วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

นิพพานเป็นอนัตตาได้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ทุกศาสนาและพระพุทธเจ้า ปฏิเสธ อัตตา จริงหรือไม่ และมีเหตุผลอะไร วันนี้จะขอเสนอ ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิเสธอัตตา และ จริงๆ ปฏิเสธ ทัศนะของผู้บรรยายเสนอคือ พุทธศาสนาเถรวาทกระแสหลัก ปฏิเสธ อัตตา ทางอภิปรัชญา ทุกชนิด ที่เป็นเถรวาทคือมีความแตกต่าง Early Buddhism (เป็นสมัยดังเดิมของพุทธเจ้า) ส่วนเถรวาทเป็นของ ทัศนะของพระเถระซึ่งเป็นนักปราชญ์ในสายพุทธศาสนาเถรวาทไม่ใช่ของพุทธเจ้าเลยทีเดียว พระพุทธเจ้าปฏิเสธอัตตา ๙๙เปอร์เซ็นต์ แต่ของเถรวาทปฏิเสธ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ในเมืองไทยหลายสำนักยอมรับ อัตตา
ความหมายของอัตตาคือ อาตมันในภาษาสันสกฤต หากยึดตามพระสูตรเป็นหลัก อัตตาคือ สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา เชื่อว่าเป็นตัวจริงของเราแต่ละคน ซึ่งบางครั้งก็ใช้ ชีวะบ้าง ตถาคตบ้าง มองง่ายๆคือ อัตตาเป็น วิญญาณอมตะ คล้ายกับ Soul แต่วิญญาณในตัวสัตว์หรือเรามีผู้คิดไปต่างๆ แล้วแต่ อาจหมายร่างกายนี้ที่เป็นอัตตาก็ได้ ถ้าเชื่ออย่างศาสนาเทวนิยม อัตตาคือ วิญญาณอมตะที่แฝงในตัวเรา
ตามพระไตรปิฎกมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. เป็นผู้คิดผู้กระทำ คือ ตัวจริงของเราที่อยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ต่างๆ ที่ปรากฎออกมา แล้วผู้กระทำเป็นอีกสิ่งหนึ่งจากความคิดความกระทำที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ในทางศาสนาเราถือว่าไม่มีผู้คิด ผู้กระทำ ในมหาตัณหาสังคายสูตร จะปฏิเสธ วิญญาณ ซึ่งวิญญาณเกิดเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ผู้คิดผู้กระทำ
๒. ความเป็นคนเดียวกันตลอดเวลา ไม่เปลี่ยนเป็นคนละคน คนเชื่อเรื่องอัตตา เชื่อว่า ถ้าคนหนึ่งทำคนนั้นจะต้องได้รับผล ไม่ว่าจะเป็นถาวรหรือ ชาตินี้ตายแล้วสูญ แต่ต้องมีความคงเป็นคนเดียวกัน แต่พุทธศาสนาปฏิเสธแนวคิดนี้ เช่น มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า ตนเองทำใช่ไหม คนอื่นทำใช่ไหม พระองค์ปฏิเสธหมด คนเดิมก็ไม่ใช่ คนละคนก็ไม่ใช่
๓. เป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจของเรา คนอินเดียเชื่อว่าอัตตาเป็นตัวของเราเองมันอยู่ในอำนาจของเราเอง บังคับบัญชาอย่างไรก็ได้ แต่พระองค์ทรงบอกว่าเราบังคับไม่ให้เจ็บ แก่ ตายได้
อัตตา คือตัวตนเราเอง ใน สัสสตทิฏฐิ คือ ไม่รู้จักตาย ข้ามภพชาติ จนกว่าจะพ้นจากวัฏฏะสงสาร แล้วไปอยู่เป็นอันเดียวกับ พรหมมัน หรือ สุทศิลา ของ เชน แล้วแต่ศาสนา
อัตตา คือ Self หรือ Person เราใช้เรียกชื่อเพื่อการสื่อสารเช่น ชื่อ วัชระ ซึ่งเป็นการสมมุติเพื่อใช้เท่านั้นเอง อัตตาเชิงประจักษ์ ไม่มีความหมายของตัวตนที่เป็นเอกเทศที่จะไปเวียนว่ายตายเกิด ไม่มี สิ่งที่เราปฏิเสธเป็น อัตตาเชิงอภิปรัชญา
อัตตามีลักษณะ ๒ ชนิด คือ อัตตาชนิดถาวรไม่รู้จักแตกดับ เป็นความเชื่อของ สัสสตทิฏฐิ (Eternalism) อีกอย่าง คือ ขาดสูญหลังตาย คือ อุจเฉททิฏฐิ (Anihilationism) เชื่อว่ามีแค่ขันธ์ ๔ ตายแล้วหมดไป
อนัตตา เป็นคุณศัพท์ คือ ไม่ใช่อัตตา ไม่มีอัตตา ถ้าเป็นนาม ใช้ อนัตตา คือ ความไม่ใช่อัตตา ความไม่มีอัตตา ในทางปรัชญา อนัตตา คือ ความไม่มีอัตตา ถ้าบอกความไม่ใช่อัตตายังไม่ชัดเท่าความไม่มี ถ้าบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาก็ถูก หรือ นิพพานเป็นอนัตตาก็ถูก ตรงกับหลักพุทธศาสนา ถ้าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ อัตตา ขันธ์ ๕ จะเป็นอ้ตตาต้องเที่ยงแท้ แต่ตามในอนัตตลักขณสูตร ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เพราะเปลี่ยนแปลงได้ จึงเรียกว่าเป็นอัตตาไม่ได้ขันธ์ ๕ อาจมีอัตตา อาศัยอยู่ ใน และ นอก ขันธ์ ๕ ได้ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาอยู่ในความหมายนี้ไหมคือ ไม่มีอัตตาอยู่ใน/นอกขันธ์ ๕ ที่ปรากฎชัดใน สัมมนุปัสสนาสูตร และ อนุราทสูตร บอกว่า ไม่มีอัตตาในและนอกขันธ์ ๕ เราจึงมีหลักฐานมากพอว่า ขันธ์ ๕ ไม่มีอัตตา ส่วนนิพพานเป็นอนัตตา นิพพานต่างจากขันธ์ ๕ นิพพานก็เป็นอนัตตาได้ ถ้าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาในในพระไตรลักษณ์ แต่ นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เป็น ขันธ์วิมุตติ นิพพานไม่ใช่สิ่งที่มีของอัตตา นิพพานเป็นแค่สภาวะของการหลุดพ้น มันไม่ใช่สิ่งอะไรสักอย่างที่มาตรงกันข้ามกับ ขันธ์ ๕ มันเป็นแค่สภาวะ ไม่ใช่สิ่งของตัวตนอะไร ความหมายคือ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของใคร และ ไม่มีอัตตา เมื่อนิพพานไม่ใช่ดินแดน เราจะบอกว่านิพพานมีอัตตาอยู่ในหรือนอก ซึ่งเป็นไปไม่ได้
หากท่านมีความคิดอื่นขึ้นอยู่กับความคิดความเชื่อของท่าน มีคนเดียวที่จะบรรยายได้กระช่างมีเพียง พระพุทธเจ้าเท่านั้น หากให้พระอาจารย์ใดมาอธิบายก็ยังมีการไม่ยอมรับและถกเถียงอยู่เช่นเดิม แต่ขันธ์ ๕ เป็นที่ยอมรับแน่นอนชัดเจน ปัญหาใหญ่อยู่ที่นิพพาน เพราะพระองค์ไม่ได้ตรัสว่าเป็น อนัตตา สิ่งที่ยืนยันคือ อรรถกถา ว่าไว้เป็น อนัตตา
เหตุผลบางประการที่ฝ่ายผู้เชื่อว่า พระองค์ไม่ได้ปฏิเสธอัตตา บางเรื่องเท่านั้น เช่น ขอว่าตามเอกสารที่แจก เรื่องอนัตตาที่เถียงเป็นในทางอภิปรัชญา ที่มีบางอย่างเป็นตัวเราของเราในชาตินี้จริงไหม และ ตัวขันธ์ ๕ ไม่ใช่จะเป็นนิพพานไหม แต่อนัตตามีกล่าวในทางจิตวิทยา ซึ่งไม่น่าเถียงได้ ตราบใดที่ยึดติดว่ามีตัวเราของเรา ตามที่ท่านพุทธทาสกล่าว เราไม่มีทางพ้นทุกข์แน่ ถ้าท่านไม่เชื่อว่า ไม่มีอัตตา ทางจิตวิทยา ท่านไม่มีทางพ้นทุกข์ ศาสนาพุทธสอนให้ละตัวกูของกูจึงจะพ้นทุกข์ได้ ซึ่งเป็น มมังการ อหังการ เป็นอัตตาทุปาทาน ที่เป็นหลักตาม ปฏิจจสมุปบาท ไม่มีทางพ้นทุกข์ได้
เหตุผลข้อที่ ๑ ที่พระองค์ไม่ปฏิเสธอัตตาอย่างสิ้นเชิง จริงๆอัตตามีอยู่ แต่อย่าไปยึดมั่น ที่จริงมีอยู่ แต่พอเราปฏิบัติบรรลุธรรมไป หมดกิเลส พ้นจากวัฏฏสงสาร ตัวเราก็ยังมีอยู่ มันฟังง่ายและดี เท่าที่ศึกษาไม่น่าเป็นไปได้ มันเป็นเรื่องการปฏิบัติเท่านั้น จริงๆมันมีตัวของเราเหลืออยู่ ถ้าเราไม่มีตัวเราแล้วถึงนิพพานจะมีความสุขอะไร เรากำลังติดความสุขแบบเวทนา เป็นการเสพซึ่งเป็นเรื่องเวทนา ยังอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ในนิพพานไม่มีอัตตาในการเสพสุข
ถ้าเชื่อว่ามีอัตตาในทางอภิปรัชญาอยู่จริง มันจะไม่เข้ากับคำสอนในคัมภีร์ พระองค์ตรัสปฏิเสธอัตตาไว้มาก และบางเรื่องปฏิเสธอัตตาโดยไม่มีการอ้างอิงเรื่อง จริยธรรม เรื่องการปฏิบัติ โลกนี้ว่างจาก อัตตา ไม่เกี่ยวกับเรื่องปฏิบัติ ไม่ได้พูดว่าถ้าเธอยังยึดติดอยู่เธอยังไม่พ้นทุกข์ ท่านพูดแต่ อัตตา ไม่มี การตรัสนั้นไม่ได้สอนให้หลุดพ้น
เหตุผลข้อที่ ๒ ที่ ขันธ์ ๕ เป็น อนัตตา และ ที่ว่านั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา แสดงว่า เราไม่ใช่อัตตา เป็นแค่ ขันธ์ ๕ แต่พระองค์ยอมรับว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวเราที่แท้จริง ปัญหาเกิดคือ สรุปเกินเหตุผล SELF คือ อัตตา ส่วน Self ตัวเล็ก คือ คนแต่ละคน เป็นร่างกาย ไม่ใช่อัตตาแท้จริง พุทธเจ้าตรัส ตนแลเป็นที่พึ่งของตน อัตตาที่แท้จริง คือ ที่พึ่งของเรา เราเสพสุขอะไรก็คืออัตตาตัวเรานั่นเอง พระองค์ตรัส “เธอควรแสวงหาตน หรือหญิง” ซึ่งตรัสกับ ภัททวัคคีย์ ๓๐ คน นาง รีด เดวิดส์ สามีชื่อ โปรเฟสเซอร์ โทมัส เดวิดส์ ทั้ง ๒ มีทัศนะไม่ตรงกัน ภรรยาบอกพระองค์ไม่ปฏิเสธอัตตา ส่วนสามีบอกพระพุทธเจ้าปฏิเสธ พระองค์สอนให้แสวงหาตนเอง เป็น สรรพนามของแต่ละคน ไม่ได้ส่อว่ามีอัตตา แต่ถ้าจะตีความว่าเป็นอัตตา ยังมีน้ำหนักไม่มากพอ
อัตตาหิอัตตโนนาโถ หรือ เธอควรแสวงหาตน นั้น ถ้าจำเป็นต้องหมายถึงอัตตาแน่นอน แปลว่า พุทธองค์ห้ามใช้อัตตาเด็ดขาด ถ้าปฏิเสธ ท่านสอนชาวโลกต้องใช้ตน มาเป็นภาษาพูด หรือ บัญญัติ ถ้า “ตน” หมายถึง อัตตา เสมอ มีพุทธพจน์ว่า ภิกษุจะต้องละตน คือต้องละอัตตา จะละตนละตัวเองไปได้อย่างไร ถ้าเป็นตัวเราเอง มีหลักฐานว่า ทรงสอนแต่ไม่ให้ยึดถือ และ พระอรหันต์ที่บรรลุธรรมใช้ศัพท์ว่า เรา แต่ ไม่ถือว่ามีเรา ปฏิเสธเราในความหมายอัตตานั่นเอง ไม่ได้หมายความว่ามีอัตตา ตนหมายถึงตัวตนธรรมดา
นิพพานคืออัตตา นอกจากขันธ์ ๕ นิพพานนั่นเองคือ อัตตา ตัวจริงของเรา นิพพาน เป็นสิ่งไม่เปลี่ยนแปลง คือ นิจจัง และ สุขขัง ที่ตรงกันข้าม กับ อนิจจัง และทุกขัง สิ่งที่เป็นอนัตตาจะมาคู่กับ อนิจจัง และ ทุกขัง เมื่อนิพพาน เป็นนิจจัง และ สุขขัง จึงเปรียบเทียบ อนัตตา ตรงข้ามกับ อัตตา นิจจังและสุขขัง คือเที่ยงแบบมีอัตตาที่ยั่งยืน สุขขังที่ไม่ใช่ทุกข์คือมันไม่เปลี่ยนแปลง มันเป็นสิ่งหนึ่งที่เสพย์สุขแบบตลอดไป
นิพพานไม่ใช่สิ่งที่มีชีวิตจิตใจหรืออยู่ที่ใดที่หนึ่งไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนวิญญาณอมตะหรือเสพย์สุขไม่รู้จบ สุขของนิพพานไม่ใช่ เวทนา สุขในนิพพานคือในแง่ ไม่มีความทุกข์คือไม่เสพย์อะไรเลย เป็นบรมสุข ถ้าเป็นเวทนาก็ไม่พ้นขันธ์ ๕ เมื่อไม่ใช่สุขแบบขันธ์ ๕ มันเป็นสภาวะของนิพพานคือพ้นทุกข์ดับกิเลส เป็นสภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะมันจะไม่กลับมาเวียนว่ายอีก ถ้านิพพานยังต้องแปรเปลี่ยน แปลว่า พระอรหันต์ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก นิพพานจึงไม่ใช่บรมสุข
นิจจัง กับ สุขขัง ไม่ใช่ความหมายที่ตรงข้ามกับ อนิจจัง กับ ทุกขัง คำว่าอนัตตามาเดี่ยวๆได้ ไม่ต้องมี อนิจจัง และ ทุกขังได้ ทางตะวันตกเรียกว่า Analogy คือ อนัตตาไม่ได้อยู่ในอำนาจของใคร เป็นการเทียบเคียง พระไตรลักษณ์ กับ นิจจัง สุขขัง เพื่อโยงไปหาอัตตาของนิพพาน เมื่อเทียบเคียงอย่างอื่นเช่น สัตว์ที่มีขา มีปีก บินได้ และบอกอีกว่า สัตว์ที่ไม่มีขา ไม่มีปีก บินไม่ได้ ความเป็นจริง การเคลื่อนไหว ไม่จำเป็นกับสัตว์ที่มีปีก มีขา หรือ อาจจะไม่มีปีก ไม่มีขาเช่น งู หอย เคลื่อนไหวได้ ดังนั้น อนัตตาคงจะมาเป็นเดี่ยวๆ ได้ นิจจัง สุขขัง ไม่ใช่ที่ตรงกันข้ามกับ อนิจจัง ทุกขัง ท่านจะต้องอ้างว่า นิพพานตรงข้ามกับขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ ที่สืบต่อกันไปคล้ายกับการคงที่ เป็นอัตตาชนิดหนึ่ง นักวิชาการบอกว่าขันธ์ ๕ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยไม่เหมือนของฮินดู มีบางคนบอกว่าขันธ์ ๕ ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆคืออัตตาชนิดหนึ่ง เป็น Self Influx เลื่อนไหลไปเรื่อย ขันธ์ ๕ เปลี่ยนตามเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เปลี่ยน ขึ้นอยู่ตามเงื่อนไขคือการหมดกิเลส ไม่มีอัตตาอย่างที่ว่า ข้อที่ ๑๐ ไม่ทรงปฏิเสธคำถามที่ว่า หลังตาย พระองค์มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ท่านทรงยอมรับการมีอยู่และการไม่มีอยู่ เป็นทัศนะของ ยอร์จ กริม อ.สมภาร ชมมาก อ้างพระสูตรตลอด พระองค์ไม่ตรัสตอบ ทรงนิ่ง ทางยอร์จ กริมถือว่ายอมรับ ที่พระองค์ไม่ตอบคือมีความเชื่อบางอย่างไว้ก่อนแล้ว มีสิ่งที่เรียกว่า ตถาคต มีอยู่ ถ้าตอบว่า ใช่ ก็ยอมรับ ถ้า ไม่ คือ ตถาคตก็มีในแบบอื่น แบบนี้ไม่ใช่ ถ้าตอบเมื่อไหร่ก็ผิดเมื่อนั่น ตถาคตไม่มีอัตตา นี่เป็นคำถามที่ตั้งไว้ผิดแต่ต้น เช่น ถ้าผมถามพระว่าเลิกฉันท์ข้าวเย็นหรือยัง ถ้าตอบใช่ แต่ก่อนเคยฉันท์ ก็ผิด คำถามแบบนี้ตอบไม่ได้ว่า ใช่ หรือ ไม่ ที่ทรงนิ่งเงียบไม่ได้ตอบรับ
ข้อ ๑๒ การเปรียบเทียบปรินิพพานเหมือนไฟดับ ไม่ได้แสดงว่าเหลือตัวตนอัตตาเหลืออยู่ ในอินเดียเชื่อว่าไฟที่ดับ คือไฟยังมีอยู่แต่ไม่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น นักคิดจึงเอาแนวคิดนี้เทียบ พระอรหันต์ไม่ได้สูญไป แต่วิญญาณยังอยู่ นั่นคือ อัตตา ส่วนนี้ไม่น่าจะถูก พระองค์พูดในแง่ปฏิจจสมุปบาท ว่า ไฟปรากฎต่อเมื่อมีปัจจัยพร้อมเมื่อรวมกันจึงเกิดไฟ ก่อนหน้านี้จะบอกว่า มี หรือ ไม่มีก็ได้ เช่นวิญญาณ เกิด คือ มี แต่ วิญญาณดับ คือ ไม่มี การอ้างตัวอย่างไฟมีอยู่จึงใช้ไม่ได้ในกรณีนี้
ทัศนะของ เปเล่ เลมอง ซึ่งยืนยันว่ามีอัตตา พระองค์ไม่ได้ตรัสว่าอัตตาไม่มี หรือบุรุษเป็นอนัตตา ถ้าทรงให้ชัดไปเลย อันนี้ไม่ถูก ถ้าบอกบุรุษเป็นอนัตตาจะงงเพราะมันเป็นอัตตา ถ้าบอกว่าบุรุษเป็นอนัตตา คือ เหมือนว่า บุรุษไม่มี
ในอานันทสูตร ท่านตรัสว่า อัตตา ไม่มีไม่ได้ เขาจะเข้าใจว่า แต่ก่อนมี แต่เดี่ยวนี้ไม่มี กลายเป็น อุจเฉททิฏฐิ ไป ข้อ ๑๖ จิตคือผู้หลุดพ้น จิตคือ อัตตา
ในสุตตันตปิฎก พระองค์ เรียก จิตบ้าง มโน วิญญาณบ้าง เป็นไวพจน์ของกันและกัน บอกว่าเป็นคนละอันไม่ได้ จะบอกว่า จิตเป็นผู้หลุดพ้น ต่างกันไม่ได้ ที่จริงมีมากกว่านี้ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่ปฏิเสธอัตตา อัตตาทั้งหมดที่จะคิดได้ จะต้องเกี่ยวกับขันธ์ ๕ อยู่ในหรือนอกขันธ์ ๕ พระองค์บอกว่าความคิดเหล่านี้ผิดหมด อัตตาไม่เป็นอันเดียวกับขันธ์ ๕ สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเรา อัตตาคือขันธ์ ๕ จึงเกี่ยวพันกัน แต่พระองค์ปฏิเสธ
ในปุณณมสูตร แสดงว่าการรับผลกรรมไม่จำเป็นต้องมีอัตตา มีแต่ขันธ์ ๕ ก็พอ กรรมของอนัตตา ตัวผู้กระทำกรรมเป็นอัตตาได้อย่างไร คนทำกรรมต้องเป็น อัตตา ผู้กระทำ ถ้าเป็นอนัตตาก็คนละคนจะเกี่ยวกับคนเราได้ไง พระองค์บอกว่ามีแต่ขันธ์ ๕ ที่รับกรรม เช่นในมิลินทปัญหา คือ คนเดียวกันก็ไม่ใช่ คนละคนก็ไม่ใช่
ใน มหาตัณหาสังคายสูตรข้อ ๕ พูดไปแล้ว แต่ยังปฏิเสธอัตตาไม่ร้อยเปอร์เซนต์ พูดเฉพาะวิญญาณ ที่นิยมอ้าง อลัคทูปมสูตร เขาปฏิเสธตัวเราหลัวตาย ร่างกายตายแต่ตัวเราไม่ตาย เป็นแบบ เชน พระองค์บอกว่า ถ้าหลังตาย เรายังมีอยู่นั่นเขลา พระองค์ไม่ปฏิเสธอัตตาทางจิตวิทยาเท่านั้น ยังทางอภิปรัชญาด้วย เพราะความเป็นจริง จะหาไม่เจอในมหานิทานสูตร ปฏิเสธ อัตตา แบบมีรูปและไม่มีรูป มีเฉพาะชาตินี้หรือชาติหน้า อยู่เฉพาะที่หรือทุกแห่ง สูตรนี้ปฏิเสธ พรหมมัน และอาตมัน ที่มีอยู่ชั่วนิรันดร์กาล แบบ ฮินดู
หลักฐานในรุ่นหลัง ข้อที่ ๑๐ คัมภีร์ คาถาวัตถุ แต่งโดย พระโมคัลลีเถระ ในสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่เถียงกันเรื่องบุคคล เรื่อง อัตตา สรุปว่าโดยปรมัตถ์ไม่มี
ส่วนวิสุทธิมรรคปฏิเสธชัด มีแต่ทุกข์แต่ไม่มีผู้รับทุกข์ มีผู้ทำกรรม แต่ไม่มีผู้กระทำ มีนิพพาน แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน ถ้ามีตัวตนจริงต้องมีคนรับทุกข์ ทำกรรมและเข้าถึงนิพพาน ท้ายสุด สิ่งมีจริงมีแต่ สภาวะธรรมล้วนๆ ไหลไป ไม่มีชื่อหรอก เราใช้ความคิดเราไปสร้างและยึดติดมันเอง
นิพพานไม่ใช่ อัตตาและไม่มีอัตตา มีอยู่ในหลายที่ ในอรรถกถา ว่า นิพพานเป็นอนัตตาเพราะว่าจากอัตตา หรือเพราะไม่เป็นไปในอำนาจ ในพระสูตร ใน อสังคตสูตร และอีกหลายสูตร พระองค์ ตรัส นิพพานคือความสิ้นกิเลส หมดกิเลส เป็นสภาวะ เป็นอาการที่จิตไม่เกิดกิเลสอีกแล้วไม่ใช่ดินแดน สิ่งของ หรือ เหมือน ขันธ์ ๕ มันเป็นแค่ภาวะอย่างหนึ่งจึงไม่เป็นอัตตา พระองค์ปฏิเสธการมีตัวตนอยู่ และไม่ทุกข์เลย ถ้าอัตตามีจริงต้องมีทุกข์ ตลอดไปไม่มีทางหลุดจากการเวียนว่ายตายเกิด ในโปฎฐปาทสูตร ทรงปฏิเสธอัตตาโดยเฉพาะอัตตาที่มีสัญญาและอัตตาที่มีแต่ความสุข พระองค์จึงสอนว่าหลุดออกจากอัตตาได้ทำให้ทุกข์ไม่เหลืออยู่อีก
หลักฐานในพระสูตรส่วนใหญ่ปฏิเสธอัตตา และมีน้ำหนักมาก ถ้าเทียบน้ำหนักในเชิงยืนยันแทบหาไม่ได้ กับการปฏิเสธอัตตาอย่างชัดเจน มีพุทธพจน์เยอะมาก พระองค์น่าจะปฏิเสธอัตตา และนิพพานก็ไม่ใช่ แต่แม้พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า นิพพานเป็นอนัตตา แต่ผู้บรรยายเชื่อว่า ๙๙ เปอร์เซ็นต์ เป็นอนัตตา
เรื่องอัตตาในทางอภิปรัชญา อาจจะไม่ใช่เป้าหมายคำสอนของพระองค์ พระองค์ทรงมุ่งอัตตาทางจิตวิทยามากกว่า คือต้องการให้ถอนตัวเอง ของกู ทำให้ตัดกิเลสได้ พ้นทุกข์ พุทธพจน์ตรัสว่า พวกเธอเชื่อไหมว่าคุณเชื่อว่ามีอัตตาแล้วไม่มีทุกข์ พวกเขาตอบ ว่าไม่มีพระเจ้าข้า จะพิสูจน์ ๑๐๐ เปอร์เซนต์ไม่ได้ ถ้าถือว่ามีอัตตาก็มีทุกข์แน่ ทุกวันนี้เราทุกข์เพราะเกี่ยวกับตัวเรา เช่น คนอื่นถูกยิงตายเราไม่ทุกข์ แต่ถ้าเป็นพี่น้องเราเราทุกข์มาก ตราบใดยังมีตัวเองอยู่ไม่พ้นทุกข์ ไม่ว่าอัตตาทางอภิปรัชญามีจริงหรือไม่ แต่ทรงปฏิเสธในทางจิตวิทยา และเราควรจะวางมันลงไปด้วย
จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่า นิพพานเป็นอนัตตาเพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นใด ๆ ในความเป็นตัวเป็นตน เป็นบุคคล เรา เขา ดังพุทธพจน์ที่ว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย. ซึ่งแปลว่า ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น หรือสิ่งทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นไว้ได้[1]. เมื่อเมื่อไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าจึงไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ แม้ว่ายังมีชีวิตอยู่ก็จะไม่มีการปรุงแต่งในอารมณ์ แม้มีความสุขก็ไม่ยึดมั่น แม้มีความทุกข์เวทนาก็ไม่มีความหวาดหวั่นต่อสิ่งต่าง ๆ จึงเท่ากับว่าไม่มีตัวตน เพราะจิตหลุดพ้นจากการเป็นไปตามเหตุและปัจจัยที่มาปรุงแต่งได้ ถึงแม้ว่าจะมีความทุกข์หรือสุขเวทนาก็ไม่มีความกลัวหรือเสียดายใด ๆ นั่น เองจึงได้ชื่อว่านิพพานเป็นอนัตตาได้ด้วยการไม่ยอมยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง.
[1] ม.มู.12/434/464: 438/469:สํ.สฬ.18/96/62: สํ.ม.19/90;

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น