บทนำ
ตันตระ มาจากรากศัพท์ ตัน ตนะ แปลว่า แผ่ออกไป แต่นักเขียนยุคต่อมาบางท่านบอกว่า มาจากศัพท์ “ ตตริ หรือ ตันตริ” แปลว่า กำเนิดหรือความรู้ นัยที่แท้จริงหมายถึงคัมภีร์เป็นอุปกรณ์ถ่ายทอดความรู้ หลักการสังขยะ บางครั้งเรียก“ตันตระ” เป็นแขนงหนึ่งของความรู้ถือการสวดมนต์มีส่วนสำคัญมากพวกตันตระหรือพวกตันตริก ถือว่าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พวกเขายึดถือนั้นมิได้อุบัติขึ้นบนโลกนี้
พุทธศาสนาตันตรยานหรือมหายานแบบทิเบต มีวิวัฒนาการมาจากพระพุทธศาสนาที่ผสมผสานกับฮินดูในยุคนั้น
ตันตระได้มีพัฒนาการขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๐ นักบวชนิกายนี้ไม่เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า “สิทธะ” ต่อมาได้แตกแยกสาขาออกไปอีก แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ
(๑) ทักษิณจารี กลุ่มนี้ยังประพฤติตามธรรมวินัย ถ้าเป็นพระยังรักษาพรหมจรรย์ โดยตีความให้เป็นธรรม กล่าวโดยสัญญลักษณ์ จะถือเอาตรงมิได้ เช่นในคัมภีร์สนธนมาลา ของท่านอนังควัชระ ซึ่งเป็นสิทธาจารย์คนหนึ่ง ได้กล่าวว่า “สาธุควรได้รับการบำเรอจากสตรีเพศ เพื่อให้เสวยมหามธุรา” ข้อความเช่นนี้เป็นสนธยาภาษา จะต้องไขความว่า สตรีเพศในที่นี้ท่านให้หมายเอาปัญญา สาธุเป็นเพศชาย จะต้องสร้างอุบายเพื่อร่วมเป็นเอกีภาพ
(๒) วามจารี กลุ่มนี้ประพฤติคลาดเคลื่อน ไม่รักษาพรหมจรรย์ มีลักษณะเป็นหมอผีมากขึ้น คือ อยู่ป่าช้าใช้กะโหลกหัวผีเป็นบาตร และใช้ภาษาลับพูดกันเรียกว่า “สนธยาภาษา” ถือการเสพกามคุณเป็นการบรรลุวิโมกข์ การบรรลุนิพพานต้องทำให้ธาตุชายธาตุหญิงหญิงมาสมานกัน ธาตุชายเป็นอุบาย ธาตุหญิงเป็นปรัชญา
ความสัมพันธ์กับอินเดีย
ในสมัยพุทธกาล ทิเบตถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของชมพูทวีป อยุ่ในแคว้นโกศล ป่ามหาวันที่อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ มีอาณาบริเวณเหนือครอบคลุมถึงภูเขาหิมาลัย ด้านใต้จรดทะเล พระพุทธเจ้าทรงแสดงงมหาสมัยสูตรและมธุปิณฑิกสูตร ป่ามหาวันนี้
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อทำตติยสังคายนาเสร็จแล้ว มีการส่งสมณะทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สาย พระมัชฌิมเถระและคณะซึ่งเป็นพระธรรมทูตสายหนึ่งเดินทางไปประกาศพระศาสนาบริเวณเทือกเขาหิมาลัย
ในยุคที่นาลันทามหาวิหารรุ่งเรืองชาวทิเบตหลายคนมาศึกษาวิชาสาขาพระพุทธศาสนาและสาขาอื่นๆ เช่น ประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ ธอนมี สัมโภตะ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชสำนัก เดินทางมาศึกษาที่นาลันทา กลับไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในทิเบต และประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งรัฐ
ประมาณ พ.ศ. ๑๕๒๓ – ๑๕๙๖ พระโอรสแห่งกษัตริย์กัลยารศรีและพระมเหสีศรีประภาวดี จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี ได้มาเป็นอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาใน พ.ศ. ๑๕๗๗ - ๑๕๘๑ ต่อมาได้รับเชิญไปทิเบตเพื่อปฏิรูปพระศาสนา และได้ก่อตั้งนิกายลามะ (Lamaism) ขึ้นในทิเบต พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถือเป็นยุตที่มีการส่งคนไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่นาลันทามหาวิหารมาก เนื่องกษัตริย์ประสงค์ที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในทิเบต มีการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต สร้างวัด และนิมนต์หรือเชิญนักปราชญ์ในอินเดียไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบต นักปราชญ์ชาวทิเบตที่จบการศึกษาจากนาลันทามหาวิหาร เป็นผู้วางระบบการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็อาศัยนักปราชญ์ต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียและเอเชียกลางนำหลักวิชาการไปสอนตามระบบที่วางเอาไว้ ทำให้วิชาการด้านพระพุทธศาสนารุ่งเรือง ทั้งในรูปแบบพระพุทธศาสนาดั้งเดิมและพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ความแปลกแยกทั้งในด้านหลักการและวิธีการจึงปรากฏอยู่ให้เห็นอยู่มาก
เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทิเบตจะมีส่วนผสมของวัฒนธรรมของอินเดียมากกว่าของจีน ที่เป็นเช่นนี้เพราะทิเบตรับวัฒนธรรมด้านศาสนาและภาษามาจากอินเดียเป็นหลัก โดยเฉพาะพระพุทธศาสนามหายานและภาษาสันสกฤตที่มีการเรียนการสอนที่นาลันทามหาวิหาร
ท่านศานตรักษิตะสอนตันตระ นำเสนอแนวคิดที่จะเชื่อมพลังชายและหญิงเข้าด้วยกัน ด้วยระบบ พลังทางเพศที่ได้รับการควบคุม (Disciplined Sexual Energy) กระบวนการแห่งจักรวาลหมุนไปโดยการมีเพศสัมพันธ์
อภิปรัชญา
ทฤษฎีกาลจักร ( Theory of time and Space) คือระบบควบคุมจักรวาล นั่นคือ จักรวาลหมุนไปต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างกระแสแห่งชีวิตในร่างกายและกระแสแห่งกาลในจักรวาล หรือกระแสชีวิตภายในและกระแสชีวิตภายนอกจักรวาลเชื่อมโยงกับมันตระศักดิ์สิทธ์ ๖ พยางค์ คือ โอม มณี ปัทเม หูม (โอม มณี เปเม หุง) และพระธยานีพุทธะทั้ง ๕
มนุษย์มีวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ในตัว แต่เข้าถึงไม่ได้ ต้องอาศัย การปฏิบัติการทางเพศที่ได้รับการควบคุมจะช่วยชำระ ระบบประสาทให้บริสุทธิ์
สภาวะเป็นสภาวะที่ทั้งสงบนิ่งและเคลื่อนไหว เป็นพลังที่เกิดจากการรวมกันระหว่างปรัชญากับอุบาย (ปรัชญา+ อุบาย) ปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นภาพสะท้อนให้เห็นสิ่งสูงสุด ๒ ประการ คือ (๑) อันติมจิต (๒) ปรัชญาและอุบายที่รวมกันอยู่อย่างแบ่งแยกไม่ได้
จักรวาลทั้งสิ้นแบ่งออกเป็นองค์ ๒ส่วนที่เสริมกันและกัน คือ
(๑) คัพภธาตุ มีลักษณะเป็นนามธรรม สถิตนิ่งอยู่ภายใน
(๒) วัชรธาตุ มีลักษณะเป็นรูปธรรม เคลื่อนไหว
ตันตระมีแนวคิดเชิงพหุเทวนิยม (Polytheistic) แม้จะเป็นตันตระแบบพุทธก็มีแนวคิดที่เอียงไปข้างสัสสตทิฏฐิ (Eternalist) เน้นความกลมกลืนระหว่างสรรพสิ่งที่ตรงกันข้าม ถือเป็นปรัชญาสหภาพนิยม (Unificationism) เป้าหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติคือการกำจัด “ทวยะ หรืออทวิภาวะ Duality” เข้าถึง “อทวยะ หรือ อทวิภาวะ (Non- Duality)
ในเบื้องต้น ความหมายแห่งอทวยะ คือการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวระหว่างจิตกับวัตถุ จุดหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติโยคะคือการรวมกันระหว่างผู้รู้ (Subject) กับสิ่งที่ถูกรู้(Object) การกำจัดความแตกต่างระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นเป็นแนวคิดเรื่องปรัชญากับกรุณา พัฒนากรุณา(Male) ให้อยู่ในฐานะเป็นผู้รู้หรือผู้กระทำ พัฒนาปรัชญา (Female) ให้อยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำ การรวมกันอย่างกลมกลืนระหว่างกรุณากับปรัชญา เรียกว่า อทวยะ หมายถึงความไม่แบ่งแยกปฏิบัติการ ภาพของปรากฏการณ์ที่ซ้าย-ขวา, บวก – ลบ หรือเป็นฝั่งโน้นฝั่งนี้เกิดเพราะการมองแบ่งแยก และสาเหตุที่ทำให้เกิดการมองอย่างแบ่งแยก เพราะพลังปรัชญากับกรุณา ปฏิบัติการอย่างไม่ประสานกัน ปรัชญามองอย่างแบ่งแยก ในขณะที่กรุณามองรวมกัน แต่การรวมสนิทไม่เกิดขึ้น เพราะพลังปรัชญาสอดแทรกอยู่ตลอดเวลา ภาวะรวมนี้สะท้อนออกมาเป็นภาพใน ๔ ด้าน คือ (๑) จักรวาล (๒) พุทธวิทยา (๓) ปัจเจกชน และ (๔) สังคม ทั้งหมดรวมเป็นร่างของปรัชญากับ (Embodiment of two – in –one of Wisdom and Compassion)
ภาพด้านจัรกวาลก็คือว่า จักรวาลทั้งหมดแบ่งเป้น ๒ ส่วนคือ คัพภธาตุและวัชรธาต ธาตุทั้ง ๒นี้รวมกันเป็นร่างมหาไวโรจนะคัพภธาตุเป็นพลังฝ่ายจิต เป็นพลังสถิตสงบนิ่งอยู่ภายใน (Passsive) ส่วนวัชราตุเป็นพลังฝ่ายวัตถุ เป็นพลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว (Active)
ภาพด้านพุทธวิทยา คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย และอุตตรรูปอื่น เป็นบุคคลาธิษฐานของนัยต่างๆแห่งสัจภาวะหรือขั้นต่างๆของมรรคาเป็นพลังฝ่ายชายที่ปรากฏร่วมกันอย่างแยกไม่ออกกับพลังศักติซึ่งเป็นพลังฝ่ายหญิง ศักตะคือร่างบุรุษหมายถึงอุบาย (กรุณา) ศักติคือร่างสตรีหมายถึง ปรัชญา
ภาพด้านปัจเจกชน ในตัวของแต่ละบุคคล ปรัชญากับกรุณาเป้นพลังที่ไหลเลื่อนตามเส้นประสาทออกทางช่องจมูก เรียกว่า “รสนา (ลิ้มรส- บุรุษ)” การปฏิบัติโยคะชั้นสูงของพุทธตันตระใช้วิธีการประสานพลังตามเส้นประสาททั้ง ๒นี้ เป้นผลก่อให้เกิดละเอียดอ่อนสามารถนำไปรวมอยุ่ในประสาทกลาง เรียกว่า “อวธูตี” พลังนี้จะก่อให้ปฏิกิริยาขึ้นที่จิต (Mental) ต่อจากนั้นกระทบจิตพิเศษ (Super conscious) และท้ายที่สุดจะก่อปฏิกิริยาที่อุตตรภูมิ (Transcendental Plane ) เป็นผลให้พลังแฝงทั้งหมดของบุคคลได้รับการกระตุ้นด้วยพลังไฟและรวมเป็นกลุ่มก้อน ก่อให้เกิดพลังมหาศาล แทงตลอดสรรพธรรม การประสานพลังอย่างนี้ เรียกว่า “ปรัชโยบาย” เป็นวิธีปฏิบัติซับซ้อนยากและอันตราย ผู้ปฏิบัติต้องอาศัยครูแนะนำอย่างใกล้ชิด
ภาพด้านสังคม ประเด็นทอภิปรายเกี่ยวกับนัยที่แท้จริงของ Sexual Sacramentalism การใช้สตรีเป็นสัญลักษณ์แทนปรัชญาและใช้บุรุษเป็นสัญลักษณ์แทนกรุณา และประสานสัญลักษณ์ทั้งสอง เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดพลังนำไปสู่จุดหมายสูงสุด ทำให้เกิดลักษณะนอกรีตในยุคต่อมา เช่นมีการสร้างรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ (กรุณา) อยู่ในอ้อมกอดของเทพี(ศักติ- ปรัชญา ) มีการประยุกต์หลักการนี้เพื่อปฏิบัติ นำสตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนการปฏิบัติ โดยเชื่อว่าจะเป็นพลังกระตุ้นให้เกิดการบรรลุธรรมเร็วขึ้น การใช้ตัณหา เป็นอุปกรณ์เพื่อไปสู่จุดหมาย โดยปรับสภาพตัณหาให้บริสุทธิ์ (Sublimation of Desire) เป็นยานที่จำนำไปสู่ความหลุดพ้น “การหลั่งน้ำอสุจิคือการปลุกโพธิจิต”
พระอาทิพุทธะ
พระอาทิพุทธะ แปลว่า พระพุทธเจ้า ผู้เป็นกำเนิด (Primordial Buddha) ข้อความในคุณการุณฑวยูหะเขียนไว้ว่า “ในครั้งโน้นไม่มีอื่นนอกจากพระศัมภู นั้นคือ พระสวยัมภู พระองค์ผู้มากก่อนสรรพสิ่ง เกิดเองเป็นเองพร้อมกับโลก ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด จึงได้นามว่า อาทิพุทธะ กระแสแนวคิดที่ทำให้เกิดเรื่อง อาทิพุทธะ” มีเชื้อของลัทธิเทวนิยมส่วนหนึ่งเป็นความพยายามของผู้ประกาศพระพุทธศาสนาในนยุคที่จะต่อสู้กับกระแสเทวนิยม
พระธยานีพุทธะ
พระธยานีพุทธะถือว่าเป็นบุตรผู้สืบสายด้านจิตใจ (Spiritual Son ) ของพระอาทิพุทธะ แท้ที่จริง สาระแห่งพระธยานีพุทธะก็คือ “ธรรมกาย” ประทับสงบนิ่งอยู่ในสวรรค์ชั้นอรูปธาตุ (อรูปพรหม ?) แสดงธรรมลึกซึ้งแก่สัตว์โลกตลอดเวลา เมื่อปรากฏคู่กับศักติ จะอยู่ในรูป “ยับ-ยูม” พระธยานีพุทธะที่ปรากฏชื่อมี ๕ พระองค์ เมื่อสวมมงกุฏทิเบตเรียกว่า มกุฏพุทธะ (Crowned Buddha) แวดล้อมพระธยานีโพธิสัตว์ ชาวทิเบตนิยมทำภาพวาดพระธยานีพุทธะมากกว่าที่สร้างเป็นพระพุทธรูป ในวรรณกรรมพระพุทธะศาสนาในทิเบตบางเล่มปรากกชื่อพระธยานีพุทธะอีกองค์คือ พระวัชรสัตตวะแทนที่ พระอักโษภยะ แต่โดยที่พระกายอันเป็นรูปตามตรีกาย ทรงเป็นธรรมกาย หรือพระกายแห่งการตรัสรู้ พระธรรมของพระพุทธเจ้า และด้วยอำนาจฌานของพระธยานนีพุทธะทำให้เกิดพระธยานีโพธิสัตว์
โลกประกอบด้วยจักรวาลธาตุหรือขันธ์ ๕ และขันธ์เหล่านี้เป็นพลังจักรวาลที่อมตะไม่มีเบื้องต้นและที่สุด นั่นคือพระธยานีพุทธะ โดยมีพระอาทิพุทธะเป็นศูนย์กลางในโลกปัจเจกบุคคลก็ก็มีขันธ์ ๕ เป็น ส่วนประกอบพระธยานีพุทธะที่ประจำอยู่ในนแต่ละขันธ์แสดงถึงโพธิกรรมที่แทรกอยู่ โดยยกฐานะขึ้นเป็นเทพในวัชรยาน ปรากฏในรูปของพระธยานีพุทธะ แต่ก็ได้พยายามเสนอแนวคิดในรูปแห่ง “เอกเทวนิยม” โดยสร้างทฤษฎี “วัชรธร” คือ อาทิพุทธะขึ้นมา วัชรยานถือว่าอาทิพุทธเป็นเทพสูงสุด เป้นเทพองค์เดียวที่เป็นต้นกำเนิดของพระธยานีพุทธะทั้งหลาย
พระธยานีพุทธเป็นพระพุทธเจ้าพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการเป็นโพธิสัตวื พระองค์ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์สิ่งใด แต่การสร้างสรรค์ดลกเป็นหน้าที่ของเทวดพธิสัตว์ผู้เป็นเหล่ากอของพระธยานีพุทธะ ทฤษฎีพระธยานีพุทธะได้รับการเผยแพร่ในราว พ.ศ. ๘๐๐ เกิดมาจากทฤษฎีสัสสตภาวะของขันธ์ ๕
พระธยานีพุทธะทุกองค์มีศีกดิ์หรือเทพธรรมที่ทรงแสดงคู่เดียวเรียกว่า อาทิธรรม หรือ อาทิปรัชญา พระธยานีพุทธะทั้ง ๕ องค์ คือ
พระไวโรจน์พุทธะ
พระอักโษภยะ
พระรัตนสัมภวะ
พระอมิตาภะ
พระอโมฆสิทธิ
พระธยานีโพธิสัตว์
พระธยานีโพธิสัตว์ ผู้ที่อยู่ในรูปสัมโภคกาย สถิตอยู่ในสวรรค์รูปธาตุ พระธยานีโพธิสัตว์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมาก คือกลุ่ม ๕ อาจเป็นเพราะถือว่าเกิดมาจากพระยานีพุทธะโดยตรง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถือเป็นบุตรทางจิตของพระธยานีพุทธะ เป็นสังฆะผู้สร้าง เป็นผลิตผลของการรวมกันระหว่างพระพุทธะ (จิต)พระธรรม (วัตถุ) บางตำนานบอกว่า พระยานีโพธิสัตว์ได้รับพลังปฏิบัติการจากพระอาทิพุทธะโดยผ่านพระธยานีพุทธะวัมนธรรมเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ถือเป็นจุดเด่นที่สุดของพระพุทธศาสนามหายานทั้งยุคดั้งเดิมและยุคใหม่หรือตันตรยานซึ่งแพร่หลายในทิเบต รูปของพระโพธิสัตว์ที่สร่างขึ้นนั้นมีทั้งที่เป็นแบบตันตระ (Tamtra Form) และไม่ใช่ตันตระ (Non- tantra Form ) ไม่ปรากฏหลักฐานสนับสนุนมากนักว่า เพราะเหตุไรจึงมีทั้งแบบตันตระและไม่ใช่ตันตระ การสร้างรูปพระโพธิสัตว์ด้วยวัตถุที่แน่นหนามั่นคง นิยมมากในยุคที่บ้านเมืองรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นเมืองมีปัญหา ประชาชนต้องอพยพย้ายถิ่น การวาดรูปพระโพธิสัตว์เป็นที่นิยมมากกว่า เพราะน้ำหนักไม่มากสามารถนำติดตัวไปได้
ภารกิจการสร้างโลก
หน้าที่เชิงจักรวาลวิทยาอย่างหนึ่งของพระโพธิสัตว์ คือ การสร้างโลก ซึ่งคงไม่ได้หมายถึงการท้องฟ้า แผ่นดิน แม่น้ำ ภูเขา และสภาพแวดล้อมต่างๆ บนโลกนี้ แต่หมายถึงการสร้างยุคสมัยบนโลกนี้
พระสมันตภัทระ บุตรของพระธยานีพุทธไวโรจนะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีพุทธกกุสันธะ สร้างโลกยุคที่ ๑
พระวัชรปาณี บุตรของธยานีพุทธอักโษภยะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีพุทธโกนาคม สร้างโลกยุคที่ ๒
พระรัตนปาณี บุตรของพระธยานีพุทธรัตนะสัมภวะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีพุทธกัสสปะ สร้างโลกยุคที่ ๓
พระอวโลกิเตศวร หรือ พระปัทมปาณี บุตรของพระธยานีพุทธะ อมิตาภะ ผู้แสดงพระองค์บนโลกเป็นมานุษีพุทธโคตมศากยมุนี สร้างโลกยุคที่ ๔ ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน
พระวิสวะปาณี บุตรของธยานีพุทธอโมฆสิทธิผู้จะแสดงพระองค์บนโลกเป็นพระมานุษีไมเตรยะ จะสร้างโลกยุคที่ ๕
พระสมันตรภัทระ มีเครื่องหมายประจำ คือ แก้วสารพัดนึก
สีประจำ คือ สีเขียวหรือสีเหลือง
สัญลักษณ์ คือ ดอกบัวน้ำเงิน
พาหนะ คือ ช้าง
ปาง คือ ปางรำพึง (วิตก) แลละปางประทานพร
พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ๕ เป็นผู้สูงส่งด้านปัญญา เทียบเท่าอาทิพุทธะ แต่ต่อมาถูกลดฐานะลงไปนิกายโยคาจารกล่าวว่า “พระองค์เป็นผู้สร้างระบบโยคะ” ภาพที่แสดงไว้ในที่ต่างๆ นิยมสวมมงกุฏ มือซ้ายถือแก้วสารพัดนึกดอกบัวสีน้ำเงินอยู่บนบ่าซ้าย มือขวาแสดงท่าปางรำพึงประทับนั่งหรือยืน บางครั้งมีสักติที่อยู่ในท่ายับ – ยุมเคียงข้าง
พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ๘ มือขวาแสดงท่าปางรำพึงและประทานพร ถือกลีบบัวที่รองรับแก้วสารพัดนึก มือซ้ายถือวัชระ บางครั้งระบายสีเหลือง ในประเทศญี่ปุ่น จะพบรูปพระสมันตรภัทระอยู่ด้านขวาพระศากยมุนี มีพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เคียงคู่อยู่ด้วย พระองค์อยู่บนหลังช้าง ๓ เศียร หรือ ๑ เศียร ๖ งา คุกเข่าหรือยืน ถือดอกบัว ในประเทศสจีนก็เหมือนนกันจะพบรูพระสมันตรภัทระอยู่คู่กับพระศากยมุนีพุทธะและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ประทับอยู่บนหลังช้าง
พระวัชรปาณี
เครื่องหมายประจำ คือ วัชระ
สีประจำ คือ นำเงินดำหรือสีขาว
สัญลักษณ์ คือดอกบัวสีน้ำเงิน
ศักติ คือ นางสุชาดา
พระวัชรปาณีปรากฏอยู่ในร่างมนุษย์ก็มี ร่างอื่น ๆ ก็มี มี ๑ เศียร ๔ แขน หรือ ๓ เศียร ๖ แขน หรือ ๔ เศียร ๔ แขน ๔ ขา แท้ที่จริงแล้ว พระองค์คือภาพสะท้อนของพระธยานีพุทธอักโษภยะ บางตำนานบอกว่า พระวัชรปานีคือท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นเทพแห่งฝน มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระพุทธเจ้าต่อสู้กับพวกครุฑ หรือการบำเพ็ญพุทธกิจสำคัญ หรือบางคราวก็คอยปกป้องพวกนาคจากการรุกรานของพวกครุฑ หรือในบางโอกาส ถือเป็นศัตรูฉกาจของพวกปีศาจ
รูปของพระวัชรปานีปรากฏคู่กับพระอมิตาภะ (หรือมัญชุศรี) และพระปัทมปาณี ในวรรณกรรมเนปาล มีรูปพระวัชรปาณีประกอบ ยืนอยู่ด้านซ้ายของพระทีปังกรพุทธเจ้า หรือด้านขวาของนางตารา มือขวาถือวัชระมีกลีบบัวริองรับ มือซ้ายอยู่ในปางประทานพร ยืนขวาไขว้กัน บางทีจะพบรูปของพระวัชระปานีสีดำ
พระรัตนปาณี
พระธยานีโพธิสัตว์รัตนปาณีไม่เป็นที่นิยมมากกนักจึงไม่มีรูปปั้นหรือรูปภาพปรากฏแพร่หลาย รุปที่ปรากฏจะสวมมงกุฏ ๕ แฉกและสวมเครื่องประดับ มือขวาแสดงท่าปางประทานพร บางทีถือดอกบัวมือซ้ายประคองแก้วสารพัดนึกบนหน้าตักประติมากรรมจีน มีแก้วสารพัดนึก (ไข่มุก) ๓ ชิ้นอยู่ที่มงกุฏ วางเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม มีแสงประกาย มือซ้ายถือแก้วสารพัดนึกมีรัศมีเปล่งออกเป็นสามแฉก มือขวาแสดงท่าประทานพร
พระอวโลกิเตศวร
พระอวโลกิเตศวร กอ่กำเนิดมาจากการประทับเข้าฌาณของพระอมิตาภพุทธเจ้าในยุคดั้งเดิม มีบทบากด้านการช่วยเหลือผู้ประสพทุกข์ ตรวจดูความเป็นไปของโลก พระอวโลกิเตศวรดั้งเดิมเป็นชาย ต่อมาในประมาณพ.ศ. ๑๑๐๐ เทพแห่งเมตตาเป็นที่บูชาสักการะมากในจีน ในทุกวัดจะมีรูปเทพแห่งเมตตา ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แห่งความอ่อนโยน แต่ยุคนี้ไม่มีการตั้งชื่อเทพแห่งเมตตา จึงมีผุ้สถาปนาพระอวโลกิเตศวรขึ้นเป็นเทพแห่งเมตตา ในนามว่า “กวนยิน”
“เมตตา” เป็นสัยลักษณ์แห่งเพศหญิง เมื่อกำหนดพระอวโลกิเตศวรให้เป็นเทพแห่งเมตตาแล้ว จึงเชื่อว่า เทพีแห่งเมตตานั้นเป็นการแสดงออกมาของพระอวโลกิเตศวร
มานุษีพุทธะ
พระมานุษีพุทธะคือนิยตมานุษีโพธิสัตว์ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์หมดแล้ว จึงบำเพ็ญบารมีตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เปลี่ยนสถานะจากโพธิสัตว์เป็นพุทธะ
พระมานุษีโพธิสัตว์
มานุษีโพธิสัตว์ เป็นผู้ทำหน้าที่นำนโยบายของธยานีพุทธะไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน มานุษีโพธิสัตว์มี ๒ ประเภท คือ (๑) อนิยตมานุษีโพธิสัตว์ คือผู้บำเพ็ญบารมียังไม่ถึงภูมิ ๑๐ มีประมุทิตาเป็นต้น มีธรรมเมฆาเป็นที่สุด (๒) นิยตมานุษีโพธิสัตว์ คือผู้บำเพ็ญบารมีถึงภูมิที่ ๑ ในจำนวนภูมิ ๑๐
ในทัศนคติของตันตระถือว่ามานุษีพุทธะนั้นมีจำนวนเหลือคณานับ เปรียบด้วยเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา มานุษีพุทธะเหล่านี้คือผู้อวตารมาจากอาทิพุทธะ
จากที่ได้ศึกษาบทบาท สถานะของหมู่เทพแห่งตันตระแล้ว พบว่า หมู่เทพทั้งหลายตั้งแต่อาทิพุทธะ จนถึงมานุษพุทธะ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน โดยได้รับอิทธิพลต่อๆกันมาจากอาทิพุทธะ ผู้เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวง ครอบจักรวาลฉายภาพออกมาโดยการมีสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายหญิง ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกกันได้ มีความสอดคล้องกันกับการหมุนไปแห่งโลกธาตุ
โครงสร้างความสัมพันธ์แห่งหมู่เทพฯ
(Structural Relationship of Tantra Gods)
พระอาทิพุทธะ
พระธยานีพุทธะ พระธยานีโพธิสัตว์
พระไวโรจน์พุทธะ พระสมันตภัทระ
พระอักโษภยะ พระวัชรปาณี
พระรัตนสัมภวะ พระรัตนปาณี
พระอมิตาภะ พระอวโลกิเตศวร
พระอโมฆสิทธิ พระวิสวะปาณี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น