คำว่า “พระพุทธศาสนา” หมายถึงประมวล หรือ ระบบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง มีฐานะเป็นศาสนาหนึ่งในโลก หากพิจารณาดูตามเกณฑ์การจัดเพื่อให้มีลักษณะเฉพาะแห่งความเป็นศาสนาซึ่งแตกต่างจากความเป็นเพียงลัทธิหรือเป็นเพียงระบบปรัชญาแล้ว จะเห็นว่า ระบบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ารวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ ภายนอก เมื่อประมวลรวมกันแล้วก็จัดเป็นศาสนาได้อย่างสมบูรณ์แบบเหมือนศาสนาอื่น ๆ ทั่วโลก คือ มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาผู้ประกาศศาสนา, มีนักบวชผู้สืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้าคือพระสงฆ์และสามเณร, มีคัมภีร์สำหรับบันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่าพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีอายุยาวนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว, มีศาสนสถานและศาสนวัตถุเช่น มีพระอุโบสถ พระวิหาร มีกุฏิสงฆ์ มีศาลาการเปรียญ และมีหอธรรม เป็นต้น และองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนาก็คือเสมาธรรมจักรเป็นองค์ประกอบทางสัญลักษณ์ที่สำคัญที่แสดงให้ผู้พบเห็นทราบได้ทันทีเลยว่า นี่คือสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
นอกจากองค์ประกอบดังกล่าวนี้แล้วพระพุทธศาสนายังประกอบไปด้วยแกนและเปลือกหุ้ม ๕ อีกชั้น ซึ่งสามารถอธิบายได้จากชั้นในสุดออกมาถึงชั้นนอกสุดได้ดังนี้ คือ
๑. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นพุทธภาวะหรือ “พุทธธาตุ” หมายถึงประสบการณ์ทางจิตชั้นสูง ที่บุคคลสามารถเข้าถึงเกิดความสว่างด้วยความรู้ระดับญาณ เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส มีความสงบสุข ปราศจากความวุ่นวายใด ๆ หรือที่เรียกว่า สะอาด สว่าง สงบ ตามหลักไตรลิกขาที่ถือว่าเป็นผลจากการปฏิบัติโดยมรปรัชญาพุทธเป็นประทีปนำทาง
๒. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นปรัชญา เช่น ที่ปราากฏเนื้อหาอยู่ในพระสูตรและพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกในส่วนที่ว่าด้วยปัญหาพื้นฐาน ๔ ประการ เกี่ยวกับชีวิต โลก จักรวาล เป็นคำตอบปัญหาที่ว่าชีวิตคืออะไร เกี่ยวกับชีวิตอยู่ที่ไหน เป้าหมายสูงสุดของชีวิตและวิถีชีวิตทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นคืออะไร พุทธปรัชญาเป็นความจริงสูงสุดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบจากกฏธรรมชาติที่ใช้สอนบรรพชิตและฆราวาสให้ยึดถือปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตขึ้นสู่ระดับโลกุตรปัญา
๓. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นระบบจริยธรรม ที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาของปรัชญา ที่กล่าวถึงคุณค่า ความดี ความงาม ความถูกต้อง ความเจริญ คงวามเสื่อม ว่าด้วยหน้าที่ที่จะนำปปฏิบัติต่อตนเองและต่อสังคมเป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเพื่อให้มนุษย์มีการดำเนินชขีวิตที่ดีงาม เป็นพุทธจริยธรรม สำหรับผู้ครองเรือน เป็นคำสอนในระดับโลกิยธรรม
๔. พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาพื้นบ้าน หมายถึงการเคารพนับถือพระรัตนตรัยและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระรัตนตรัยในฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๕. พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันแห่งชาติ หมายถึงพุทธบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ของพุทธบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษา การปฏิบัติ บริหาร และเผยแผ่ พระธรรมที่เป็นพุทธปรัชญา และพุทธจริยา เช่นสถาบันสงฆ์ วัดวาอาราม ตลอดจนสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น
จากองค์ประกอบทั้ง ๕ ดังกล่าวมานี้ มีส่วนที่เป็นหลักสำคัญ คือส่วนที่เป็นหลักความจริงที่เป็นกลาง ๆ ตามธรรมชาติในพุทธศาสนามากล่าวไว้ในส่วนที่เกี่ยวด้วยปรัชญาอย่างหนึ่ง กับหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับจริยศาสตร์แนวพุทธ เพื่อที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดของชีวิตในฐานะที่เกิดมาเป็นชาวพุทธอย่างหนึ่ง
พระพุทธศาสนานอกจากจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางสัญชาตญาณ ในการเอาตัวรอดของเองของเผ่าพันธุ์และจากปฏิริริยาทางอารมณ์ของมนุษย์แล้ว ศาสนายังถือกำเนิดขึ้นจากเหตุผลทางปัญญา ( Inellecyual orrigin ) ขององค์ศาสดาในแต่ละศาสนาด้วย
ปัญญาในบริบทนี้ หมายถึงสมรรถภาพทางจิตที่คิดตมหลักเหตุผล (Reasoning) เพื่อแสวงหาแนวทางในการแก่ไขเพื่อนำมาสอนมาชี้แนะต่อมวลมนุษย์ที่ตกอยู่ภายในความทุกข์อันเกิดจากปฏิกิริยาของสัญชาตญาณและของอารมณ์ดังกล่าว
พุทธศาสนาเกิดขึ้นเนื่องจากเจ้าชายสิทธัตถะมองเห็นปัญหาของมนุาย์คือความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นเบื้องแรก มองเห็นความไม่เป็นธรรมในสังคมที่มีการแบ่งชั้นวรรณะเป็นประการที่สอง และมองเห็นความได้เปรียบของวรรระพราหมณ์ที่อ้างพิธีกรรมว่าตนเป็นตัวแทนของพระเจ้าเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับวรรณะของตนเป็นตัวแทนของพระเจ้าเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับวรรณะของตนเอง พราหมณ์ยืนยันศรุติว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้าที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เห็นความเชื่อที่กำหนดให้วรรณะต่ำยอมรับโดยดุษฎีว่าตนเองเกิดมาเพื่อรัขบใช้กรรมตามแต่พรหมลิขิต นี่คือ เหตุผลประการที่สามที่เจ้าชายสิทธัตถะไม่สามารถรับได้
หลังจากที่พระองค์ได้ค้นพบสัจธรรม เพราะเหตุผลดังกล่าวผลักดันให้แสวงหาทางเลือกใหม่ได้สำเร็จแล้ว พระพุทธองค์จึงได้สอนให้มนุษย์ใช้สติปัญญาของตนเป็นที่พึ่งของตน ปฏิเสธในความมีอยู่ของพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง พุทธศาสนาจึงจัดเป็นศาสนาเทวนิยมที่สอนให้มนุษย์ใช้ปัญญาแทนศรัทธา หากจะมีศรัทธาก็ให้เป็นศรัทธาที่นำไปสู่ปัญญาในภายหลัง ไม่สอนให้เชื่องมงาย แต่สอนให้เชื่อมั่นในการกระทำของตนเองอันประกอบด้วยปัญญา สอนให้วิเคราะห์ปัญญาด้วยหลักเหตุผล หรือหลักอิทัปปัจยตาว่าทุกข์หรือปัญหา (Problem) ย่อมเกิดมาจากเหตุปัจจัย หารที่จะแก้ปัญหาของชีวิตได้สำเร็จจะต้องแก้ที่เหตุด้วยศีล สมาธิ และปัญญา โดยแนวทายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) แห่งโพธิปักขิยธรรม (ธรรมอั้นเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้) อันมีมรรค ๘ เป็นอาทิ
ลักษณะพิเศษแห่งพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะระบอบการดำเนินชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ และเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นด้วยความพากเพียรพยายามของมนุษย์โดยตรง และเพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษย์โดยทั่วหน้าจึงมีผู้มองพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ กัน ซึ่งอาจแยกให้เห็นได้ เช่น
๑. พระพุทธศาสนาคือปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เพราะเน้นการปฏิบัติบนเหตุผลที่พิสูจน์ได้ เช่น หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นศาสนาแห่งการศึกษาเน้นว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถฝึกฝนได้
๒. พระพุทธศาสนาคือเหตุผลนิยม (Rationalism) เพราะสอนหลักปฏิจจสมุปบาทกฎแห่งกรรม ไตรลักษณ์ และอริยสัจ ๔ เป็นต้น
๓. พระพุทธศาสนาคือระบอบธรรมาธิปไตย (The Supremacy of Righteousness) เพราะไม่คัดค้านหรือโต้แย้งกับลัทธิใด แต่ในเรื่องการตัดสินว่าระบบใด คำสอนใด ลัทธิใด หรือ ทฤษฎีใดผิดถูกอย่างไรนั้น ได้ทรงแสดงหลักธรรมเพื่อเป็นเกณฑ์ไว้ เรียกว่าธรรมาธิปไตย กล่าวคือการกระทำใด ไม่ว่าจะเป็นส่วนแห่งปัจเจกชนหรือสังคม ถ้าหากประกอบด้วยหลักธรรมาธิปไตยแล้ว การกระทำนั้นก็เป็นอันถูกต้อง
๔. พระพุทธศาสนาคือระบอบพรหมจรรย์นิยม (Holy Life) เพราะแสดงหลักปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือ มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางดำเนินชีวิตด้วยหลักอัปปมาทธรรม
๕. พระพุทธศาสนาคือสันตินิยม (Pacifism) เพราะสอนไม่ให้เบียดเบียนกันด้วยหลักแห่งศีล เช่น เบญจศีล เบญจธรรมสอนเพื่อสันติภาพแก่โลกและชีวิตอย่างไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะรวมทั้ง สรรพสัตว์ก็ไม่ยกเว้น
๖. พระพุทธศาสนาเป็นอเทวนิยม (Atheism) เพราะปฏิเสธพระเจ้าสร้างโลก และสอนไม่ให้รอคอยวาสนา อาศัยอำนาจภายนอกมาช่วยเหลือ แต่สอนให้พึ่งตนเอง เช่น เรื่องกฎแห่งกรรม กฎแห่งไตรลักษณ์ เพราะสรรพสิ่งย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย
๗. พระพุทธศาสนาเป็นมนุษย์นิยม (Humanism) เพราะถือว่าความคิดที่เป็นจริงต้องก่อให้เกิดการกระทำ การกระทำนั้นต้องให้ผลที่เป็นประโยชน์และความสุขแก่มนุษย์ และความจริงทั้งหลายทั้งปวง ต้องเป็นเรื่องในชีวิตจริงของมนุษย์และคุณค่าของสิ่งใด ๆ ย่อมไม่อยู่เหนือคุณค่าของความเป็นมนุษย์ พุทธธรรมเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง เพราะมนุษย์เท่านั้นเป็นผู้สร้างโลก สร้างชีวิตมนุษย์เอง พร้อมกันนั้นก็คำนึงถึงศักดิ์ศรี และเสรีภาพแห่งมนุษย์เป็นสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น