโพธิสัตว์ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์หมดแล้ว จึงบำเพ็ญบารมีตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เปลี่ยนสถานะจากโพธิสัตว์เป็นพุทธะ
พระมานุษีโพธิสัตว์
มานุษีโพธิสัตว์ เป็นผู้ทำหน้าที่นำนโยบายของธยานีพุทธะไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน มานุษีโพธิสัตว์มี ๒ ประเภท คือ (๑) อนิยตมานุษีโพธิสัตว์ คือผู้บำเพ็ญบารมียังไม่ถึงภูมิ ๑๐ มีประมุทิตาเป็นต้น มีธรรมเมฆาเป็นที่สุด (๒) นิยตมานุษีโพธิสัตว์ คือผู้บำเพ็ญบารมีถึงภูมิที่ ๑ ในจำนวนภูมิ ๑๐
ในทัศนคติของตันตระถือว่ามานุษีพุทธะนั้นมีจำนวนเหลือคณานับ เปรียบด้วยเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา มานุษีพุทธะเหล่านี้คือผู้อวตารมาจากอาทิพุทธะ
จากที่ได้ศึกษาบทบาท สถานะของหมู่เทพแห่งตันตระแล้ว พบว่า หมู่เทพทั้งหลายตั้งแต่อาทิพุทธะ จนถึงมานุษพุทธะ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน โดยได้รับอิทธิพลต่อๆกันมาจากอาทิพุทธะ ผู้เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวง ครอบจักรวาลฉายภาพออกมาโดยการมีสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายหญิง ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกกันได้ มีความสอดคล้องกันกับการหมุนไปแห่งโลกธาตุ
โครงสร้างความสัมพันธ์แห่งหมู่เทพฯ
(Structural Relationship of Tantra Gods)
พระอาทิพุทธะ
พระธยานีพุทธะ พระธยานีโพธิสัตว์
พระไวโรจน์พุทธะ พระสมันตภัทระ
พระอักโษภยะ พระวัชรปาณี
พระรัตนสัมภวะ พระรัตนปาณี
พระอมิตาภะ พระอวโลกิเตศวร
พระอโมฆสิทธิ พระวิสวะปาณี
พุทธปรัชญาสำนักโยคาจารหรือวิชญานวาท
ความหมายของชื่อปรัชญานี้
ที่ปรัชญานี้มีชื่อว่า โยคาจาร ก็เพราะมุ่งศึกษาให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุดโดยวิธีปฏิบัติโยคะ และวิธีปฏิบัตินี้ก็ดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ซึ่งทรงเน้นข้อปฏิบัติทางกายและทางใจเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งสัจธรรมดังกล่าว ข้อปฏิบัติทางจิตก็คือการฝึกจิตเพื่อให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุด แล้วจะพบว่า (1) สากลจักรวาลหาใช่อื่นที่แยกออกไปจากจิตไม่ (2) ในสัจธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดและการตาย และ (3) ไม่มีสิ่งหรือวัตถุภายนอกจิตที่มีอยู่จริง ๆ
ท่าทีดังกล่าวนี้ย่อมแสดงถึงเหตุผลอย่างเพียงพอว่า ทำไมจึงใช้ชื่อว่า โยคาจาร และเพราะเหตุที่ปรัชญานี้ถือว่าไม่มีความจริงแท้ใด ๆ อื่นนอกจากจิตหรือวิชญาน (เรียกตามภาษาบาลีว่า วิญญาณ) ฉะนั้น จึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิชญานวาท (เรียกตามภาษาลาลีว่า วิญญาณวาท)
จุดยืนของสำนักปรัชญานี้
สำนักปรัชญานี้ปฏิเสธลักษณภาพทางวัตถุวิสัยของโลกภายนอก ยอมรับว่ามีวิญญาณจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละดวงเป็นขณิกะ มีปัจจัยปรุงแต่ง (เจตสิก) ของตนเอง และแสวงหาความรู้เพื่ออธิบาย ถึงปรากฏการณ์ที่ประสบ โยคาจารถือว่าเพราะอวิทยาเป็นเหตุ เราจึงจำแนกวิญญาณหนึ่ง ๆ ออกเป็นตัวผู้ทำ กรรมและความรู้สึกรู้ ซึ่งความจริงแล้ว วิญญาณเดิมนั้นมีลักษณะเป็นประภัสสรและจำแนกไม่ได้
ผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญานี้
สำนักปรัชญานี้พัฒนาเด่นขึ้นมาก็เพราะ ท่านอสังคะ ผู้เป็นพี่ชายของท่านวสุพันธุ์ จึงเชื่อกันว่าท่านอสังคะเป็นผู้ตั้งเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 แต่นักปราชญ์บางท่านเชื่อว่า ท่านไมตรียนาถ ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอสังคะเป็นผู้ตั้ง ตามหลักฐานทางทิเบตกล่าวไว้ว่า ท่านไมตรียนาถได้รจนาคัมภีร์ไว้ถึง 6 คัมภีร์ แต่ปรากฏชื่อยู่ 5 คัมภีร์เท่านั้น คือ (1) สูตราลังการ (2) มัธยานตวิภังค์ (3) ธรรมธรรมตาวิภังค์ (4) มหายาน อุตตร-ตันตร-ศาสตร์ แต่มีผู้คัดค้านว่า ท่านไมตรียนาถไม่ใช่เป็นผู้ตั้ง เพราะเราพบว่าวิชญานวาทนั้น ได้มีอยู่ก่อนแล้ว ในคัมภีร์ลังกาวตารสูตรและคัมภีร์ของท่านอัศวโฆษ กล่าวว่า ท่านไมตรียนาถเป็นเพียงผู้อธิบายตามหลักปรัชญาเท่านั้น แต่ความคิดเห็นของท่านสืบทอดไปสู่ท่านอสังคะผู้เป็นศิษย์
วรรณกรรมและผู้รจนา
คัมภีร์ที่เชื่อกันว่า ท่านอสังคะเป็นผู้รจนา คือ (1) โยคาจารภูมิศาสตร์ (2) มหายานสูตราลังการ พร้อมคำวิจารณ์ของผู้รจนาด้วย (3) ปัญจภูมิ (4) อภิธรรมสมุจจัย (5) มหายานสงเคราะห์ (มหายานสงครห) (6) มหายานสมปริเคราะห์ (มหายานสมปริครห) ท่านปรมารถแปลสู่พากย์จีนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 11 (7) ประกรณอารยวาจา (8) มหายานาภิธรรมสังคีติศาสตร์ หลวงจีนเฮี้ยนจังแปลสู่พากย์จีนเมื่อราว พ.ศ. 1168 (9) คัมภีร์อรรถกถา 1 คัมภีร์ขยายความในวัชรเฉทิกา ท่านธรรมคุปตะแปลสู่พากย์จีนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
บางท่านเชื่อว่า ท่านอสังคะได้พยายามชักจูงพระน้องชายชื่อวสุพันธุ์ให้หันมานับถือมหายานได้สำเร็จในตอนปลายแห่งอายุ และท่านวสุพันธุ์ได้รจนาคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ชื่อว่า วิชญปุติมาตรตาสิทธิ ว่าด้วยวิชญานวาท แต่บางท่านเห็นว่า ท่านวสุพันธ์ องค์นี้สังกัดมหายานมาตลอด เป็นคนละรูปกับท่านวสุพันธุ์ผู้แต่งคัมภีร์อภิธรรมโกศะของไวภาษิกะดังกล่าวมาแล้ว
คัมภีร์ที่สำคัญของสำนักนี้ คือคัมภีร์ลังกาวตารสูตรกับคัมภีร์อรรถกาถาขยายความในคัมภีร์ตริงศิกาของท่าน สถิรมติ (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) ผู้เป็นศิษย์ของท่านวสุพันธุ์ แต่บางท่านเชื่อว่าท่านสถิรมติสังกัดสำนักไวภาษิกะ
นอกจากนี้ยังมีนักตรรกศาสตร์เรืองนาม 2 ท่าน คือ ท่านทิงนาคะ กับท่านธรรมกีรติ บางทีก็ถือว่าสังกัดสำนักนี้เหมือนกัน แต่หลักฐานบางแห่งว่า ท่านทั้งสองสังกัดสำนักไวภาษิกะ
ลักษณะสำคัญของโยคาจาร
ในหนังสือมหายานสมปริเคราะห์-ศาสตร์ ท่านอสังคะกล่าวถึงลักษณะสำคัญของสำนักปรัชญาโยคาจารไว้ดังนี้
1. อาลยวิญญาณแพร่อยู่ทั่วไปในสรรพสิ่งทั้งหลาย
2. ความรู้ (ญาณ มี 3 ชนิด คือ (1) ชนิดที่เป็นมายา (ปริกัลปิตชญาน) ได้แก่ ความเท็จโดยสิ้นเชิง (2) ชนิดสัมพันธ์ (ปรตันตรชญาน) ได้แก่ความรู้ที่ไม่จริงแท้ แต่ไม่ใช่เป็นเพียงมายา นั่นคือ ความรู้สามัญที่สมมติและยอมรับกันในชีวิตประจำวัน ถูกต้องเฉพาะราย ไม่เสมอไป และ (3) ความรู้จริงแท้ (ปริณิษปันนชญาน)
3. โลกทางวัตถุวิสันกับอัตตาทางจิตวิสัย เป็นเพียงภาคสำแดงของอาลยวิญญาณซึ่งเป็นวิญญาณสากล
4. โยคาจารเน้นเรื่องบารมี 6 ประการ
5. ผู้ปรารถนาจะบรรลุพุทธภูมิจะต้องปฏิบัติตามหลักทศภูมิของพระโพธิสัตว์
6. มหายานสูงส่งกว่าหินยานซึ่งเป็นเพียงสาวกยานที่มุ่งผลสำเร็จเพื่อตน ไม่มุ่งประโยชน์ผู้อื่น และเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าผิด ๆ
7. เป้าหมายของโยคาจาร คือบรรลุถึงสภาพธรรมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมกายหรือพระกายอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า โดยอาศัยโพธิญาณ
8. ผู้ที่ปฏิบัติจนถึงขั้นสูงสุดแล้วจะอยู่เหนือกายและจิต และเข้าถึงเอกภาพกับอาลยวิญญาณ
9. จากแง่ปรมัตถ์ จะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสงสารกับนิพพาน นิพพานนั้นจะบรรลุได้ในโลกนี้และชั่วชีวิตนี้ โดยทำให้เกิดความเหมือน (สมตว) และขจัดความต่าง (นานาตว) ออกไป
10. ความจริงแท้ คือธรรมกาย อันได้แก่พระกายอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงอาลยวิญญาณอันบริสุทธิ์ที่ปรากฏเป็นกายที่เราเห็นคือนิรมานกายของพระพุทธองค์ (แปลว่ากายที่เปลี่ยนแปลงได้) แต่ถ้ามองจากแง่ปรมัตถ์ ได้แก่สัมโภคกาย คือ กายแห่งความสุข
จากพระสูตรนี้ มองเห็นได้ชัดว่า โยคาจารมีหลักปรัชญาครบทั้ง 3 สาขา คือ ญาณวิทยา อภิปรัชญา และจริยศาสตร์ ดังจะได้นำมาอธิบายขยายความโดยสังเขปต่อไป
ญาณวิทยา
ลักษณะของความรู้แท้
ความรู้แท้หรือความรู้ชอบ (สมยคชญาน) คือความรู้ขั้นสัพพัญญู ซึ่งถือว่าอยู่เหนือความรู้ขึ้นเหตุผลของตรรกศาสตร์ทั้งหลาย เพราะความรู้ขึ้นสัพพัญญูเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงความจริงแท้หรือสัจธรรมขั้นสูงสุดของมหายานได้ ความรู้ขั้นเหตุผลไม่สามารถเข้าถึง ดังที่ท่านอสังคะกล่าวไว้ในมหายานสูตราลังการศาสตร์ว่า
ความรู้ (ปัญญา) ขึ้นเหตุผลหรือหนักทางตรรกศาสตร์นั้น มีสมุฎฐานมาจากตำราทางศาสนา เป็นเพียงสมมติบัญญัตินั่นเอง ไม่ใช่ความรู้ขั้นสูงหรือขั้นสุดท้ายไม่สามารถเข้าถึงมหายานได้เลย เพราะตามหลังเหตุผล สิ่งที่ถือว่าเป็นจริงในวันนี้ อาจไม่จริงในวันพรุ่งนี้ก็ได้ สิ่งที่บางคนถือว่าจริว บางคนอาจเห็นว่าไม่จริงก็ได้ จึงชื่อว่าเป็นความรู้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ใช่สกลที่เรียกว่าสัพพัญญูเพราะไม่สามารถรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ สิ่งที่ความรู้ขั้นเหตุผลเข้าถึงได้ ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์เท่านั้น ความรู้ขั้นเหตุผลไม่อาจสร้างความพึงพอใจให้ทุกคนได้ จึงปรากฏเนือง ๆ ว่า ได้มีการโต้คารมกันอย่างเผ็ดร้อนและเอาชัยชนะกันด้วยน้ำหนักแห่งเหตุผลของกันและกัน ซึ่งนับว่า ความรู้ขั้นนี้นำไปสู่การขัดแย้งกันทะเลาะกัน และก่อให้เกิดทุกข์และเพิ่มทุกข์ บุคคลผู้ไม่ฉลาดเท่านั้นจะเชื่อถือความรู้ขั้นนี้ ผู้ฉลาดจะไม่เชื่อถือเลย เพราะถือว่าไม่ได้ให้ความจริงแก่เรา
ชนิดของความรู้
ท่านอสังคะแบ่งความรู้ออกเป็น 3 ชนิด (ดังปรากฏในมหายานสมปริเคราะห์ศาสตร์ข้างต้น) คือ
1. ปริกัลปิตชญาน ได้แก่ความรู้ชนิดมายา คือไม่ให้ความจริงอะไรเลยเป็นความเท็จล้วน ๆ เช่น ความรู้เรื่องหนวดเต่า เขากระต่าย
2. ปรตันตรชญาน ได้แก่ความรู้ชนิดสัมพันธ์ คือความรู้ขั้นสามัญที่สมมติกันและยอมรับกันว่า ให้ความจริงได้บ้าง แต่เป็นความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่สมมุติบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกขานกันในชีวิตประจำวันเท่านั้น ไม่ใช่ความจริงขั้นปรมัตถ์ ความรู้นี้จึงใช้บรรยายให้ความจริงของสรรพสิ่งที่เป็นสมมติหรือโลกียได้ ไม่ใช่เป็นมายาโยสิ้นเชิงอย่างปริกัลปิตชญาน
3. ปริณิษปันนชญาน ได้แก่ความรู้แท้ที่ให้ความจริงแท้ หรือสัจธรรมขั้นปรมัตถ์ ความรู้ชนิดนี้แหละที่ท่านอสังคะถือว่า สามารถเข้าถึงสัจธรรมขั้นสูงสุดของมหายานได้
โยคาจารแบ่งความรู้ปริณิษปันนุชญานออกเป็น 4 อย่าง คือ
1. กฤตยานุษฐานชญาน คือความรู้ของบุคคลผู้สามารถเปลี่ยนปัญจวิญญาณที่ประกอบด้วยสาสวธรรม (กิเลส) ทั้งหลายให้กลายเป็นอนาสวธรรม
2. ปรัตยเวกษณชญาน คือความรู้ของบุคคลผู้สามารถเปลี่ยนมโนวิญญาณที่ประกอบด้วยสาสวธรรมให้กลายเป็นอนาสวธรรม
3. สมตาชญาน คือความรู้ของบุคคลผู้สามารถเปลี่ยนกลิษฎมโนวิญญาณ ที่ประกอบด้วยสาสวธรรมให้กลายเป็นอนาสวธรรม
4. อาทรรศนชญาน คือความรู้ของบุคคลผู้สามารถเปลี่ยนอาลยวิญญาที่ประกอบด้วยสาสวธรรให้กลายเป็นอนาสวธรรม
ความรู้หรือญาณทั้ง 4 อย่างนี้เกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็สามารถถึงวิมุติหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เด็ดขาด
ประมาณหรือแหล่งเกิดความรู้
ปรัชญาโยคาจารยอมรับประมาณ 2 อย่างว่า สามารถให้ความจริงได้ คือ ประจักษประมาณ และอนุมานประมาณ อย่างเดียวกับสำนักปรัชญาไวภาษิกะ (ดูรายละเอียดในสำนักปรัชญานั้น)
อภิปรัชญา
นักปราชญ์อินเดียท่านหนึ่ง กล่าวไว้ว่า สำนักปรัชญาอินเดียที่จัดได้ว่าเป็น จิตนิยม (Idealistic School) อย่างแท้จริงนั้น มีสำนักเดียวเท่านั้น คือสำนักปรัชญาโยคาจารหรือวิชญานวาทนี่นั่นเอง เพราะสำนักปรัชญานี้มีทรรศนะว่าความจริงแท้มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ อาลยวิญญาณ วัตถุทั้งหลายในโลกเป็นเพียงรูปแบบและภาพปรากฏของวิญญาณหรือจิตทั้งสิ้น เช่นที่ปรากฏในคัมภีร์ลังกาวตารสูตรตอนหนึ่งว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ใช่อะไรอื่น ที่แท้ก็คือจิตนั่นเอง” คำว่า “จิต” ในที่นี้ ท่านหมายถึงอาลยวิญญาณ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิญญาณ 8 ตามการจำแนกของสำนักปรัชญานี้
ทรรศนะเรื่องวิญญาณ
ประเภทของวิญญาณ
พุทธปรัชญาสำนักโยคาจารได้จำแนกวิญญาณออกเป็น 8 ชนิด คือ
1. จักขุวิญญาณ 2. โสตวิญญาณ 3. ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาวิญญาณ
5. กายวิญญาณ 6. มโนวิญญาณ 7. กลิษฎมโนวิญญาณ (มนัส) และ
8. อาลยวิญญาณ
วิญญาณ 5 ข้างต้น เรียกว่า ปัญจวิญญาณ ซึ่งไม่แตกต่างกับของเถรวาท คือเมื่อจักขุเห็นรูป ก็เกิดจักขุวิญญาณ หูได้ยินเสียงก็เกิดโสตวิญญาณ ฯลฯ ดังนี้ ตามทรรศนะของโยคาจารถือว่า ปัญจวิญญาณหาได้เกิดขึ้นโดยลำพังอินทรีย์กับวิสัยหรืออารมณ์มากระทบกันอย่างเดียวไม่ แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นประกอบ เช่น
จักขุวิญญาณจะเกิดต้องอาศัยปัจจัย 9 อย่าง มีที่ว่าง แสงสว่าง อินทรีย์คือจักขุประสาท รูปวิสัย มนสิการ จิต มโนธาตุ มโนวิญญาณ และพีชะ (เรื่องพีชะดูตอนต่อไป) ส่วนผู้ที่ได้ทิพยจักษุไม่ต้องอาศัยที่ว่างกับแสงสว่าง 2 อย่างนอกนั้นคงต้องอาศัย
โสตวิญญาณต้องอาศัยปัจจัย 8 อย่างคือโสตประสาท ศัพทวิสัย มนสิการ จิต มโนธาตุ มโนวิญญาณ พีชะ และที่ว่าง
ฆานวิญญาณต้องอาศัยปัจจัย 7 อย่าง คือ ฆานประสาท ฆานวิสัยมนสิการ จิต มโนธาตุ มโนวิญญาณ และ พีชะ
ชิวหาวิญญาณต้องอาศัยปัจจัย 7 อย่าง คือชิวหาประสาท ชิวหาวิสัยนอกนั้นเหมือนฆานวิญญาณ
กายวิญญาณต้องอาศัยปัจจัย 7 อย่าง คือกายประสาท การวิสัย นอกนั้นเหมือนฆานวิญญาณ
วิญญาณทั้ง 5 อย่างรับอารมณ์ใกล้ไกลไม่เหมือนกัน คือ จักขุวิญญาณและโสตวิญญาณรับอารมณ์ที่ห่างไกลออกไปได้ ท่านเรียกว่า อสัมปัตตวิญญาณส่วนฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ต้องรับอารมณ์ที่มาถึงตนท่านจึงเรียก สัมปัตตวิญญาณ
มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจมี 2 ประการ คือ มโนวิญญาณที่เป็นไปในปัญจทวารขณะรับรู้อารมณ์ 5 และมโนวิญญาณที่รับรู้อารมณ์ในขณะที่ปัญจทวารมิได้รับอารมณ์ มโนวิญญาณนี้พิจารณารู้อารมณ์ทั้งในอดีตปัจจุบัน และอนาคต ต่างกับปัญจวิญญาณซึ่งรับอารมณ์ได้แต่ปัจจุบัน
มโนวิญญาณมีหน้าที่สำคัญคือเป็นต้นเหตุแห่งการประกอบกรรมดีกรรมชั่ว มโนวิญญาณเป็นไปทั้งกุศล อกุศล และอัพยากฤตเช่นเดียวกับปัญจวิญญาณ มโนวิญญาณจะขาดตอนก็ต่อเมื่อเข้าสู่อสัญญีภพ เข้าอสัญญีสมาบัติเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คนที่หลับสนิทไม่มีฝัน และคนทีสลบ
ปัญจวิญญาต้องอาศัยอินทรีย์ 5 เป็นที่เกิด เช่น จักขุวิญญาณก็ต้องอาศัยจักขุนทรีย์เป็นที่เกิดฉันใด มโนวิญญาณจะบังเกิดพฤติภาพได้ ก็ต้องมีที่อาศัยเช่นเดียวกัน กล่าวคืออาศัย มนินทรีย์ ผิดกันแต่อินทรีย์ของปัญจวิญญาณเป็นรูปธรรม ส่วนอินทรีย์ของมโนวิญญาณเป็นนามธรรม ปรัชญาโยคาจารได้ให้อรรถาธิบายไว้ว่า มนินทรีย์นี้ต่างกับมโนวิญญาณ กล่าวคือ มนินทรีย์ก็คือมโนธาตุ จัดเป็นวิญญาณที่ 7 มีสภาพเป็นอัพยากฤต ทำหน้าที่ยึดถืออาลยวิญญาณว่าเป็นตัวตน เป็นตัวอุปาทานที่เข้าไปยึดครองอาลยวิญญาณ อาลยวิญญาณเป็นสภาพที่มนินทรีย์หรือมโนเข้ายึดไว้ มนิทรีย์ไม่มีหน้าที่พิจารณารับรู้อารมณ์ภายนอก รับรู้คิดยึดแต่อารมณ์ภายในคืออาลยวิญญาณ แต่เนื่องด้วยเป็นตัวทำการยึดถืออาลยวิญญา จึงมีอิทธิพลมาก สามารถทำให้มโนวิญญาณมีความรู้สึกไปในทางกุศล และอกุศลได้ เพราะฉะนั้น แม้มนิทรีย์จะมีลักษณะเป็นอัพยากฤตก็นับเป็นอาสวะ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลิษฎมโนวิญญาณ
วิญญาณที่ 7 คือ กลิษฎมโนวิญญาณนี้ทำหน้าที่คิดพิจารณาอาลยวิญญาณว่า เป็นตัวตนเสมอสืบสันคติเนื่องกันไปไม่ขาดสายจนกว่าจะสิ้นภพชาติพ้นกิเลส มโนวิญญาณขาดตอนได้ด้วยเหตุ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น แต่กลิษฎมโนวิญญาณนี้จะขาดก็ต่อเมื่อบรรลุอรหัตผลหรือเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเท่านั้น
วิญญาณที่ 8 คืออาลยวิญญาณ ที่เรียกชื่อเช่นนั้น เพราะท่านว่าวิญญาณนี้เป็นสภาพที่กลิษฎมโนวิญญาณเข้าไปยึดครองแล้วเกิดอุปทานว่าเป็นตัวตนของตัว จึงมีความอาลัย เลิกถอนไปได้ยาก อาลยวิญญาณตรงกับภวังคจิตของเถรวาทนั้นเอง แต่ปรัชญาโยคาจารถือว่า วิญญาณนี้มีความสำคัญมาก คือ ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นอาลยวิญญาณและออกมาจากอาลยวิญญาณนี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาโยคาจาร จึงมีชี่อว่าวิชญานวาทหรือจิตนิยม
อาลยวิญญาณเป็นมูลฐานแห่งสิ่งทั้งปวง
ปรัชญาโยคาจารถือว่า อาลยวิญญาณเป็นมูลฐานแห่งสิ่งทั้งปวง ถ้าไร้อาลยวิญญาณนี้แล้ว สิ่งทั้งปวงก็ไม่มี เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเป็นเงาสะท้อนออกมาหรือเป็นพฤติภาพของอาลยวิญญาณ นั่นเอง นักปรัชญาโยคาจารยุคแรกมีท่านอสังคะและท่านวสุพันธุ์ เป็นต้น ถือว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเพียงความคิดของเรา สิ่งทั้งปวงอยู่ในจิตของเรา ครั้นมาถึงยุคหลังสมัยท่านธรรมปาละ ท่านเทิงนาคะได้สอนต่างออกไปหน่อย คือสอนว่า สิ่งที่ดำรงอยู่ภายนอกจิตก็มีเหมือนกัน แต่ทุกสิ่งมีมูลกำเนิดมาจากจิตหรืออาลยวิญญาณ
ที่ว่าทุกสิ่งมีมูลกำเนิดมาจากอาลยวิญญาณนั้น โยคาจารอธิบายว่าอาลยวิญญาณมีภาวะเป็นอัพยากฤต เกิดดับสืบเนื่องเป็นสันตติมาตั้งแต่กาลอันไม่ปรากฏ ภายในอาลยวิญญาณ ได้เก็บเอาพีชะหรือพืชแห่งรูปธรรม นามธรรมกุศล อกุศล สาสวะ และอนาสวะไว้ เมื่อประจวบกับปัจจัยอันสมควรให้ผลก็สำแดงพฤติภาพออกมา ปฏิจสมุปบาทของนิกายนี้ถือเอาพืชต่างชนิดเป็นเหตุส่วนวิสัยภายนอกเทียบด้วยปัจจัยมาเร่งเร้าให้เหตุนั้นสำแดงพฤติภาพออกมาแม้วิสัยภายนอกที่เป็นปัจจัยมาเร้าให้เหตุนั้นสำแดงพฤติภาพออกมาแม้วิสัยภายนอกที่เป็นปัจจัยมาเร้าก็คงเป็นของเกิดด้วยพืชในอาลยวิญญาณนั้นอีกชั้นหนึ่ง ต่างอาศัยซึ่งกันและกันดังนี้ วิญญาณ 7 ข้างต้นก็เป็นเพียงการิยะหรือผลของอาลยวิญญาณเท่านั้นเหมือนกัน
หน้าที่ของอาลยวิญญาณ ท่านนิยามความไว้สั้น ๆ ว่า “เก็บก่อ” เก็บคือเก็บเอาพืชของสิ่งทั้งปวงไว้ เช่นเดียวกับเมล็ดพันธุ์ผลไม้ย่อมเก็บเอาลำต้นกิ่งก้านสาขาตลอดจนผลไว้หมด รอการนำลงปลูกรดน้ำพรวนดินตลอดจนรอรับแสดงอาทิตย์เป็นปัจจัยเร่งเร้า ก็จักโตวันโตคืน แตกดอกออกผลโดยลำดับ ก่อคือก่อสร้างพฤติภาพต่าง ๆ ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้น เช่น โตเป็นลำต้น มีใบมีดอก
พีชะในอาลยวิญญาณ
ตามหลักปฏิจสมุปบาทถือว่า สิ่งที่เป็นเหตุย่อมมีผล หรือผลย่อมมาจากเหตุ นี้เป็นหลักธรรมของพุทธศาสนาโดยทั่วไป ปรัชญาโยคาจารสอนว่าผลทั้งหลายที่ปรากฏแก่เรา รวมทั้งตัวของเราด้วย หรือพูดให้กว้างขึ้นก็คือ สังสารวัฏนี้ย่อมมาจากเหตุของมัน เหตุที่ว่านี้แหละท่านเรียกว่า “พีชะ” (พีช) ซึ่งมีอยู่ในอาลยวิญญาณ และเนื่องจากสิ่งทั้งหลายในโลกมีผิดแผกแตกต่างออกไปตามสภาพ เช่นมีกุศลธรรม อกุศลธรรม สาสวธรรม นามธรรม รูปธรรม พีชะก็มีมากมายหลายประเภทนับประมาณไม่ได้ตามไปด้วย ท่านว่าเปรียบด้วยเม็ดฝนทีเดียว สิ่งสิ่งหนึ่งก็มีพีชะของตนหาเหมือนกันไม่ แต่สรุปแล้วคงแบ่งได้ 3 ชนิด คือกุศลพีชะ อกุศลพีชะ และอัพยากฤตพีช หรือเป็น 2 คือ สาสวพีชะกับอนาสวพีชะ พีชะเทียบได้กับพลังงานที่สามารถก่อให้เกิดผล ไม่ใช่มีรูปลักษณะเหมือนเช่นกับเมล็ดพืชของพันธุ์ไม้ พลังงานเหล่านี้เก็บอยู่ในอาลยวิญญาณ เช่นรูปวิสัยก็ต้องมีพีชะของรูปนั้นสำแดงพฤติภาพออกมาภายนอก แล้วกลับมาเป็นอารมณืแกจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณจะเกิดเป็นจักขุวิญญาณขึ้นได้ก็ต้องอาศัยพีชะของตน สำแดงพฤติภาพออกมา พร้อมด้วยปัจจัยมีแสงสว่างที่ว่าง ฯลฯ มาเร่งเร้าช่วยเหลือ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมา พีชะที่ให้เกิดรูปวิสัยภายนอกกับพืชที่ให้เกิดจักขุวิญญาณหาใช่พีชะอันเดียวกันไม่ ทั้งนี้ เพราะอย่างแรกเป็นรูปพีชะ อย่างหลังเป็นนามพีชะ แต่ทั้งสองก็คงมีในอาลยวิญญาณนั่นเอง ฉะนั้น ปรัชญาโยคางจารจึงถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีจิตเป็นปทัฎฐาน
พีชะของโสตะเป็นต้น ก็อาศัยหลักการเช่นนี้ กล่าวคือ พีชะของโสตก็ทำให้โสตะเป็นใหญ่ในการฟัง พีชะของฆานะก็ทำให้ฆานะเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น พีชะของชิวหาก็ทำให้ชิวหาเป็นใหญ่ในกาลิ้นรส อนึ่งพีชะของอาลยวิญญาณเล่าก็มีอยู่ในตัวอาลยวิญญาณนั่นเอง เรียกว่า อาลยพีช ซึ่งเป็นตัวเหตุส่วนอาลยวิญญาณเป็นตัวผล ทั้งอาลยวิญญาณและอาลยพีชะมีขึ้นเป็นขึ้นพร้อมเพรียงกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน ไม่มีพีชะของสิ่งใดที่จักอยู่โดดเดี่ยวนอกออกไปจากอาลยวิญญาณ ปรัชญาโยคาจารไม่ได้ปฏิเสธโลกแห่งวัตถุธาตุว่าไม่ได้มีอยู่ แต่กล่าวว่าโลกแห่งวัตถุนั้นเกิดมาจากพีชะหรือพลังงานที่อยู่ในจิตเท่านั้นเอง วัตถุก็คือการรวมตัวเข้าของพลังงาน พลังงานที่ว่านี้ท่านแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. พลังงานที่รวมตัวเข้าแล้วทำให้แข็งกระด้าง เรียกว่า ปฐวีพีชะ
2. พลังงานที่รวมตัวเข้าแล้วมีลักษณะเอิบอาบ เรียกว่า อาโปพีชะ
3. พลังงานที่รวมตัวเข้าแล้วมีลักษณะอบอุ่น เรียกว่า เตโชพีชะ
4. พลังงานที่รวมตัวเข้าแล้วมีลักษณะหวั่นไหว เรียกว่า วาโยพีชะ
ลักษณะของพีช
โยคาจารถือว่า พีชะก็เป็นขณิกะ คือเกิดดับเป็นขณะ ขณะต้นเป็นอนันตรปัจจัยแก่ขณะหลัง สืบสันตติกันเรื่อยไป ถ้าหากพีชะไม่เกิดดับมีสภาพเป็นอมตะ พีชะก็ไม่สามารถจะเจริญเติบโตเป็นกิ่งใบดอกเถาได้ ฉะนั้น พีชะต้องมีสภาพเกิดขึ้นดับไปเป็นขณะ ๆ ข้อนี้เราจะเห็นได้ชัดแจ้งว่า มูลเหตุของโลกตามทรรศนะของปรัชญาโยคาจารแตกต่างกับปรัชญาไวภาษิกะอย่างไรบ้างอนึ่ง พีชะนั้นจะต้องไม่สูญหาย เมื่อผลปรากฏขึ้นแล้วก็คงมีอยู่พร้อมกับผลของตนต่อไป เช่น เมล็ดพันธุ์ต้นไม้ที่เจริญงอกงามออกเป็นต้นแล้ว แม้เมล็ดพันธุ์นั้นเราแลไม่เห็น แต่พลังงานของเมล็ดนั้นยังคงอยู่กับกิ่งใบดอกเป็นต้นนั่นเองกล่างสั่น ๆ ก็คือ เมล็ดพันธุ์นั้นค่อย ๆ เจริญแปรเป็นต้นไม้ขึ้นมา พีชะแต่ละอย่างมีคุณภาพที่แน่นอน เช่น กุศลพีชะจะต้องมีคุณภาพผลิตผลเป็นกุศล จะยักย้ายให้มีผลเป็นอกุศลไม่ได้ เช่นเดียวกับการปลูกมะม่วงก็ต้องงอกเป็นต้นมะม่วง จะงอกเป็นต้นแตงโมไม่ได้ การเกิดปรากฏการณ์ของพีชะก็ต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ มาช่วยเร่งเร้า และปัจจัยเหล่านั้นก็ออกมาจากพีชะของตน ๆ อีกชั้นหนึ่ง ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน
พีชะมีมาอย่างไร
มีปัญหาว่า พีชะ ทั้งหลายมีมาอย่างไร คณาจารย์สำนักปรัชญาโยคาจารได้มีมติในเรื่องนี้แตกออกเป็น 3 พวก คือ
1. อาจารย์จักนทรปาละมีมติว่า พีชะทั้งหลายจะต้องมีมาแต่เดิมอย่างพร้อมมูลในอาลยวิญญาณ นับตั้งแต่กาลเบื้องต้นอันไม่ปรากฏ ไม่ใช่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลัง
2. อาจารย์นันทะมีมติว่า พีชะทั้งหลายจะมีพร้อมกับอาลยวิญญาณตั้งแต่กาลเบื้องต้นอันไม่ปรากฏหามิได้ แต่เกิดมีขั้นจากการอบรม เช่น การที่บุคคลหนึ่งได้มีโอกาสสดับธรรมแล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติจนได้บรรลุอริยภูมิ ในกรณีเช่นนี้ ต้องนับว่าอริยพีชะของเขาเกิดมาจากการอบรมภาวนาต่างหา ถ้ามีอริยพีชะอยู่แล้วในอาลยวิญญาณ บุคคลนี้นมิพักต้องสดับธรรมหรืออาศัยการอบรม อริยพีชะก็เจริญงอกงามโดยลำดับได้เอง
3. อาจารย์ธรรมปาละมีมติเป็นกลางว่า พีชะทั้งหลายที่มีอยู่เองแล้วนับแต่กาลเบื้องต้นอันไม่ปรากฏ และที่อบรมให้เกิดขึ้นใหม่ พีชะที่มีอยู่เดิมนั้นถ้าไม่ได้รับการอบรมก็จักไม่ปรากฏ ลำพังการอบรม หากไม่มีพีชะเดิมอยู่ก่อนก็จะไม่บรรลุผล ฉะนั้น จะแยกออกจากกันมิได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกันพีชะจึงมีทั้งที่มีอยู่เดิมและที่อบรมขึ้นมาใหม่
ปรากฏว่ามติของท่านธรรมปาละได้รับยกย่องกันว่าถูกต้องที่สุด การอบรมหมายถึงอาลยวิญญาณได้รับการอบรมพฤติกรรม แล้ววิญญาณ 7 ซึ่งมีอารมณ์เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต ก็ส่งผลเป็นพีชะเข้าไปเก็บไว้ในอาลยวิญญาณ เป็นพีชะฝ่ายนามธาตุบ้าง ฝ่ายรูปธาตุบ้าง ฝ่ายนามธาตุ เรียกว่า ทรรศนภาค ฝ่ายรูปธาตุ เรียกว่า ลักษณภาค ทรรศนภาคพีชสามารถสำแดง
พฤติภาพในการเสวยอารมณ์ ลักษณภาคพีชะสำแดงพฤติภาพออกมาเป็นวิสัยหรืออารมณ์ให้แก่ทรรศนภาคพีช การประกอบกรรมของเราทุกอย่างไม่สูญหาย ย่อมส่งผลสะท้อนเข้าไปเก็บไว้เป็นพีชในอาลยวิญญาณเสมอ ๆ จนกว่าเราจะหลุดพ้นสิ้นเชิง
ขอกล่าวเป็นอุปมาโวหารเพื่อสรุปในเรื่องนี้ว่า พีชเปรียบด้วยเมล็ดพันธุ์ อาลยวิญญาณเปรียบด้วยรากเหง้า กลิษฎมโนวิญญาณเปรียบด้วยลำต้นส่วนกิ่งก้านสาขาใหญ่น้อยเปรียบด้วยมโนวิญญาณและปัญจวิญญาณ
ทรรศนะเรื่องวิญญาณพัฒนาถึงขั้นภาวะสัมบูรณ์
เรื่อวิญญาณ 8 ตามที่กล่าวมานั้น บางทีท่านแบ่งเป็น 3 คืออาลยวิญญาณ กลิษฏมโนวิญญาณ (หรือมนัส) และประพฤติวิญญาณ (วิถีจิต 6 คือ ปัญจวิญญาณและมโนวิญญาณนั่นเอง)
นักปรัชญาโยคาจารบางท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้อาลยวิญญาณเป็นที่มาของวิญญาณทั้งหลายที่เหลือ แต่อาลยวิญญาณนี้หาใช่วิญญาณขั้นต้นหรือสูงสุดไม่ หากถือเป็นเพียงขั้นแรกของกระบวนการทางวิญญาณ ซึ่งเมื่อพัฒนาถึงขึ้นสูงสุดจะเป็นวิญญาณบริสุทธิ์ที่เรียกว่า วิชญัปติมาตรตา
การที่โยคาจารรับรองความมีอยู่ของวิชญัปติมาตรตานี้เอง ถือกันว่าโยคาจารก้าวขึ้นสู่ระบบปรัชญาจิตนิยมสัมบูรณ์ (Absolute Idealism)
ทรรศนะเรื่องตัวตน
โยคาจารถือว่า อัตตาหรือตัวเราเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง การหลงผิดสำคัญผิดว่า มีตัวเราของเรานั่นเองเป็นสาเหตุแห่งปวงทุกข์ เพราะเมื่ออัตตาไม่มีอยู่จริงเราถือได้อย่างไรว่า อัตตาเป็นผู้รู้ ผู้ทำกรรม และผู้เสวยผลกรรม ที่พระพุทธิเจ้าตรัสสอนเกี่ยวกับอัตตาไว้ในที่บางแห่งเป็นทำนองว่า มีอยู่จริงนั้น ก็เพื่ออนุโลมตามผู้ฟังที่เป็นสามัญชน เพื่อชักนำให้ประพฤติดีประพฤติชอบ ละเว้นความชั่วทำแต่ความดี แต่เมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ตามหลักอนัตตาแล้ว ไม่มีตัวเราของเรา การที่หลงยึดถือว่ามีตัวเราของเรานั้นเนื่องมาจากอวิชชา คือความรู้ผิด ๆ นั่นเอง
ท่านอสังคะและท่นวสุพันธุ์กล่าวไว้ชัดว่า อัตตาเท่านั้นไม่มีตัวจริงแต่อาลยวิญญาณมีอยู่จริง ๆ ท่านอสังคะเน้นว่า อัตตานั้นเป็นมายา คือจะว่าจริงก็ไม่ใช่ ไม่จริงก็ไม่ใช่ จริงและไม่จริงก็ไม่ใช่ ฉะนั้นความหลุดพ้นหรือวิมุติจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะดับมายาเท่านั้น
ทรรศนะเรื่องปัจจัย 4
โยคาจารถือว่า ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดผลต่าง ๆ นั้นมี 4 อย่างคือ
1. เหตุปัจจัย ได้แก่พีชะของธรรมหนึ่ง ๆ เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดธรรมนั้น ๆขึ้น
2. อนันตรปัจจัย ได้แก่จิต เจตสิก ที่เกิดดับสืบเนื่องเป็นขณะ คือขณะแรกดับ ขณะหลังเกิด ติดต่อกันเรื่อยไปไม่มีระหว่าง
3. อารัมมณปัจจัย ได้แก่ทรรศนภาคของจิต ถือเอาลักษณภาคของจิตเป็นอารมณ์
4. อธิปติปัจจัย ได้แก่ธรรมที่ส่งเสริมแก่กันและกันให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนสำเร็จ เช่น พีชะเป็นเหตุปัจจัยแก่ต้นไม้ ส่วนแสงแดด การรดน้ำ พรวนดิน และให้ปุ๋ย เป็นอธิปติปัจจัยแก่ต้นไม้นั้น
รูปธรรมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยและอธิปติปัจจัย ส่วนนามธรรม คือจิตและเจตสิก เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยทั้ง 4 อย่าง (ในอภิธรรมสายบาลี จำแนกปัจจัยไว้ถึง 24)
ทรรศนะเรื่องปฏิจสมุปบาท 12
โยคาจารจัดระเบียบปฏิจสมุปบาทออกเป็นเหตุและผลดังนี้ อวิชชาสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา อุปาทาน และภพเป็นเหตุ ชาติชรามรณะ เป็นผล และถือว่า กฏปฏิจสมุปบาทเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นจริงแน่นอน ซึ่งตรงกันข้ามกับทรรศนะของมาธยมิกะที่ถือว่า กฎนี้เป็นเครื่องหมายแห่งความไม่จริง
ความจริง ทั้งโยคาจารและมาธยมิกะก็ถูกด้วยกัน เพราะมองกันคนละแง่ กล่าวคือโยคาจารถือว่า สังขตธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกฎปฏิจสมุปบาทนั่นคือเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย ตั้งอยู่ก็เพราะอาศัยเหตุปัจจัย และดับไปก็เพราะอาศัยเหตุปัจจัย หรือกล่าวสั้น ๆ ว่า สังขตธรรมทั้งหลายอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น โยคาจารจึงตั้งเป็นกฎว่า สิ่งที่อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้นนั้น จะต้งอดับไปอย่างแน่นอนปฏิจสมุปบาทจึงเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นจริงดังกล่าว ส่วนมาธยมิกะถือว่าสิ่งใดก็ตามที่อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้นตามหลักปฏิจสมุปบาท สิ่งนั้นเป็นศูนย์ตา คือว่างจากความจริง ปฏิจสมุปบาทจึงเป็นเครื่องหมายแห่งความไม่จริง ด้วยประการฉะนี้
ทรรศนะเรื่องไตรสภาวะหรือสัจจะ 3 ประการ
ทฤษฎีไตรสภาวะหรือสัจจะ 3 ประการ นับว่าเป็นหลักการสำคัญยิ่งของปรัชญาโยคาจาร และเป็นปัญหาข้อโต้เถียงกันกับปรัชญามาธยมิกะอย่างรุนแรง สภาวะทั้ง 3 ที่ว่านี้คือ
1. ปริกัลปิตลักษณะ คือสภาวะที่หลงผิดยึดถือผิดในสิ่งทั้งหลายที่ปราศจากตัวตนว่าเป็นตัวตน ที่ไม่เที่ยงแท้ ที่ไม่มีอยู่จริงว่ามีอยู่จริง อุปมาดังบุคคลเดินไปในที่มืด เหยียบถูกเชือกเข้าสำคัญว่างู สภาวะที่สำคัญผิดคิดว่าเชือกเป็นงูนี้ เรียกว่า ปริกัลปิตลักษณะ ความรู้ที่บอกถึงลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ปริกัลปิตชญาน
2. ปรตันตรสภาวะ ได้แก่สังขตธรรมต่าง ๆ มีจิต เจตสิก รูป เป็นต้น ที่เกิดมาจากเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยนั้นคือ เหตุปัจจัย อนันตรปัจจัย อารัมมณปัจจัยและอธิปติปัจจัยนั้นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่สังขตธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยสิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง คือ พีชะทั้งหลายในอาลยวิญญาณ ความรู้ที่บอกลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ปรตันตรชญาน
3. ปริณิษปันนสภาวะ ได้แก่อสังขตธรรม คือนิพพาน และสภาพปรมัตถ์ของสิ่งทั้งหลาย คือสภาพของสังขตธรรมที่ต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสภาพของอสังขตธรมที่เป็นอนัตตาอย่างเดียว สภาพปรมัตถ์ 3 อย่างคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานี้ จัดเป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม กล่าวคือไม่มีใครก่อตั้งหรือมีสิ่งใดมาปรุงแต่ง ไม่อาจกลับกลายเปลี่ยนเป็นอื่นไปได้ เช่นสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นจะขืนให้ไม่เป็นทุกข์ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นจะเปลี่ยนเป็นแท้เที่ยงไม่ได้ สิ่งใดว่างเปล่าจากตัวตนคือไม่มีสัตว์ บุคคล จะขืนให้มีตัวตนขึ้นมาไม่ได้ สภาพปรมัตถ์นี้แหละชื่อว่า ปริณิษปันนสภาวะ และเรียกความรู้ที่เข้าถึงปรมัตถสัจจะนี้ว่า ปริณิษปันนชญาน
กล่าวโดยสรุป ปริณิษปันนสภาวะ ได้แก่สภาพธรรมที่เป็นไปตามหลักไตรลักษณ์คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา อย่างเที่ยงแท้แน่นอน
เทียบทรรศนะเรื่องไตรสภาวะของมาธยมิกะ
ได้กล่าวแล้วว่า ทฤษฎีเรื่องไตรสภาวะของโยคาจารนี้เป็นปัญหาข้อโต้เถียงกันกับปรัชญามาธยมิกะอย่างรุนแรง บัดนี้ขอนำทรรศนะของมาธยมิกะเรื่องนี้มาไว้ในที่นี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกันไป
ปรัชญามาธยมิกะนั้นถือว่า ปรตันตรสภาวะกับปริณิษปันนสภาวะเป็นเพียงสมมุติสัจจะ ไม่ใช่ปรมัตถสัจจะอย่างที่ปรัชญาโยคาจารเข้าใจ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ทั้งปริกัลปิดลักษณะ ปรตันตรสภาวะและปริณิษปันนสภาวะเป็นศูนยตาคือว่างจากความเป็นจริง
อาจารย์ภาววิเวกแห่งมาธยมิกะให้เหตุผลไว้ว่า “สังขตธรรมและอสังขตธรรมนั้นเป็นศูนยตา เพราะสังขตธรรมเกิดจากเหตุปัจจัย สิ่งใดเกิดจากเหตุปัจจัย สิ่งใดเกิดจากเหตุปัจจัย สิ่งนั้นเป็นมายา ส่วนอสังขตธรรมก็เป็นศูนยตา เพราะไม่มีการเกิดขึ้นสิ่งที่ไม่มีการเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าไม่มี เหมือนหนวดเต่า เขากระต่าง และดอกฟ้าซึ่งไม่มีอยู่จริง”
เหตุผลของอาจารย์ภาววิเวกนี้เมื่อจัดเรียงเป็นตรรกบทจะได้ดังนี้
ปฏิญญา : สังขตธรรมและอสังขตธรรมเป็นศูนยตา
เหตุ : เพราะเมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว สิ่งทั้งปวงไม่มี
อุทาหารณ์ : สังขตธรรมเป็นสภาพหลอกลวง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยเหมือนสิ่งมายาทั้งหลาย ส่วนอสังขตธรรมไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดชื่อว่าไม่มีทั้งการณะ (เหตุ) และการิยะ (ผล) เหมือนหนวดเต่า เขากระต่าย และดอกฟ้า
อุปนัย : สิ่งใดเกิดจากเหตุปัจจัย สิ่งนั้นไม่มีภาวะที่แน่แท้ในตัวเอง เป็นศูนยตา สิ่งใดไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด สิ่งนั้นเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง เป็นศูนยตา สังขตะมีเหตุปัจจัย อสังขตะไม่มีเหตุปัจจัย
นิคมน์ : เพราะฉะนั้น ทั้งสังขตะและอสังขตะจึงเป็นศูนย์ตา
ปรัชญาโยคาจารโต้ว่าปริกัลปิตลักษณะจัดว่าเป็นศูนยตาได้ เพราะเมื่อพิจารณาตามความจริงแล้ว เป็นของไม่มีอยู่เลย เราตกตะลึงเห็นไปเองด้วยอำนาจความเขลาว่า มีตัวตน สัตว์ บุคคล เช่นเดียวกับเห็นเชือก เข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูแต่ปรตันตรสภาวะและปริณิษปันนสภาวะ จะพลอยเป็นศูนย์ตาด้วยไม่ได้ ปรตันตรสภาวะกับปริณิษปันนสภาวะอาศัยกันอยู่ ไม่ใช่เป็นหนึ่งและก็ไม่ใช่เป็นสองปรตันตรสภาวะมีอยู่โยปรมัตถ์ แต่เป็นการมีอยู่อย่างสังขตะคือเกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิดสืบสันตติ มีอยู่โยปัจจัยเกื้อหนุน ถ้าจะจัดให้เป็นศูนยตาก็เพราะเหตุที่เกิดขึ้นเองไม่ได้ คือสูญจากการเกิดขึ้นได้เองเท่านั้น แต่ตัวสภาวะจะพลอยสูญด้วยหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะถ้าตัวปรตันตรสภาวะพลอยสูญเหนือไม่มีอยู่จริงด้วย ก็ชื่อว่าไม่มีปทัฏฐานอะไรที่จะให้เกิดปริกัลปิตลักษณะขึ้นได้เลย เช่นการที่จะเกิดความเข้าใจผิดว่างูนั้น จำต้องมีเชือกเป็นวัตถุรองรับสภาพหลงผิดว่างูนั้นอยู่ หากไม่มีเชือกแล้ว ความเข้าใจผิดว่างูจะไม่เกิดขึ้นเลย เช่นเดียวกับการที่เราสมมุติบัญญัติสัตว์บุคคลขึ้น ก็จำต้องมีปัญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นฐานรองรับบัญญัติ ถ้าไม่มีสภาพใด ๆ รองรับสมมุติปัญญัติเลยการสมมุติบัญญัติก็ไร้ความหมาย อนึ่งถ้าฝ่ายมาธยมิกะถือว่า ปรตันตรสภาวะไม่มีอยู่จริง ก็เป็นการลบล้างกฎแห่งกรรมของพระพุทธองค์ด้วย ทั้งนี้ตามความจริงปรากฏแก่เราว่า ถ้าปราศจากสภาวะที่แน่นอนในตัวของมันเอง เช่นกุศลสภาวะอกุศลสภาวะแล้วไซร้ ความเห็นนั้นนับเป็นอุจเฉกทิฐิ แม้ตามปรากฏการณ์ธรรมดาที่เราเห็นอยู่ เช่นปลูกถั่วก็ออกผลเป็นถั่ว ปลูกมะพร้าวย่อมออกผลเป็นมะพร้าว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นอยู่ชัดแจ้งว่า ถั่วต้องมีสภาวะแน่นอนคือความเป็นถั่วในตัวของมันเอง มะพร้าวก็ต้องมีสภาวะแน่นอน คือความเป็นมะพร้าวในตัวของมัน เมื่อเพาะปลูกลงไปแล้ว ก็ได้อาศัยปัจจัยส่งเสริม ก็งอกงามเติบโตขึ้นมาถ้าไม่มีสภาวะในตัวของมันเองแน่แล้ว ปลูกถั่วก็อาจงอกผลออกเป็นมะพร้าวปลูกมะพร้าวก็อาจงอกผลออกเป็นถั่ว ฉะนั้นตามความจริง ปรตันตรสภาวะต้องมีอยู่ ไม่ใช่สูญ แต่เป็นการมีอยู่ชนิดที่ไม่คงทน อาศัยปัจจัยดำรงอยู่
โยคาจารกล่าวต่อไปว่า ความฝันซึ่งเป็นของไร้ความจริงนั้น ก็ยังต้องอาศัยจิตของผู้ฝันเป็นปทัฏฐาน กลมายาทั้งหลายหาใช่ว่าอยู่ ๆ จะมีผุดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ แต่จำต้องอาศัยผู้แสดงด้วย ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างสูญอย่างมติของมาธยิกะแล้ว มายาเหล่านั้นจะมีขึ้นมาได้อย่างไรเล่า
อนึ่ง มาธยมิกะถือว่านิพพานก็สูญดุจดอกฟ้า เพราะไม่มีการเกิดขึ้นนั้นโยคาจารโต้ว่าหามิได้ นิพพานที่ชื่อว่าสูญนั้น เพราะสูญจากตัวตน บุคคล สัตว์ และปวงกิเลสต่างหาก นิพพานมีอยู่จริง เป็นอารมณ์แห่งมรรคจิตผลจิต เมื่อบุคคลรู้แจ้งในปริกัลปิตลักษณะว่า เป็นความเท็จ ปราศจากแก่นสาร และรู้แจ้งในปรตันตรสภาวะตามเป็นจริงด้วยถาภูตญานทัศนะแทงทะลุในไตรลักษณ์คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว นิพพานก็จักปรากฏแก่เขาผู้นั้น ถ้านิพพานสูญดุจดอกฟ้า หนวดเต่า เขากระต่าย ดังเช่นความเห็นของฝ่ายมาธยมิกะแล้ว การละกิเลสก็เป็นโมฆะ การบำเพ็ญมรรคภาวนาก็เป็นโมฆะ ไม่มีพระพุทธเจ้า และพระสาวก
ในโยคาจารภูมิศาสตร์ได้ประณามความเห็ฯของมาธยมิกะไว้อย่างรุนแรงว่าเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นอุจเฉทวาท นัตถิกวาท เช่นข้อความตอนหนึ่ง ว่าดังนี้
“มีบุคคลจำพวกหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ ที่เกิดทิฐิวิปลาสถึงข้างนัตถิถะเกิดทัศนะอย่างนี้ขึ้น ตั้งหลักศาสตร์อย่างนี้ขึ้นว่า สิ่งทั้งปวงเป็นมายาหมดผู้ใดมีทัศนะเช่นนี้จึงเรียกว่าผู้มีสัมมาทัศนะ บุคคลเหล่านี้ได้คัดค้านสภาวธรรมที่รองรับสมมุติบัญญัติ ปฏิเสธสภาวธรรมที่รองรับความเป็นมายาว่าไม่มีอยู่จริง ซึ่งถ้าเป็นจริงดังนั้น ความเห็นที่ว่าทุกสิ่งเป็นมายาก็ควรเป็นของไม่มีไปด้วย จะมีความจริงที่ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นมายานี้ได้อย่างไร ด้วยเหตุผลดังนี้บุคคลพวกนี้ชื่อว่าได้คัดค้านความจริงและความเป็นมายาว่า ไม่มีอยู่ ชื่อว่าเป็นพวกอตินัตถิกบุคคลอันบัณฑิตผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ควรพูดจาด้วยไม่ควรอาศัยร่วมกัน พวกอตินัตถิกบุคคลเหล่านี้ชื่อว่าได้ทำลายตนเอง และทำลายผู้อื่นที่เชื่อถือตามในโลกแล้ว”
แม้โยคาจารได้โต้แย้งอย่างรุนแรงเช่นนี้ก็ตาม มาธยมิกะก็ยังคงถือหลักว่า สิ่งที่เป็นอยู่โดยตัวมันเองจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นช่วยสิ่งที่อาศัยปัจจัยหาใช่สิ่งที่เป็นอยู่โดยตัวมันเองไม่ อนึ่ง ถ้ามีสิ่งที่มีอยู่โดยตัวมันเองแน่นอนแล้ว การบรรลุมรรคผลก็ไม่ควรมีเช่นกัน
อาจารย์ฝ่ายมาธยมิกะกล่าวว่า โยคาจารเป็นสัสสตทิฐิเข้าใจพระพุทธวจนะไม่ลึกซึ้งเพียงพอ แม้พระพุทธองค์จะทรงเทศนาหลักในสันธินิรโมจนสูตรหรือสูตรอื่น ๆ ก็จริง แต่ที่จริงแล้ว สูตรว่าด้วยไตรสภาวะเหล่านั้นเป็นเพียงปริยายธรรม เป็นเพียงอุบายเท่านั้น ยังหาใช่ความจริงแท้ขึ้นอันติมะไม่ ตราบใดที่อาจารย์ฝ่ายโยคาจารยังถือว่ามีปรตันตระและปริณิษปันนะอันพึงบรรลุถึงอยู่ตราบนั้นก็ชื่อว่ายังมีอุปาทาน
อาจารย์ฝ่ายโยคาจารโต้ตอบข้ากล่าวหาของฝ่ายมาธยมิกะว่า “ปรตันตรสภาวะนั้นมีของมันอยู่อย่างนั้น ฉันไม่ได้ยึดถือนี่ ถ้าบุคคลใดไม่มีอุปาทานขึ้นในปรตันตระ เช่นไม่ยึดถือว่าอาลยวิญญาณเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง ก็ผิดหลักการของเรา”
สรุปว่า ปรัชญาโยคาจารรับรองเรื่องศูนยตาเหมือนกัน แต่ตีความผิดจากปรัชญามาธยมิกะ คือความยึดถือที่ว่ามีสัตว์ บุคคล หรือความยึดถือที่ว่ามีสภาวธรรมที่ไม่ต้องอาศัยจิตเลยมีอยู่ จัดว่าเป็นปริกัลปิตลักษณะ อย่างนี้สูญอย่างแท้จริง ส่วนสภาวธรรมขั้นปรมัตถ์ที่รองรับบัญญัติ มีจิต เจตสิก รูปเป็นต้น เป็นสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ ไม่ใช่เกิดลอย ๆ ขึ้นเอง ชื่อว่าสูญได้ คือสูญจากการเกิดขึ้นอย่างลอย ๆ แต่ไม่สูญจากการที่เกิดด้วยเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นจึงมีอยู่จริง แต่มีอยู่อย่างไม่เที่ยงคือเกิดดังทุกขณะ ไม่มีตัวตน ชื่อว่าปรตันตรสภาวะส่วนภาวะที่ไร้ทุกข์ ไร้กิเลส กล่าวคือ นิพพานอันเที่ยง อันผู้บำเพ็ญมรรคภาวนาถึงที่สุดก็จักไม่เที่ยง ความเที่ยงที่จักต้องเป็นทุกข์ และความเที่ยงที่ไร้ตัวตนสัตว์ บุคคล สภาวะนี้เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ภูตตถาตา อันครอบงำทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม (นิพพานเที่ยงที่ไม่มีตัวตน เที่ยงที่ไม่เป็นทุกข์ และเที่ยงที่จักไม่วิปริตแปรปรวน) ปริณิษปันนสภาวะก็มีอยู่จริง คือมีอยู่อย่างไม่แปรผันเป็นสภาพการณะอันแท้จริงของปรตันตระ ไม่เป็นหนึ่งและก็ไม่เป็นสอง ทั้งนี้เพราะหากเป็นหนึ่ง ปรตันตระ ก็จะกลายเป็นอสังขตธรรมไป ที่ไม่เป็นองดังตัวอย่างเช่นอนิจลักษณะจะแยกไปมีอยู่โดดเดี่ยว ต่างหากจากอนิจสภาวะไม่ได้ฉะนั้น ปริณิษปันนะจึงชื่อว่าศูนยตาก็ได้ คือสูญจากปริกัลปิตลักษณะ สูญจากความหลงผิด สูญจากปวงกิเลส
หลังอภิปรัชญาของโยคาจารยังมีอีกมาก เพราะเป็นสำนักปรัชญาฝ่ายอภิธรรม เช่นเดียวกับสำนักปรัชญาไวภาษิกะ หลักอภิธรรมของโยคาจารเต็มไปด้วยตรรกบทและศัพท์ทางวิชาการที่เข้าใจยาก เช่นเดียวกับหลักอภิธรรมในอภิธรรมปิฏกสายบาลี แต่เนื่องจากจุดประสงค์ในที่นี้ต้องการเพียงให้ทราบโดยสังเขปว่า ปรัชญานี้มีแนวความคิดทางปรัชญาหนักไปทางใด มิได้มุ่งอธิบายหลักปรัชญาละเอียด จึงขอยุติหลักอภิปรัชญานี้ไว้แค่นี้ก่อน
จริยศาสตร์
วัฎจักรกับการบำเพ็ญธรรม
พุทธศาสนาทุกนิกายเห็นตรงกันว่า มีการเวียนว่าตาย-เกิดในวัฏสงสารที่เรียกว่า วัฏจักรแห่งชีวิต คนหนึ่ง ๆ อาจเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน การบำเพ็ญธรรมนพระศาสนานี้ ก็เพื่อยุติการเกิดหรือทำลายวัฏจักรแห่งชีวิตนั้นเอง
ท่านอสังคะกล่าวไว้ว่า การทำลายวัฏจักรนั้นจะทำได้โยอบรมให้มีความรู้ชอบและประกอบแต่กรรมดี จนสามารถเข้าถึงวิมุติได้ในที่สุด ท่านแนะวิธีปฏิบัติไว้เป็นขั้น ๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ต้องรู้ตระหนักว่า วัตถุภายนอกเป็นอารมณ์ของจิตเท่านั้น หามีอยู่จริง ๆ ไม่ สิ่งที่มีอยู่จริง ๆ ก็คือ จิต
ขั้นที่ 2 ต้องรู้ตระหนักว่า จิตแต่ละดวงเป็นเพียงจินตนาการกับอารมณ์ของมัน เมื่อตัดทวิภาพระหว่างจิตกับอารมณ์ออกไปได้แล้ว เขาก็จะก้าวขึ้นสู่การรู้แจ้งภาวะสัมบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเอกภาพอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งหลาย เป็นความจริงแท้ขั้นอันติมะ สามารถขจัดข้อบกพร่องของปัญญาขั้นเหตุผลให้หมดไปได้ เปรียบเหมือนยาที่มีกำลังแรงกล้า สามารถขจัดยาของพิษออกไปได้ ฉะนั้น
เมื่อพระโพธิสัตว์ได้เข้าถึงความจริงขั้นสูงสุดนี้แล้ว ก็บรรลุญาณที่ 4 และเสวยสุขอยู่เรื่อยไป แต่ในขณะเดียวกัน ท่านก็มีคุณสมบัติพร้อมจะทำงานเพ่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฆสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิด
ท่านอสังคะกล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า “อันภาชนะใส่น้ำเมื่อแตกแล้ว แสงสะท้อนจะดวงจันทร์ในน้ำแห่งภาชนะนั้นย่อมไม่ผ่องใส ฉันใด บุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์ ก็ย่อมไม่เห็นแจ้งทุกสภาวะ ฉันนั้น เมื่อบุคคลรู้แจ้งเห็นจริงว่า อัตตาและธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่จริง และเห็นแจ้งซึ่งสัจธรรมอันเป็นเอกดังนี้แล้วเขาจะรู้แจ้งอาลยวิญญาณ”
ปัญจโคตร
ปรัชญาโยคาจารได้แบ่งสภาพของสัตว์ทั้งปวงออกเป็น 5 โคตร เรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า ปัญจโคตร จัดเป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือ มีอยู่ตามธรรมชาตินับแต่กาลอันกำหนดไม่ได้ ปัญจโคตร คือ
1. สาวกโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีสาวกพีชะอยู่ จึงสามารถบรรลุสาวกภูมิหรืออรหัตภูมิได้เป็นอย่างสูง
2. ปัจเจโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีปัจเจกพีชะอยู่ จึงสามารถบรรลุได้เฉพาะปัจเจกภูมิเท่านั้น
ทั้ง 2 พวกนี้ละกิเลสาวรณะได้ยังละธรรมาวรณะไม่ได้
3. ฑพธิสัตวโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีโพธิสัวพีชหรืออนุตรสัมโพธิพีชะสามารถบรรลุถึงโพธิสัตวภูมิ และพุทธภูมิ ละพุทธภูมิ ละกิลสาวรณะและธรรมาวรณะได้เด็ดขาด
4. อนิยตโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีทั้งสาวกพีชะ ปัจเจกพีช และโพธิสัตว์พีชะสามารถบรรลุสาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ และสัมมาสัมพุทธภูมิได้ สุดแล้วแต่ประณิธาน
5. อิจฉันติกโคตร ได้แก่สัตว์ผู้ไม่มีอนาสวพีชะ 3 แห่งภูมิ 3 (สาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ โพธิสัตวภูมิ) เลย จึงไม่อาจละกิเลสาวรณะ และธรรมาวรณะได้และไม่สามารถบรรลุโลกุตรภูมิได้เลย บรรลุได้แต่โลกิยสมมุติ เช่น มนุษย์สวรรค์ เท่านั้น
ทศภูมิของพระโพธิสัตว์
ผู้ปรารถนาจะบรรลุโพธิสัตวภูมิและพุทธภูมิ จะต้องบำเพ็ญบารมี 6 ประการ หรือ 10 ประการ และต้องดำเนินตามทศภูมิของพระโพธิสัตว์ดังนี้
1. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม มีความยินดีในการกำจัดทุกข์ของสรรพสัตว์ คือบำเพ็ญหนักในทานบารมี
2. วิมลาภูมิ พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้ขาด ประพฤติแต่สัมมาจริยาคือบำเพ็ญหนักในศีลบารมี
3. ประภาการีภูมิ พระโพธิสัตว์ต้องมีความอดกลั้นทุกประการ คือ บำเพ็ญหนักในขันติบารมี
4. อรรถจีสมดีภูมิ พระโพธิสัตว์ต้องมีความเพียรกล้าในการบำเพ็ญคุณธรรม เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ คือ ต้องบำเพ็ญหนักในเรื่องของวิริยบารมี
5. ทุรชยาภูมิ พระโพธิสัตว์ละขาดซึ่งภาวะแห่งยาน 2 ( สาวกยานและปัจเจกยาน ) ซึ่งเป็นธรรมาวรณะต่อพุทธภูมิ คือ บำเพ็ญหนักในสมาธิบารมี
6. อภิมุขีภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี รู้ชัดในปฏิจจสมุปบาท
7. ทูรังคมาภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในเรื่องอุปายบารมี
8. อจลภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในประณิธานบารมี
9. สาธุมดีภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในพลบารมี
10. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมี มีอิสระไม่ผูกติดในสิ่งทั้งปวง ดุจเมฆลอยซึ่งลอยละล่องอยู่ท่ามกลางนภากาศอย่างเสรี
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในกาลทั้ง 3
โยคาจารได้จัดระเบียบการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ออกเป็น 3 กาล คือ
1. ปฐมกาล พระพุทธองค์ทรงเทศนาอัสติธรรม คือ เทศนาอริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 คือ ทรงแสดงหลักธรรมฝ่ายสาวกยาน
2. มัชฌิมกาล พระพุทธองค์ทรงเทศนาศูนยตาธรรม คือ เทศนาคติ ศูนยตาตามนัยมาธยิกะแก่สาวกฝ่ายมหายาน
3. ปัจฉิมกาล พระพุทธองค์ทรงเทศนาหลักธรรมขั้นอันติมะที่แท้จริง คือ ทรงเทศนาหลักธรรมในฝ่ายโยคาจาร ซึ่งเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ติดทั้งอัตถิตาและนัตถิตา คือ ไม่ติดทั้งในความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ฉะนั้น ปรัชญาโยคาจารจึงสูงกว่าปรัชญามาธยมิกะ นี้เป็นวาทะของฝ่ายโยคาจาร
พุทธปรัชญาสำนักเสาตรานติกะ
ใจความสำคัญของสำนักนี้ คือ การยอมรับความจริงแท้ 2 อย่าง ได้แก่ ความจริงแท้ของวัตถุ หรือรูปธรรม กับความจริงแท้ของจิต หรือนามธรรม เช่นเดียวกับไวภาษิกะ จึงจัดเป็นปรัชญาสัจนิยมเหมือนกัน แต่ต่างจากสำนักไวภาษิกะในทางญาณวิทยา กล่าวคือ ไวภาษิกะถือว่า ความแท้จริงของวัตถุหรือความแท้จริงภายนอก สามมารถรู้ได้ด้วยประจักษประมาณ ความแท้จริงของจิตหรือความแท้จริงภายใน รู้ได้ด้วยอนุมานประมาณ หรือประจักษประมาณพิเศษ แต่สำนักเสาตรานติกะ เห็นว่า ความแท้จริงทั้ง 2 ประการนี้ รู้ได้ด้วยอนุมานประมาณเท่านั้น ความแท้จริงภายนอกที่ปรากฏทางประสาทสัมผัสซึ่งไวภาษิกะถือว่า เป็นความจริงแท้ตามความเป็นจริงนั้น เสาตรานติกะ ค้านว่า ที่ปรากฏนั้น เป็นเพียงภาพปรากฏของความแท้จริงที่ไม่ปรากฏ ถ้าจะให้รู้ความแท้จริง
แท้ ๆ ก็ต้องอนุมานเอาจากภาพที่ปรากฏไปหาความแท้จริงที่อยู่เบื้องหลังของภาพที่ปรากฏนั้น พูดถึงการเน้นหนักของสำนักทั้ง2 นี้ ก็ต่างกัน คือ สำนักไวภาษิกะเน้นหนักในด้านความจริงภายนอก ส่วนสำนักเสาตรานติกะเน้นหนักในเรื่องความจริงภายใน และยอมรับหลักปฏิจสมุปบาทเช่นเดียวกับไวภาษิกะ ด้วยเหตุที่ถือว่าความจริงทั้ง 2 อย่างดังกล่าวนี้ สำนักเสาตรานติกะจึงเป็นปรัชญาพวกสัจนิยมดังกล่าวข้างต้น
วรรณกรรมที่สำคัญ
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสำนักปรัชญาต่าง ๆ นั้น ย่อมตั้งขึ้นจากวรรณกรรม ซึ่งอาจเป็นคัมภีร์เดิม หรือคัมภีร์อรรถกถาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญหรือคัมภีร์หลักของสำนักนั้น ๆ เช่น คัมภีร์สำคัญของสำนักไวภาษิกะ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในสำนักเสาตรานติกะนี้ ไม่มีวรรณกรรมใดปรากฏเป็นหบลักฐานว่าเป็นทีมาโดยตรองของสำนักปรัชญานี้ หรืออาจจะมีแต่ผู้ศึกษาค้นคว้าในปัจจุบันยังไม่พบก็ได้ คัมภีร์ พอจะถือได้ว่าเป็นที่มาของปรัชญานี้ล้วนเป็นคัมภีร์ของสำนักอื่น ๆ ที่กล่าวท้วงติงหรือพาดพิงถึงสำนักนี้เท่านั้น เช่นคัมภีร์สรรพสิทธานตสงเคราะห์ (สรวสิทธานตสงครห) ของท่านสังกราจารย์ คัมภีร์สรรพทรรศนสงเคาะห์ (สรวทรศนสงครห) ของท่านมัธวาจารย์ คัมภีร์สิวัชญานสิทธิยาร ของท่านอรุณันทีศิวาจารย์ (แต่งเป็นภาษาทมิฬ ว่าด้วยปรัชญาไศวะในราวพุทธศตวรรษที่ 18) คัมภีร์สททรรศนสมุจัย ของท่านหริภัทร คัมภีร์อไทวตพรหมสิทธิ ของท่านกาษทีรกะ สทานันทะ ยติ
ไม่มีวรรณกรรมที่ปรากฏเป็นของตนเองก็ตาม ก็หาใช่ว่าพุทธปรัชญาสำนักนี้จะไม่มีชื่อเสียงหรือไม่สำคัญแต่อย่างใด เราทราบจากหลักฐานหลายแห่งว่า มีนิการย่อยของพุทธศาสนาฝ่ายหินยานมีถึง 8 นิกาย ได้เข้ามารวมอยู่ในสำนักปรัชญานี้ คือ นิกายปูรวไศละ อปรไศละ ไหมวตะ โลกุตตรวาทิน ปรัชญัปติวาทิน มหาวิหาร เชตวนียะ และอภยคิริวาสิน
ผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา
ปัญหาว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาเสาตราติกะ เป็นปัญหาที่ยังค้นคว้ากันอยู่ นักปราชญ์ทั้งหลายยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าเป็นผู้ใด เพราะไม่มีวรรณกรรมของตนเองตกมาถึงเราในบัดนี้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หลวงจีนเหี้ยนจังหรือถังซำจัง ผู้ไปสืบพระศาสนาในอินเดียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้บันทึกไว้ว่าผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญานี้ ชื่อ ท่านกุมารลาตะ แห่งตักศิลา ซึ่งเชื่อกันว่า ท่านมีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ หรือที่ ๘ เป็นคนร่วมสมัยกับ ท่านนาครชุน ท่านอารยเทพ และท่านอื่นๆ และเชื่อกันว่าท่านผู้นี้ได้รจนาคัมภีร์ให้สำนักเสาตรานติกะหลายเล่ม แต่ไม่เหลือมาถึงบัดนี้สักเล่มเดียว
บางท่านเชื่อว่า คัมภีร์กัลปนามัณฑ-ฎีกา ซึ่งศาสตราจารย์ลูเดอรส์ ( H. Luders ) เป็นผู้พบนั้น ท่านกุมารลาตะเป็นผู้รจนาเหมือนกัน
ท่านศรีลาภะ ผู้เป็นสานุศิษย์ของท่านกุมารลาตะ ได้รจนาคัมภีร์ให้เสาตรานติกะเล่มหนึ่งชื่อ วิภาษาศาสตร์ ซึ่งก็ไม่มีเหลือมาถึงเราเหมือนกัน
ท่านยโศมิตร ก็เป็นผู้สังกัดในสำนักเสาตรานติกะเหมือนกัน ท่านได้วิจารณ์คัมภีร์อภิธรรมโกศะ ไว้ในคัมภีร์อรรถกถาของท่านชื่อ ศผุฏารถา จึงนับเป็นวรรณกรรมที่ชี้บอกแนวคิดของสำนักปรัชญานี้ได้บ้าง คัมภีร์นี้มีผู้นำไปตีพิมพ์ที่เลนินกราด และที่ญี่ปุ่น
บรรณานุกรม
ธนู แก้วโอภาส . ปรัชญา-ศาสนา ตะวันออก . กรุงเทพ ฯ : สากลการศึกษา , มปป
อดิศักดิ์ ทองบุญ . ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ ฯ , 2524
พุทธปรัชญาคืออะไร
ขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า คำว่าปรัชญาคืออะไร เพื่อจะได้สงเคราะห์พุทธศาสนาลงเป็นพุทธปรัชญาให้ชัดเจนได้ยิ่งขึ้นดังนี้
กล่าวโดยสรุป “ปรัชญาคือการแสวงหาความจริงอันอันติมะเกี่ยวกับมนุษย์และโลกหรือสากลจักรวาล ภายนอกตัวมนุษย์ด้วยการใช้เหตุผล”
เมื่อเข้าใจว่า ปรัชญาคืออะไรแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคำถามว่า “พุทธปรัชญาคืออะไร” คำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ “พุทธปรัชญาได้แก่ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา “นิยามความหมายนี้ทำให้มองเห็นขอบเขตของพุทธปรัชญาว่าจำกัดอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่รวมไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เว้นเสียแต่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จะเกี่ยวโยงกับศาสนธรรม จึงจะศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลเชิงปรัชญาด้วยเท่านั้น
๑ ลักษณะของพุทธปรัชญา
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงแสดงหลักธรรมให้เห็นถึงความเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล หลักจริยธรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงวางหลักง่าย ๆ ของการดำเนินชีวิตเอาไว้ ซึ่งพอจะประมวลลักษณะเด่น ๆ ของพุทธปรัชญาได้ดังนี้
หลีกเลี่ยงที่จะโต้แย้งทางปรัชญา เช่นปัญหาทางอภิปรัชญาที่เรียกว่า อัพยากตปัญหา เป็นต้น
มีจุดเริ่มต้นแบบทุนิยม (ทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น) และจบลงที่สุนิยม
มีลักษณะเป็นสัจจนิยมฯ กรรม คือ การกระทำด้วยตนเอง
เป็นแบบปฏิบัตินิยม คืออรัยสัจ ๔
๒ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้า
มรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
กฎสากลในธรรมชาติ
พุทธปรัชญาปฏิเสธแนวคิดของปรัชญาอินเดียระบบเก่า คือ ประกาศิตของพระเจ้าในพระเวท แม้ในพุทธศาสนาก็ให้ใช้หลักกาลามสูตร,ปฏิเสธการสร้างโลกของพระพรหม สรรพสิ่งเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท,ไม่เห็นด้วยกับการอาบน้ำล้างบาปและยัญพลีกรรม,ไม่ยอมรับระบบวรรณะคนจะดีชั่วเพราะกรรม มิใช่ชาติตระกูล ไม่ยอมรับทางสุดโด่งทั้งสองส่วน ทรงแสดงทางสายกลาง
๓ ไตรลักษณ์
ทรงแสดงว่า สรรพสิ่ง ย่อมมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามหลักแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และมิใช่ตัวตนเสมอกัน ไม่มียกเว้น
๔ อริยสัจ ๔
ทรงแสดงว่าปัญหาทุกข์ของชีวิตทุกอย่างเกิดจากสาเหตุคือความอยาก (ตัณหา) ด้วยประการต่าง ๆ แล้วทรงแสดงว่า ความดับสนิทแห่งความทุกข์ทั้งมวล (นิโรธ) ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ ๘ ประการ
๕ ปฏิจจสมุปบาท หรือทฤษฎีสาเหตุสัมพันธ์
ว่า การเกิดกับดับของสิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามหลักปัจจยาการคือเหตุปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นแบบลูกโซ่ ในลักษณะเป็นวงจรหาเบื้องต้นและเบื้องปลายหรือที่สุดไม่พบ ผลที่เกิดจากสาเหตุอันหนึ่ง ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งอื่นอีกต่อไป เรื่อยไป ไม่มีสิ้นสุด
๖. กฎแห่งกรรม ทรงแสดงว่า
กรรมคือการกระทำของมนุษย์มีแรงผลักดันมาจากกิเลสเป็นเหตุแล้วให้เกิดผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น แล้วผลก็จะกลายเป็นเหตุให้ทำกรรมต่อไปอีก จนกว่าจะตัดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งการทำกรรมได้ วงจรแห่งกฎแห่งกรรมก็จะสิ้นสุดลง เข้าสู่ความสิ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร คือ พระนิพพาน หรือ เข้าสู่อรหันตภูมิ การกระทำจึงจะเป็นแต่เพียงกิริยาไม่มีผล (วิบาก) ที่เป็นทุกข์อีกต่อไป
๗.อนัตตา
จากการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักแห่งปัจจยาการ จึงไม่มีอะไรเป็นตัวตนที่แท้จริงที่จะยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวเราของเรา เป็นตัวเขาของเขา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ตนปรารถนาได้ จึงไร้ตัวตน ไม่มีอาตมัน และวิญญาณอมตะดังนี้ลัทธิเทวนิยมทั่วไปเชื่อถือกันอยู่
แสดงความแตกต่างและความเหมือนระหว่างพุทธศาสนากับพุทธปรัชญา
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ปรัชญา (Philosophy) ที่แปลว่าความรักในความรู้กับศาสนานั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในลำดับแห่งวิวัฒนาการที่ผ่านมาบรรดาวิชาทั้งปวง ปรัชญาเป็นวิชาแรกที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ต่อมาก็คือศาสนา หากกล่าวเฉพาะพุทธศาสนากับพุทธปรัชญา ก็จะได้ลักษณะเฉพาะว่า พุทธปรัชญามีลักษณะเป็นคำถามส่วนพุทธศาสนามีลักษณะเป็นคำตอบ มีบ่อเกิดมาจากแหล่งเดียวกันคือจิตใจของมนุษย์ ดังนั้น จึงอาจกล่าวสรุปได้ว่า
พุทธปรัชญามีฐานะเป็นทฤษฎี พุทธศาสนาเป็นภาคปฏิบัติ
พุทธปรัชญาเป็นความคิด พุทธศาสนาเป็นการกระทำ
พุทธปรัชญาเกิดจากความสงสัย พุทธศาสนาเป็นการตอบสนองความสงสัยและเป็นคำตอบที่ตอบแล้ว
ปรัชญาทุกระบบ โดยเฉพาะปรัชญาตะวันออกซึ่งรวมทั้งพุทธปรัชญาด้วย มุ่งแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต เช่นเดียวกับปรัชญาตะวันตก แต่มีข้อแตกต่างกันคือ ปรัชญาตะวันตกมุ่งแสวงหาความจริงหรือข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว โดยไม่พยายามที่จะปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงความจริงที่ได้แสวงหาพบแล้ว เพราะฉะนั้น นักปรัชญาตะวันตกอาจดำเนินชีวิตไปในทางตรงกันข้ามกับแนวความคิดทางปรัชญาของตนก็ได้ อีกอย่างหนึ่ง ปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับศาสนา คือแยกออกเป็นคนละส่วนกับศาสนา ส่วนปรัชญาตะวันออกไม่อาจแยกออกจากศาสนาได้เด็ดขาด ทั้งนี้เพราะนักปรัชญาตะวันออก เมื่อแสวงหาความจริงจนพบแล้ว ก็พยายามที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดขึ้นไว้ เพื่อเข้าถึงความจริงนั้น ๆ ฉะนั้น ปรัชญาตะวันออกเช่นพุทธปรัชญาที่กำลังกล่าวถึงนี้ จึงเป็นปรัชญาชีวิต เพราะแนวความคิดทางปรัชญาที่ค้นคิดขึ้นได้นั้น ได้นำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (way of life) ด้วย โดยลักษณะดังกล่าวนี้ พุทธปรัชญากับพุทธศาสนาจึงแยกออกจากกันได้ยาก ไม่เหมือนปรัชญาตะวันตกซึ่งเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ ส่วนปรัชญาตะวันออกโดยทั่วไปได้กลายมาเป็นรากฐานของศาสนาดั่งเช่นพระพุทธศาสนา เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนากับพุทธปรัชญา
แม้ว่าพุทธศาสนากับพุทธปรัชญาจะมีบ่อเกิดมาแหล่งเดียวกันคือ ประสบการณ์ของชีวิตมนุษย์ก็ตาม แต่มีลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างตามธรรมชาติของประสบการณ์ วิธีการ และจุดหมายของแต่ละวิชา ซึ่งอาจยกมาเปรียบเทียบให้เห็นเป็นประเด็นได้ดังนี้
๑.พุทธศาสนามุ่งแสวงหาความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิถีทางและอิทธิพลของตนที่มีต่อชีวิตและสังคมรวมทั้งการตีความหลักคำสอนต่าง ๆ พยายามตอบปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวกับชีวิต โดยการยึดหลักเอาศรัทธาเป็นหลักเป็นพื้นฐาน,ส่วนพุทธปรัชญามุ่งแสวงหาการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อพยายามเข้าใจตนเองและโลกโดยอาศัยเหตุผลเป็นหลักการและจุดยืนในการมองปัญหาต่าง ๆ
๒.พุทธปรัชญามุ่งแสวงหากฎทั่วไป ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของมนุษย์โดยทั่วไป, ส่วนปรัชญาไม่ได้มุ่งแสวงหากฎทั่วไปเหมือนวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา เป็นการแสวงหาความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานอ้นมีลักษณะเป็นนามธรรม สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิต ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามกาลเวลาและสถานที่
๓.พุทธศาสนาไม่ได้ใช้เหตุผลอย่างเดียวมาอธิบายประสบการณ์ของชีวิต แต่อาศัยความงาม อารมณ์ และความรู้ความศรัทธามาเป็นองค์ประกอบ เพื่อที่จะเข้าใจในหลักธรรมของศาสนา ส่วนพุทธปรัชญามิได้แสวงหาความชื่นชมและความงามในตัวของมันเองในการตรวจสอบ ทบทวน ไตร่ตรอง วิจารณ์ปัญหาต่าง ๆ อาจจะเกิดมีความชื่นชมและความงามควบคู่ไปด้วย
๔.พุทธศาสนามุ่งหมายที่จะต้อง”พิสูจน์” ความจริง อันเป็นคำตอบปัญหาเรื่องชีวิต ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตนในแต่ละศาสนาบางอย่างอาจจะสอดคล้องลงรอยกันกับวิธีการ กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในทุกกรณี เพราะพุทธศาสนาเป็นเรื่องความเชื่อต่อสิ่งนอกเหนือกฎเกณฑ์เหนือธรรมชาติ, แต่พุทธปรัชญาพยายามหลีกเลี่ยงการพิสูจน์ตามแบบวิทยาศาสตร์ คงมุ่งแต่ค้นคว้าหาคำตอบ คือปัญหาที่เกิดขึ้นอันอาจเป็นเพียงคำอธิบายเบื้องต้น ซึ่งอาจได้รับการพิสูจน์โดยกาลเวลาอยู่แล้ว
๕.พุทธศาสนายึดมั่นในเรื่องคุณค่า และข้อเท็จจริง ถือว่ามีมาในศาสนาเพราะทำให้การปฏิบัติตามหลักมีความหมาย แต่พุทธปรัชญามีปัญหาเรื่องคุณค่าและข้อเท็จจริงแสดงบทบาทแตกต่างกันกล่าวคือ พุทธอภิปรัชญาเกี่ยวข้องกับความจริงสูงสุด พุทธญาณวิทยาเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ ส่วนพุทธจริยศาสตร์เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องของคุณค่า และแต่ละประเภทของปรัชญาจะเน้นบทบาทของคุณค่าไม่ตรงกัน
อย่างไรก็ตาม หากเราถือหลักการอันเป็นสากลโดยทั่วไปซึ่งเป็นธรรมชาติของระบบแนวคิดในโลกทางตะวันออกแล้ว เราก็ต้องยอมรับว่า ศาสนากับปรัชญาไม่ว่าจะเป็นศาสนาอะไร ไม่อาจแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดได้ ทั้งศาสนาและปรัชญาต่างมีข้อเหมือนกันคือ “เป็นผลผลิตของประสบการณ์ชีวิต”
ความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับพุทธปรัชญา
๑. จุดมุ่งหมายของการศึกษา พระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ ผู้ศึกษาจะปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนโดยตรงเพื่อเขาถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ส่วนพุทธปรัชญาศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเหตุและผลอันเป็นไปเพื่อการตอบสนองความต้องการของตน คือจะศึกษาให้เกิดความรู้ว่าอะไร ทำไป อย่างไรเท่านั้น
๒. การนับถือพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนามักถือพระไตรปิฎกว่าเป็นคำประศาสน์ของผู้ตรัสรู้อย่างจริงจัง ไม่มีบกพร่อง และไม่กล้ามองในแง่ผิดหรือบกพร่อง ผู้ใดสงสัยคำประศาสน์ของพระศาสดาที่ตนนับถือและวิพากษ์วิจารณ์คำประศาสน์นั้น ผู้นั้นจะถูกประณามว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ส่วนพุทธปรัชญายอมรับว่าสิ่งใดจริงก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นมีเหตุผลพอ หรือทนต่อการพิสูจน์ตามหลักเหตุผล หาได้นับถือพระพุทธเจ้าในฐานะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เพียงแง่เดียวไม่
๓. ในเรื่ององค์ประกอบ พระพุทธศาสนามีองค์ประกอบทั้งหมด ๕ องค์ประกอบคือ ศาสดา, ศาสนธรรม, ศาสนทายาท, ศาสนสถาน, และศาสนพิธี
ส่วนพุทธปรัชญา ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าว แต่เน้นเรื่องของทฤษฎีล้วน ๆ โดยที่จริงศึกษาในแง่หลักการเพื่อให้เกดความรู้ว่า อะไร ทำไม อย่างไรเท่านั้น
๔. ในเรื่องการปฏิบัติ พระพุทธศาสนาเมื่อศึกษาไม่อาจแยกจากการปฏิบัติได้ คือต้องลงมือปฏิบัติได้จริง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตต่อไป ส่วนพุทธปรัชญาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพุทธปรัชญาไม่ยอมรับความเชื่องมงาย แม้ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ได้ตรวจสอบให้ถูกต้อง ตามหลักเหตุผลก็จะไม่ยอมเชื่อ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย และทรงแสดงทางสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ถูกต้องตามลำดับคือ ศีล สมาธิ และปัญญา.
หนังสืออ้างอิง
๑. ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา โดย พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
๒. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
๓. พุทธปรัชญาเถรวาท โดย วศิน อินทสระ
๔. พุทธปรัชญามหายาน โดย วศิน อินทสระ
๕. พุทธศาสนาวิทยา โดย แสง จันทร์งาม
พุทธศาสนาคืออะไร
นอกจากองค์ประกอบดังกล่าวนี้แล้วพระพุทธศาสนายังประกอบไปด้วยแกนและเปลือกหุ้ม ๕ อีกชั้น ซึ่งสามารถอธิบายได้จากชั้นในสุดออกมาถึงชั้นนอกสุดได้ดังนี้ คือ
๑. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นพุทธภาวะหรือ “พุทธธาตุ” หมายถึงประสบการณ์ทางจิตชั้นสูง ที่บุคคลสามารถเข้าถึงเกิดความสว่างด้วยความรู้ระดับญาณ เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส มีความสงบสุข ปราศจากความวุ่นวายใด ๆ หรือที่เรียกว่า สะอาด สว่าง สงบ ตามหลักไตรลิกขาที่ถือว่าเป็นผลจากการปฏิบัติโดยมรปรัชญาพุทธเป็นประทีปนำทาง
๒. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นปรัชญา เช่น ที่ปราากฏเนื้อหาอยู่ในพระสูตรและพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกในส่วนที่ว่าด้วยปัญหาพื้นฐาน ๔ ประการ เกี่ยวกับชีวิต โลก จักรวาล เป็นคำตอบปัญหาที่ว่าชีวิตคืออะไร เกี่ยวกับชีวิตอยู่ที่ไหน เป้าหมายสูงสุดของชีวิตและวิถีชีวิตทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นคืออะไร พุทธปรัชญาเป็นความจริงสูงสุดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบจากกฏธรรมชาติที่ใช้สอนบรรพชิตและฆราวาสให้ยึดถือปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตขึ้นสู่ระดับโลกุตรปัญา
๓. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นระบบจริยธรรม ที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาของปรัชญา ที่กล่าวถึงคุณค่า ความดี ความงาม ความถูกต้อง ความเจริญ คงวามเสื่อม ว่าด้วยหน้าที่ที่จะนำปปฏิบัติต่อตนเองและต่อสังคมเป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเพื่อให้มนุษย์มีการดำเนินชขีวิตที่ดีงาม เป็นพุทธจริยธรรม สำหรับผู้ครองเรือน เป็นคำสอนในระดับโลกิยธรรม
๔. พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาพื้นบ้าน หมายถึงการเคารพนับถือพระรัตนตรัยและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระรัตนตรัยในฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๕. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันแห่งชาติ หมายถึงพุทธบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ของพุทธบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษา การปฏิบัติ บริหาร และเผยแผ่ พระธรรมที่เป็นพุทธปรัชญา และพุทธจริยา เช่นสถาบันสงฆ์ วัดวาอาราม ตลอดจนสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น
จากองค์ประกอบทั้ง ๕ ดังกล่าวมานี้ มีส่วนที่เป็นหลักสำคัญ คือส่วนที่เป็นหลักความจริงที่เป็นกลาง ๆ ตามธรรมชาติในพุทธศาสนามากล่าวไว้ในส่วนที่เกี่ยวด้วยปรัชญาอย่างหนึ่ง กับหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับจริยศาสตร์แนวพุทธ เพื่อที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดของชีวิตในฐานะที่เกิดมาเป็นชาวพุทธอย่างหนึ่ง
พระพุทธศาสนานอกจากจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางสัญชาตญาณ ในการเอาตัวรอดของเองของเผ่าพันธุ์และจากปฏิริริยาทางอารมณ์ของมนุษย์แล้ว ศาสนายังถือกำเนิดขึ้นจากเหตุผลทางปัญญา ( Inellecyual orrigin ) ขององค์ศาสดาในแต่ละศาสนาด้วย
ปัญญาในบริบทนี้ หมายถึงสมรรถภาพทางจิตที่คิดตมหลักเหตุผล (Reasoning) เพื่อแสวงหาแนวทางในการแก่ไขเพื่อนำมาสอนมาชี้แนะต่อมวลมนุษย์ที่ตกอยู่ภายในความทุกข์อันเกิดจากปฏิกิริยาของสัญชาตญาณและของอารมณ์ดังกล่าว
พุทธศาสนาเกิดขึ้นเนื่องจากเจ้าชายสิทธัตถะมองเห็นปัญหาของมนุาย์คือความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นเบื้องแรก มองเห็นความไม่เป็นธรรมในสังคมที่มีการแบ่งชั้นวรรณะเป็นประการที่สอง และมองเห็นความได้เปรียบของวรรระพราหมณ์ที่อ้างพิธีกรรมว่าตนเป็นตัวแทนของพระเจ้าเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับวรรณะของตนเป็นตัวแทนของพระเจ้าเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับวรรณะของตนเอง พราหมณ์ยืนยันศรุติว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้าที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เห็นความเชื่อที่กำหนดให้วรรณะต่ำยอมรับโดยดุษฎีว่าตนเองเกิดมาเพื่อรัขบใช้กรรมตามแต่พรหมลิขิต นี่คือ เหตุผลประการที่สามที่เจ้าชายสิทธัตถะไม่สามารถรับได้
หลังจากที่พระองค์ได้ค้นพบสัจธรรม เพราะเหตุผลดังกล่าวผลักดันให้แสวงหาทางเลือกใหม่ได้สำเร็จแล้ว พระพุทธองค์จึงได้สอนให้มนุษย์ใช้สติปัญญาของตนเป็นที่พึ่งของตน ปฏิเสธในความมีอยู่ของพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง พุทธศาสนาจึงจัดเป็นศาสนาเทวนิยมที่สอนให้มนุษย์ใช้ปัญญาแทนศรัทธา หากจะมีศรัทธาก็ให้เป็นศรัทธาที่นำไปสู่ปัญญาในภายหลัง ไม่สอนให้เชื่องมงาย แต่สอนให้เชื่อมั่นในการกระทำของตนเองอันประกอบด้วยปัญญา สอนให้วิเคราะห์ปัญญาด้วยหลักเหตุผล หรือหลักอิทัปปัจยตาว่าทุกข์หรือปัญหา (Problem) ย่อมเกิดมาจากเหตุปัจจัย หารที่จะแก้ปัญหาของชีวิตได้สำเร็จจะต้องแก้ที่เหตุด้วยศีล สมาธิ และปัญญา โดยแนวทายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) แห่งโพธิปักขิยธรรม (ธรรมอั้นเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้) อันมีมรรค ๘ เป็นอาทิ
ลักษณะพิเศษแห่งพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะระบอบการดำเนินชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ และเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นด้วยความพากเพียรพยายามของมนุษย์โดยตรง และเพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษย์โดยทั่วหน้าจึงมีผู้มองพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ กัน ซึ่งอาจแยกให้เห็นได้ เช่น
๑. พระพุทธศาสนาคือปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เพราะเน้นการปฏิบัติบนเหตุผลที่พิสูจน์ได้ เช่น หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นศาสนาแห่งการศึกษาเน้นว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถฝึกฝนได้
๒. พระพุทธศาสนาคือเหตุผลนิยม (Rationalism) เพราะสอนหลักปฏิจจสมุปบาทกฎแห่งกรรม ไตรลักษณ์ และอริยสัจ ๔ เป็นต้น
๓. พระพุทธศาสนาคือระบอบธรรมาธิปไตย (The Supremacy of Righteousness) เพราะไม่คัดค้านหรือโต้แย้งกับลัทธิใด แต่ในเรื่องการตัดสินว่าระบบใด คำสอนใด ลัทธิใด หรือ ทฤษฎีใดผิดถูกอย่างไรนั้น ได้ทรงแสดงหลักธรรมเพื่อเป็นเกณฑ์ไว้ เรียกว่าธรรมาธิปไตย กล่าวคือการกระทำใด ไม่ว่าจะเป็นส่วนแห่งปัจเจกชนหรือสังคม ถ้าหากประกอบด้วยหลักธรรมาธิปไตยแล้ว การกระทำนั้นก็เป็นอันถูกต้อง
๔. พระพุทธศาสนาคือระบอบพรหมจรรย์นิยม (Holy Life) เพราะแสดงหลักปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือ มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางดำเนินชีวิตด้วยหลักอัปปมาทธรรม
๕. พระพุทธศาสนาคือสันตินิยม (Pacifism) เพราะสอนไม่ให้เบียดเบียนกันด้วยหลักแห่งศีล เช่น เบญจศีล เบญจธรรมสอนเพื่อสันติภาพแก่โลกและชีวิตอย่างไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะรวมทั้ง สรรพสัตว์ก็ไม่ยกเว้น
๖. พระพุทธศาสนาเป็นอเทวนิยม (Atheism) เพราะปฏิเสธพระเจ้าสร้างโลก และสอนไม่ให้รอคอยวาสนา อาศัยอำนาจภายนอกมาช่วยเหลือ แต่สอนให้พึ่งตนเอง เช่น เรื่องกฎแห่งกรรม กฎแห่งไตรลักษณ์ เพราะสรรพสิ่งย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย
๗. พระพุทธศาสนาเป็นมนุษย์นิยม (Humanism) เพราะถือว่าความคิดที่เป็นจริงต้องก่อให้เกิดการกระทำ การกระทำนั้นต้องให้ผลที่เป็นประโยชน์และความสุขแก่มนุษย์ และความจริงทั้งหลายทั้งปวง ต้องเป็นเรื่องในชีวิตจริงของมนุษย์และคุณค่าของสิ่งใด ๆ ย่อมไม่อยู่เหนือคุณค่าของความเป็นมนุษย์ พุทธธรรมเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง เพราะมนุษย์เท่านั้นเป็นผู้สร้างโลก สร้างชีวิตมนุษย์เอง พร้อมกันนั้นก็คำนึงถึงศักดิ์ศรี และเสรีภาพแห่งมนุษย์เป็นสำคัญ
นิกายวัชรยาน
นิกายวัชรยานมีลักษณะพิเศษแปลกกว่านิกายพุทะศาสนาอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะรับเอาพิธีกรรมและอาถรรพเวทของพราหมณ์เข้าสั่งสอนด้วย นิกายนี้จึงมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น พุทธตันตรยาน รหัสยาน คุยหยาน และวัชรยาน
ระยะแรกคงเป็นส่วนหนึ่งของมหายาน ครั้นตกมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นิกายนี้ได้ประกาศตนเป็นอิสระต่างหากจากพวกมหายานิกายเดิมว่า “พวกเปิดเผย” โดยเรียกพวกตนเองว่า “พวกลึกลับ” กล่าวกันว่าหลักธรรมของนิกายนี้ เทศนาเปิดเผยโดยพระไวโรจนพุทธเจ้า ภายหลังพระวัชรสัตว์ได้เก็บรวมหลักธรรมทั่งหมด บรรจุเข้าในพระเจดีย์เหล็กแห่งอินเดียภาคใต้ ต่อมาท่านคุรุนาคารชุนได้รับอภิเษกจากพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ และได้เปิดกรุพระธรรมอันลึกลับนี้ออกเที่ยวสั่งสอนแก่พประชาชน คุรุนาคารชุนได้ถ่ายทอดให้แก่สานุศิษย์คนหนึ่ง ชื่อนาคโพธิ (ซึ่งกล่าวกันว่า ท่านมีอายุถึง ๗๐๐ ปี.) ต่อมาท่านนาคโพธิได้จาริกมาสู่เกาะสิงหล ท่านได้ถ่ายทอดให้แก่ท่านศุภกรสิงหะและท่านวัชรโพธิ ท่านศุภภรสิงหะได้จาริกมาสู่ประเทศจีน ซึ่งมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในการประการคำสอน และได้รับเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีสมณะชื่อว่า “เด็งกโย” ได้ศึกษาปรัชญานิกายเทียนไท้ ส่วนท่านฮูกายนั้นไกศึกษา ณ วัดแชเล่งยี่ได้รับมนตราภิเษกจากท่านคณาจารย์ฮุ่ยก๊วยและได้รับเครื่องมณฑลบูชาครบชุด กลับไปญี่ปุ่น และได้ตั้งสำนักแผ่ลัทธิเจริญรุ่งเรื่อง และขยายเป็นนิกายต่าง ๆ แต่ที่ได้รับการแผ่หลายที่สุด คือในธิเบต ซึ่งมีลักษณะที่พิสดารกว่า เพราะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทามหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี เช่น ท่าน ศานตรักษิต ท่านคุรุปัทมสัมภพ ท่านกมลศีลา ท่านอดตีศะ ได้นำเข้าไปเผยแผ่โดยตรง
๑.๑ การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในธิเบต
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ พระพุทธศาสนาเริ่มแพร่หลายในธิเบต แต่ประวัติศาสตร์บอกแก่เราว่าพระพุทธศาสนาเริ่มแผ่เข้าสู่ธิเบตในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ สมัยพระเจ้าสรองตสันคัมโปปกครองธิเบต โดยพระมเหสีของพระองค์ ๒ พระองค์ องค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิงจีนทรงพระนามว่า “บุ้นเซ้งกงจู้” และอีกพระองค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิงเนปาลทรงพระนามว่า “ภฤกุฏีเทวี” ราชเทวีทั้ง ๒ ได้เป็นผู้ชักนำให้สวามีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ๑
พระพุทธศาสนาเข้าสู้ธิเบตหลายระยะด้วยกัน จากหลักฐานที่ต่างๆ ว่า ครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ครั้งที่ ๒ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ในสมัยของพระเจ้าสรองตสันคัมโป โดยพระมเหสีของพระองคื ๒ พระองค์ องค์แรกเป็นเจ้าหญิงจีน พระนามว่า “บุ้นเซ้งกงจู้” ส่วนองค์ องค์แรกเป็นเจ้าหญิงจีน พระนามว่า “ ภฤกุฎีเทวี” ส่วนครั้งที่ ๓ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยคณาจารย์แห่งลัทธิพุทธตันตระนามว่า “คุรุปัทมสมภพ” ซึ่งท่านได้รับนิมนต์เข้าไปในธิเบตและท่านสามารถยังศรัทธาปสาทะให้เกิดขึ้นแก่ชนชาวธิเบตได้สำเร็จ จึงทำให้พระพุทธศานาในธิเบตเป็นปึกแผ่นมั่นคงแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กษัตริย์ชาติมองโกล ทรงพระนามว่า “กุบไลข่าน” ได้ให้ความในใจต่อพระพุทธศาสนาในธิเบตมาก และในขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมโดยวิธีต่างๆ เพราะเหตุดังนี้ พระพุทธศาสนาในธิเบต่จึงเจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นโดยลำดับ
พระพุทธศาสนาที่ได้เข้าสู่ธิเบตนิยกายแรกคือ มนตรยานตันตระ ซึ่งเป็นนิกายที่ถูกกับอุปนิสัยรสนิยมของชาวธิเบต อันเป็นชาติที่มีควมเป็นอยู่ในดินแดนลี้ลับแห่งนี้ ที่ได้กลมกลืนกับชาวธิเบตเพราะแต่เดิมได้นับถือลัทธิบูชาเทวะลึกลับ ซึ่งเต็มไปด้วยเวทมนต์อาถรรพณ์ เรียกว่า “ลัทธิบอนปะ” ๒
ต่อมามีคณาจารย์แห่งลัทธิพุทธตันตระองค์หนึ่งนามว่า “คุรุปัทมสมภพ” เป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ที่เป็นผู้ที่ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นคงในดินแดนแห่งธิเบต พร้อมได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชาหลายพระองค์ เป็นผลทำให้พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปทั่วธิเบต เราจึงรู้จักนามของพระพุทธศาสนาอยู่ในธิเบตอีกชื่อหนึ่งคือ“ลัทธิลามะ”๓
๑.๒. นิกายหลักวัชรยาน
ครั้งถึงยุคราชวงศ์เหม็ง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีคณาจารย์ธิเบตองค์หนึ่งชื่อ “ตสองขะปะ” เป็นผู้ไปศึกษาและเรียนรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกจากอินเดีย ท่านได้เห็นสังฆมณฑลแต่ก่อน ประพฤติเลอะเทอะ มุ่งแต่ในทางกฤตยาคุณ อาคมขลังต่างๆ ละทิ้งการศึกษาและพระวินัย จึงได้ตั้งนิกายของตนขึ้นใหม่ ให้สงฆ์นุ่งห่มกาสาวพัสตร์สีเหลือง และบังคับให้ประพฤติพรหมจรรย์ ถือปาฎิโมกขสังวรศีลอย่างเคร่งครัดและให้ศึกษาปริยัติธรรมด้วย เนื่องจากนิกายเดิมทรงกาสาวพัสตร์สีแดง จึงได้เกิดเป็น ๒ นิกาย คือ นิกายแดง และนิกายเหลือง นิกายเดิมคือ นิกายแดง นับถือคุรุปัทมสมภพเป็นปฐมจารย์ สงฆ์ในนิกายนี้มีวัตรปฏิบัติทางพระวินัยหย่อนยานมาก แต่เมื่อนับนิกายปัจจุบันที่แยกย่อย ประมาณ ๓๐ กว่านิกาย นิกายสำคัญ โดยนับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศธิเบต โดยส่วนใหญ่เป็นคำสอนที่ถ่ายทอดไปจากอาจารย์และโยคีชาวอินเดีย วรรณคดีพุทธ๔ศาสนมี่ธิเบตใช้เป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตล้วน มีการถ่ายทอดคำสอนออกเป็นหลายนิกายทั้งนิกายใหญ่และนิกายย่อย โดยเฉพาะนิกายหลักที่สำคัญ ๔ นิกาย คือนิงมะ (ยิงมาปา) ,กาจู (คากิว), สักยะ และเกลุก (เกลุกปะ) โดยเรียงลำดับจากความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก บางครั้งจะพบคำว่า “ปะ” ต่อท้าย แปลว่า “เป็นของ” เช่น นิงมะปะ คือ ของนิกายนิงม
๑. นิกายนิงมาปา หรือนิกายหมวกแดง อ้างว่าถือกำเนิดจากปฐมาจารญ์ชาวอินเดีย คือ คุรุปัทมสัมภวะ ซึ่งเดินทางมราธิเบตตามคำเชิญของพระเจ้าตริสองเดชัน ในค.ศ. ๘๑๗ เพื่อให้มาช่วยปราบภูตผีมารร้านที่เป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่พุทธศาสนา ปัทมสัมภวะไม่ใช่พระภิกษุแต่เป็นโยคีผู้ทรงความรู้โดยเฉพาะในสายของตันตระ
นิกายนิงมาปาแบ่งคำสอนในพุทธศาสนาออกเป็น นวยาน (ยานทั้ง ๙ ) สามยานแรกเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตวยาน ยานทั้งสามนี้คือ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ปรากฎในพระสูตร จากนั้นก็เป็นตันตระสาม ได้แก่ กิริยาตันตระ อุปตันตระ และโยคะตันตระ
๒. นิกายคากิว ๔ เป็นนิกายในพุทธศาสนาแบบธิเบตที่สำคัญ มีผู้สืบทอดที่โด่งดังคือโยคีมิลาเรปะโดยมีรากฐานความเป็นมาจากสองแหล่ง ได้แก่ อาจารญ์มาร์ปะโชคี โลดด (๑๐๑๒–๑๐๘๙) และทุงโป ญาลจอร์ (๙๗๘–๑๐๗๙) อาจารย์มาร์ปะนั้น เป็นนักแปลที่มีชื่อเสียงท่สุดคนหนึ่งของธิเบต ได้รับการฝึกฝนจาก ดรอกมีเยเช (๙๙๓– ๑๐๕๐) จากนั้นอาจารย์มาร์ปะ เดินทางไปอินเดีย ๓ ครั้ง ไปเนบาล ๔ ครั้ง เพื่อแสวงหาพระธรรม ได้ศึกษาโดยเป็นศิษย์ของทั้งอาจารย์และโยคีจำนวนมาก
3.นิกายสักยะ หรือนิกายหลายสี ความเป็นมาของนิกายสักยะผูกพันอยู่กับ “ดอน” ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางโบราณ การสืบสายของตระกูลนี้ ตกทอดมาโดยมิขาดสายจนถึงทุกวันนี้ นับจาคอน คอนจ็อก เจลโป (๑๐๓๔-๑๑๐๒) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งนิกายสักยะ
๔. นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เป็นนิกายที่องค์ทะไล ลามะ เป็นผู้นำ นิกายเกลุกปะพัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีษะ วางรากฐานไว้แต่เดิม และจัดเป็นรูปแบบชัดเจนโดยอาจารย์สองขะปะ (๑๓๕๗-๑๔๑๙) อาจารย์สองขะปะเกิดที่เมืองสองขะ ในแคว้นอัมโด รับศีลอุบาสกตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ จากอาจารย์รอลเปดอร์เจกรรมะปะองค์ที่ ๔ กุงกะ นิงโป ต่อมาอายุได้ ๗ ขวบ บรรพชาเป็นสามเณร รับศีลจากอุปัชฌาย์ โชเจ ทอนดุบ รินเซ็นและได้รับฉายาว่าลอบชังดรักปะ แม้ในเยาว์วัยได้ทั้งคำสอนและพิธีอภิเษกของเหรุกะ ยมันตกะ และเหวัชระ สามารถท่องจำพระคัมภีรื เช่น พระนามของพระมัญชูศรี ได้ทั้งหมด
๒. หลักปฏิบัตินิกายวัชรยาน
นิกายนี้มีหลักปรัชญาและพิธีกรรมที่ดัดแปลฃมาจากพราหมณ์ และชาวพื้นเมืองในมณฑลเลงกอลหรือที่เรียกว่าแคว้นกามรูป จึงหมายความว่านิกายมนตรยานนี้มีลากษณะของพระพุทธศาสนาลบริสุทธิ์นิ้ยกว่ามหายานทุก ๆ นิกาย คติที่เรียกว่า รหัสยาน หรือ คุยหยาน ซึ่งแปลว่ายานลึกลับ เพราะมีเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. เพราะเป็นความลึกลับ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายซ่อนเร้นเอาไว้ ไม่ทรงเปิดเผยแก่สาธารณชน นอกจากบุคคลผู้มีปัญญาสูง
๒. เพราะธรรมชาติศัพท์สำเนียกต่าง ๆ ในโลก แท้จริงเป็นธรรมเทศของพระไวโรจนพุทธะ แต่ปุถุชนไม่สามารถจะทราบได้
๓. เพราะพุทธวจนะน้นมีอรรถรสที่ลึกซ่ง บางครั้งพระองค์ตรัสโดยโวหาร เช่นตรัสว่า ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นอริยมรรค ถ้าเราจับฉวยตามโวหาร ก็ผิด
๔. เพราะการปฏิบัติเข้าถึงโพธินั้น ลำพังกำลังของตนไม่พอที่จะต่อต้านกิเลสมารได้ จำต้องพึ่งอานุภาพของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ช่วยจึงจักสำเร็จ
นอกจากนี้ยังมีข้อปลีกย่อย เช่นอ้างว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้แจ้งถึงพุทธภาวะของตนเอง จัดว่าเป็นความลึกลับด้วย
อนึ่ง เพราะในลัทธินี้ต้องปิดการบำเพ็ญโยคกรรมและสวดมนต์ ตลอดจนทำมุทระ จะให้เปิดเผยแก่ชนผู้ยังมิได้ผ่านการอภิเษกจากอาจารย์มิได้ แต่โยคกรรมบางอย่างก็อนุญาติให้เปิดเผยได้
คัมภีร์สำคัญ
๑. มหาไวโรจนาภิสัมโพะวิกุรฺวิตาธิษธานไวปุลฺยสูตฺเรนฺทรราชนมปรฺยายสูตร เรียกสั้น ๆ ว่า มหาไวโรจนสูตร (ไต้ยิดเก็ง) ท่านศุภกรสิงหะ กับ ท่านอิกเหงร่วมกันแปล
๒. วัชรเสขสูตร ท่านอโมฆวัชระแปล
๓. อรรถกถามหาไวโรจนสูตร ของคณาจารย์อิกเหง
พระคัมภีร์ล้วนแปลจากคัมภีร์ในภาษาสันสกฤต การแปลนี้ นักปราชญ์ชาวตะวันตกยกย่องว่าแปลถูกต้องดีมากไม่ขาดตกเลย ส่วนที่แปลออกจากัมภีร์ภาษาจีนอีกตอนหนึ้งก็มี คัมภีร์เหล่านี้แบ่งออกเป็นสองหมวด หมวดหนึ่งเรียกว่า กาห์คยุร เป็นตัวพระคัมภีร์ หมวดสองเป็นอรรถกถา เรียกว่า ตางคยุร คัมภีร์หมวด กาห์คยุต นี้มีหมดด้วยกันร้อยหนึ่งหรือร้อยแปดเล่ม เล่มหนึ่งราวพันหน้า คัมภีร์ทั้งหมดแลบ่งเป็นเรื่องได้พันกับแปดสิบ คัมภีร์ที่ธิเบตใช้ตัวพิมพ์ไม้แกะเป็นที้งประโยคพิมพ์ลงบนกระดาษข่อย ที่วิเศขึ้นไปใช้กระดาษนี้หลายแผ่นอัดกันแล้วทาสีดำเขียนเป็นอักษรตัวเงินหรือทอง (สมุดดำ) คัมภีร์กาห์คยุร แบ่งเป็นสามตอนเรียกว่า ตริปิฎก คือ
๑. ดุลวิ (วินัย) พระอุบาลีเป็นผู้รวบรวมมี ๑๓ เล่ม
๒. โท (สูตร) พระอานนท์เป็นผู้รวบรวมมี ๑๓ เล่ม
๓. จะโอสนอน ปะ (อภิธรรม) มี ๒๑ เล่ม รวมทั้งคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาของนาคารชุนด้วย
๓. ศึกษาวิเคราะห์หลักความคิดวัชรยาน
ปรัชญาอื่นๆ ที่อ้างว่าสำคัญและดีที่สุด ก็ปรากฎว่ามีอยู่ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ตัวจริงของพระพุทธศาสนานั้นมิได้เป็นอะไรทั้งนั้น นอกจากเป็น “สัจธรรม”ชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานติ์ ชี้ทางพระนฤพานอันพันโศกวิโยคภัยแก่สรรพสัตว์
ในพระไตรปิฎกเรามีเรื่องการลบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์มากมาย ที่เรียกว่าชาดกและจริยาปิฎก ใครจะปรารถนา พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ อรหันตภูมิ ก็มีเสรีจะปรารถนาได้ ของเรามีพร้อมทั้งแนวปฏิบัติเสร็จ มหายานเป็นแต่นำเอาหลักการบำเพ็ญเพื่อพุทธภูมิขึ้นมาประกาศมากกว่าของเราเท่านั้น
หากเป็นสาวกยานนิกายเถรวาที่ถือหลักภาษาบาลีเป็นสำคัญแล้ว ในพระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ที่ฝ่ายเถรวาทรักษาไว้ได้นี้นักหนา ถ้าไม่มีนิกายเถรวาทแล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะรู้จักพระพุทธมติดั้งเดิมแท้จริงได้เลย หลักธรรมของพระพุทธองค์คือความจริง อนิจจํ ทุกขํ อนตตา และอริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ข้อปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ยิ่งในสติปัฎฐาน ๓ เชื่อว่ามหายานและสาวกยานก็ไม่จะโต้แย้งกัน
ปรัชญาคืออะไร
๑. ความหมายของคำว่าปรัชญา
คำว่า “ปรัชญา” ตามรูปศัพท์เป็นคำมาจากคำในภาษาสันสกฤต ๒ คำคือ “ปร” กับ “ชะญา” ปร แปลว่า ประเสริฐ เลิศ วิเศษ ส่วน ชญา แปลว่า ความรู้ ดังนั้น เมื่อรวม ปร กับ ชญา เข้าด้วยกันจึงเป็น ปรัชญา แปลว่า “ความรู้อันประเสริฐ” ซึ่งหมายถึง “ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดอันเกิดแต่การเรียนและคิด”ในพจนานุกรมไทยได้ให้ความหมายของปรัชญาไว้ว่า ปรัชญาคือ “วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”ในภาษาอังกฤษ คำว่า ปรัชญา ท่านใช้คำว่า “ Philosophy” ซึ่งความหมายของคำ ๒ คำนี้ไม่ตรงกันเลยทีเดียวคือPhilosophy มาจากคำในภาษากรีก ๒ คำ คือ “Philo” (Love) แปลว่า “ความรัก” และ “Sopia” (Wisdom) แปลว่า “ความรุ้” เมื่อรวม Philo กับ sophia เข้าด้วยกันจึงเป็น Philosophy = Love of wisdom แปลว่า “ความรักในความรู้” หรือ “ความรักในปัญญา”
จากการนิยามความหมายหรือคำจำกัดความที่นักปรัชญาที่มีชื่อเสียของโลกได้ให้ไว้สามารถสรุปรวมได้ว่า “ปรัชญา” เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องมนุษย์ โลกธรรมชาติและชีวิตแบบรวม ๆ กัน ปรัชญาพยายามประมวลเหตุการณ์ และความรู้ต่าง ๆ เพื่อหาข้อนยุติที่แน่นอน และปรัชญามิใช่ว่าด้วยเรื่องความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ปรัชญาได้พยายามค้นคว้า แสวงหาความจริง ความรู้ที่แน่นอน และสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้
๒. สาเหตุของการเกิดปรัชญา
จากการที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้าต่อสภาพแวดล้อม เหตุการณ์และปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยการค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ มากมายตามแนวความเชื่อ ประสบการณ์ และความรู้ของตนเอง จึงทำให้เกิดปรัชญาขึ้น ซึ่งเราอาจสรุปสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรัชญาขึ้นได้ ดังนี้
v ความประหลาดใจ
v ความสงสัย
v การทดสอบเชิงวิจารณ์
v ความใจกว้าง
v การยอมรับคำแนะนำทางประสบการณ์และเหตุผล
v ความไม่มีอุปาทาน
v ความเพียรพยายามไม่ลดละ
v ความไม่ด่วนสรุป
๓. วิวัฒนาการแห่งปรัชญา
ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ และวิวัฒนาการควบคู่กันมากับมนุษย์เรา กล่าวคือ มนุษย์รู้จักคิดตั้งแต่ยุคแรก จากการคิดนั้นก่อให้เกิดปัญญาเป็นปรัชญา เมื่อมนุษย์วิวัฒนาการเจริญมาเรื่อย ๆ ความคิดและปัญญาของมนุษย์ก็วิวัฒนาการเจริญขึ้นเป็นลำดับควบคู่กันมา จนปรากฏให้เราได้เห็นได้ศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่เจริญหรือเสื่อมก็ได้
มนุษย์เราในแต่ละยุคแต่ละสมัย ย่อมจะมีแนวความคิดและจุดสนใจแตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยปกติแล้วมนุษย์จะคิดอันจะก่อให้เกิดปัญญาขึ้นก็เพาะสิ่งเร้าหรือแรงจูงใจ ซึ่งอาจจะมาจากภายนอกหรือเกิดขึ้นภายจิตใจของเขาเอง ดังนั้นถ้าเราศึกษาปรัชญาต่อไปแล้ว เราจะเข้าใจว่า ทำไมมนุษย์ในยุคสมัยนั้น ๆ จึงคิดในเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นได้ โดยปกติแล้วจะถือว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสำคัญยิ่ง
แม้ว่า แนวความคิดของมนุษย์อ้นก่อให้เกิดปัญญา กลายเป็นปรัชญานั้น จะมีวิวัฒนาการที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย เราก็สามารถกล่าวสรุปได้ว่าการวิวัฒนาการแห่งปรัชญามี ๓ สาย คือ
๑. ปรัชญาทางธรรมชาติ
๒. ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์
๓. ปรัชญาทางศาสนา