๑. ความหมายของคำว่าปรัชญา
คำว่า “ปรัชญา” ตามรูปศัพท์เป็นคำมาจากคำในภาษาสันสกฤต ๒ คำคือ “ปร” กับ “ชะญา” ปร แปลว่า ประเสริฐ เลิศ วิเศษ ส่วน ชญา แปลว่า ความรู้ ดังนั้น เมื่อรวม ปร กับ ชญา เข้าด้วยกันจึงเป็น ปรัชญา แปลว่า “ความรู้อันประเสริฐ” ซึ่งหมายถึง “ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดอันเกิดแต่การเรียนและคิด”ในพจนานุกรมไทยได้ให้ความหมายของปรัชญาไว้ว่า ปรัชญาคือ “วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”ในภาษาอังกฤษ คำว่า ปรัชญา ท่านใช้คำว่า “ Philosophy” ซึ่งความหมายของคำ ๒ คำนี้ไม่ตรงกันเลยทีเดียวคือPhilosophy มาจากคำในภาษากรีก ๒ คำ คือ “Philo” (Love) แปลว่า “ความรัก” และ “Sopia” (Wisdom) แปลว่า “ความรุ้” เมื่อรวม Philo กับ sophia เข้าด้วยกันจึงเป็น Philosophy = Love of wisdom แปลว่า “ความรักในความรู้” หรือ “ความรักในปัญญา”
จากการนิยามความหมายหรือคำจำกัดความที่นักปรัชญาที่มีชื่อเสียของโลกได้ให้ไว้สามารถสรุปรวมได้ว่า “ปรัชญา” เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องมนุษย์ โลกธรรมชาติและชีวิตแบบรวม ๆ กัน ปรัชญาพยายามประมวลเหตุการณ์ และความรู้ต่าง ๆ เพื่อหาข้อนยุติที่แน่นอน และปรัชญามิใช่ว่าด้วยเรื่องความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ปรัชญาได้พยายามค้นคว้า แสวงหาความจริง ความรู้ที่แน่นอน และสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้
๒. สาเหตุของการเกิดปรัชญา
จากการที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้าต่อสภาพแวดล้อม เหตุการณ์และปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยการค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ มากมายตามแนวความเชื่อ ประสบการณ์ และความรู้ของตนเอง จึงทำให้เกิดปรัชญาขึ้น ซึ่งเราอาจสรุปสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรัชญาขึ้นได้ ดังนี้
v ความประหลาดใจ
v ความสงสัย
v การทดสอบเชิงวิจารณ์
v ความใจกว้าง
v การยอมรับคำแนะนำทางประสบการณ์และเหตุผล
v ความไม่มีอุปาทาน
v ความเพียรพยายามไม่ลดละ
v ความไม่ด่วนสรุป
๓. วิวัฒนาการแห่งปรัชญา
ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ และวิวัฒนาการควบคู่กันมากับมนุษย์เรา กล่าวคือ มนุษย์รู้จักคิดตั้งแต่ยุคแรก จากการคิดนั้นก่อให้เกิดปัญญาเป็นปรัชญา เมื่อมนุษย์วิวัฒนาการเจริญมาเรื่อย ๆ ความคิดและปัญญาของมนุษย์ก็วิวัฒนาการเจริญขึ้นเป็นลำดับควบคู่กันมา จนปรากฏให้เราได้เห็นได้ศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่เจริญหรือเสื่อมก็ได้
มนุษย์เราในแต่ละยุคแต่ละสมัย ย่อมจะมีแนวความคิดและจุดสนใจแตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยปกติแล้วมนุษย์จะคิดอันจะก่อให้เกิดปัญญาขึ้นก็เพาะสิ่งเร้าหรือแรงจูงใจ ซึ่งอาจจะมาจากภายนอกหรือเกิดขึ้นภายจิตใจของเขาเอง ดังนั้นถ้าเราศึกษาปรัชญาต่อไปแล้ว เราจะเข้าใจว่า ทำไมมนุษย์ในยุคสมัยนั้น ๆ จึงคิดในเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นได้ โดยปกติแล้วจะถือว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสำคัญยิ่ง
แม้ว่า แนวความคิดของมนุษย์อ้นก่อให้เกิดปัญญา กลายเป็นปรัชญานั้น จะมีวิวัฒนาการที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย เราก็สามารถกล่าวสรุปได้ว่าการวิวัฒนาการแห่งปรัชญามี ๓ สาย คือ
๑. ปรัชญาทางธรรมชาติ
๒. ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์
๓. ปรัชญาทางศาสนา
อยากได้ทรรศนะเชิงเปรียบเทียบระหว่างปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออก อ่ะคับ
ตอบลบอยากได้ทรรศนะเชิงเปรียบเทียบระหว่างปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออก อ่ะคับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบอยากได้ทรรศนะแบบเดิมและทรรศนะที่ใช้ในยุคปัจจุบัน
ตอบลบความหมายคำว่า"ปรัชญา"โดยรูปศัพท์และโดยเนื้อหาต่างกันอย่างไรคะ
ตอบลบเฉียบ
ตอบลบปรัชญา กับ Philosophy ต่างกันอย่างไรครับ
ตอบลบขอบคุณครับที่ช่วยบอกนะครับ
ตอบลบ