วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

พระอรหันตายแล้วไปไหน

จากการศึกษาเกี่ยวกับทัศนพระอรหันต์ตามคัมภีร์ต่าง ๆแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและเมื่อพระพุทธองค์จะทรงปรินิพพานทรงตรัสแก่สุภัทรที่เข้าเฝ้าและทูลถามเกี่ยวกับพระอรหันต์ และพระองค์ตรัสถึงว่าถ้าสมณพราหมณ์ปฎิบัติตามคำสอนของพระองค์และถึงแม้พระองค์จะทรงปรินิพพานไปแล้วโลกนี้ก็จะไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์
ในคัมภีร์สันสกฤตชื่อเภทธรรมมติจักรศาสตร์ ของพระวสุมิตร และอรรถกถาแห่งคัมภีร์นั้น ซึ่งแต่งโดยคันถรจนาจารย์ “กุยกี” ยุคราชวงศ์ถังกล่าวไว้ว่า มูลเหตุแห่งการทำสังคายนาครั้งที่ ๒ นี้มิได้มีมูลเหตุจากวัตถุ ๑๐ ประการ แต่เกิดด้วยทิฎฐิ ๕ ของภิกษุมหาเทวะ ทิฐิ ๕ ข้อ คือ
๑.พระอรหันต์อาจถูกมารรบกวนยั่วยวนในความฝันจนอสุจิเคลื่อนได้
๒.พระอรหันต์อาจมีอัญญาณได้
๓.พะอรหันต์อาจมีกังขาได้
๔.ผู้รู้ว่าตนบรรลุพระอรหัตผลก็โดยการแนะนะพยากรณ์ของผู้อื่น
๕.มรรคผลจะปรากฏต่อเมื่อบุคคลผู้บำเพ็ญเปร่งคำว่า “ทุกข์ หนอ” [1]
ดังนั้นทัศนะเกี่ยวกับพระอรหันต์จึงมีความสำคัญเป็นประการหนึ่ง ครั้งสมัยหลังพุทธกาลทิฎฐิเกี่ยวกับพระอรหันต์ของภิกษุมหาเทวะก็ยังมีผลทำให้เกิดความแตกแยกพระสงฆ์สองฝ่ายคือมหาสังคิกะ กับฝ่ายเถรวาท หรือเรียกอีกอย่างว่า อาจาริยวาท
การทำความเข้าใจในพระอริยเจ้านั้นมีหลักเกณฑ์การวัดโดยมีหลักการที่เรียกว่าสังโยชน์ ๑๐ [2] หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ได้แก่
1. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมุติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริงที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้าทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง
2. จิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่าง ๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฎิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา
3. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฎิบัติต่าง ๆ โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นของขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แค่รูปแบบหรือพิธีรีตองก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฎฐิ คือปฎิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้เป็นนั่นเป็นนี้ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและวัตร ทำให้ปฏิบัติเขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป ไม่เข้าสู่อริยมรรค
4. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณ
5. ปฎิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
6. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่นติดใจในอารมณ์แห่งรูปณาน พอใจในรสความสุขความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น
7. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภาพ เป็นต้น
8. มานะ ความถือตัว หรือสำคัญว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียมเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น
9. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป
10. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผลหรือไม่รู้อริยสัจจ์
ทักขิไณยบุคคล หรือพระอริยบุคคล ๘ นั้น ว่าโดยระดับหรือขั้นตอนใหญ่แล้ว ก็มีเพียง ๔ และสัมพันธ์กบการละสังโยชน์ดังนี้
ก. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรือ สอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่)คือ
1. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฎิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริงแล้ว [3] เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำให้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
2. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกข์ได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปั ญญา นอกจากละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงด้วย
3. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในศีล ทำได้บริบูรณ์ในสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก ๒ ข้อคือ กามราคะ และ ปฎิฆะ (รวมเป็นละสังโยชน์เป็นเบื้องต่ำได้ครบ ๕ ข้อ)
ข. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) หรืออนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่เลย) คือ
4. พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ) หรือผู้หักกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสามคือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีกทั้ง ๕ ข้อ (รวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐)
พระเสขะ แปลว่าผู้ยังต้องศึกษา คือยังมีกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนที่จะต้องทำต่อไปอีก จึงได้แก่ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติในสิกขา เพื่อละสังโยชน์และบรรลุธรรมสูงขึ้นต่อไปจนถึงเป็นพระอรหันต์ สวนพระอเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา คือทำกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติในสิกขาต่อไป ไม่มีกิเลสที่ต้องพยายามละต่อไปและไม่มีภูมิธรรมสูงกว่านั้นที่จะต้องขวนขวายบรรลุอีก จึงได้แก่พระอรหันต์
การแบ่งประเภทนิพพานและพระอรหันต์ที่รู้จักกันทั่วไป คือที่แบ่งเป็นนิพพานธาตุ ๒ ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ [4] ได้แก่
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ
๒.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื้อเหลือ
สิ่งที่เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทในที่นี้คือ “อุปาทิ” ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง หรือสภาพที่ถูกอุปาทิยึดไว้มั่น หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕) เมื่อถือความตามคำอธิบาย จึงได้ความหมายว่า
๑.สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ หมายถึงพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่คือมีเบญจขันธ์เหลืออยู่
๒.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ หมายถึงพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้ว
อนึ่ง นิพพานอย่างแรกแปลความหมายกันต่อไปอีกว่า หมายถึงดับกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า กิเลสปรินิพพาน (ดับกิเลสสิ้นเชิง) ส่วนนิพพานอย่างที่สอง ก็แปลกันต่อไปว่า ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า ขันธปรินิพพาน (ดับขันธ์ ๕ สิ้นเชิง) ดังนั้นเพื่อความชัดเจนมีบาลีที่พระพุทธองค์ทรงตรัสดังนี้
“แท้จริง พระสูตรนี้พระผู้พระภาคพระองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ ภิกษุทั้งหลายนิพพานธาตุ ๒ อย่างนี้ กล่าวคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพาน”
“ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสริฐแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วมีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภาพหมดสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ อินทรีย์ ๕ ของเธอยังดำรงอยู่เทียว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย เธอย่อมได้เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ย่อมเสวยทั้งสุขและทุกข์อันใดเป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ของเธอ อันนี้เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”
“ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว..หลุดพันแล้วเพราะรู้ชอบ อารมณ์ที่ได้เสวย ทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของเธอ ซึ่งเธอไม่ติดใจเพลินแล้วจักเป็นของเย็น ข้อนี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”
ดังนั้นคำถามที่ว่าพระอรหัตน์ตายแล้วไปไหน มีทัศนอยู่ ๒ประการคือถ้าเป็นอรหันต์ที่มีเบญจขันธ์ก็จะเป็นลักษณะสอุปาทิเสสนิพาน ส่วนพระอรหันต์ที่เสียชีวิต (ตาย) แล้ว ก็จะเข้าสู่ภาวะนิพพานไม่เกิดและไม่ตายอีกพ้นจากวัฏฏสงสาร เป็นอเสสบุคคล คือไม่ต้องศึกษาอะไรอีก และเป็นอริยบุคคลที่ไม่ต้องเกิดตายอีก ดังในพระสูตร ๆ ที่พราหมณ์คนหนึ่งสามารถทำนายคนตายแล้วไปไหนได้อย่างถูกต้องแต่เมื่อเคาะกะโหลกพระอรหันต์กลับไม่รู้ว่าท่านตายแล้วไปไหน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าพระอรหันต์ตายแล้วไม่มีเกิดอีก ดังนั้นจึงตายแล้วไม่ไปที่ไหนเข้าสู้ภาวะนิพพานนั่นเอง
พระอะเสขบุคคล
ระดับที่ ๔ พระอรหันต์
ศีล สมาธิ และปัญญาบริบูรณ์

๖.รูปราคะ
๗.อรูปราคะ
๘.มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา
๑.สักกายทิฎฐิ
๒.วิจิกิจฉา
๓.สีลัพพตปรามาส
๔. กามราคะ
๕.ปฎิฆะ
ศีลและสมาธิบริบูรณ์
ปัญญาพอประมาณ
+ ราคะ โทสะ โมหะเหลือเบาบาง
ระดับที่ ๒ พระสกิทาคามี
ศีลบริบูรณ์
(สมาธิและปัญญาพอประมาณ
ระดับที่ ๓ พระอนาคามี
ระดับที่ ๑ พระโสดาบัน
พระเสขบุคคล
สิกขาที่บำเพ็ญ
สังโยชน์ที่ละได้
ทักขิไณยบุคคลกรอบการเปรียบเทียบระอริยบุคคล/ทักขิไณยบุคคล
[1] ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดย ส. หน้า ๑๙๒-๑๙๔
[2] พระธรรมปิฏก (ป.อ ปยุตโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์,มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๘ หน้า ๑๑๕-๑๑๖
[3] ดู สํ.ม. ๑๙/๑๔๓๐-๒/๔๓๕-๕
[4] ขุ.อิติ ๒๕/๒๒๒/๒๕๘ คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ เรียกการแบ่งอย่างว่าเป็นการแบ่งตามปริยายแห่งธาตุแล้วแสดงวิธีแบ่งอีกอย่างหนึ่งตามประเภทแห่งอาการ เป็นนิพพาน ๓ คือ สุญญตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน และอัปปณิหิตนิพพาน (สงฺคห . ๓๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น