๑. ประวัติและความเป็นมาในการก่อเกิดนิกาย
นิกายวัชรยานมีลักษณะพิเศษแปลกกว่านิกายพุทะศาสนาอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะรับเอาพิธีกรรมและอาถรรพเวทของพราหมณ์เข้าสั่งสอนด้วย นิกายนี้จึงมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น พุทธตันตรยาน รหัสยาน คุยหยาน และวัชรยาน
ระยะแรกคงเป็นส่วนหนึ่งของมหายาน ครั้นตกมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นิกายนี้ได้ประกาศตนเป็นอิสระต่างหากจากพวกมหายานิกายเดิมว่า “พวกเปิดเผย” โดยเรียกพวกตนเองว่า “พวกลึกลับ” กล่าวกันว่าหลักธรรมของนิกายนี้ เทศนาเปิดเผยโดยพระไวโรจนพุทธเจ้า ภายหลังพระวัชรสัตว์ได้เก็บรวมหลักธรรมทั่งหมด บรรจุเข้าในพระเจดีย์เหล็กแห่งอินเดียภาคใต้ ต่อมาท่านคุรุนาคารชุนได้รับอภิเษกจากพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ และได้เปิดกรุพระธรรมอันลึกลับนี้ออกเที่ยวสั่งสอนแก่พประชาชน คุรุนาคารชุนได้ถ่ายทอดให้แก่สานุศิษย์คนหนึ่ง ชื่อนาคโพธิ (ซึ่งกล่าวกันว่า ท่านมีอายุถึง ๗๐๐ ปี.) ต่อมาท่านนาคโพธิได้จาริกมาสู่เกาะสิงหล ท่านได้ถ่ายทอดให้แก่ท่านศุภกรสิงหะและท่านวัชรโพธิ ท่านศุภภรสิงหะได้จาริกมาสู่ประเทศจีน ซึ่งมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในการประการคำสอน และได้รับเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีสมณะชื่อว่า “เด็งกโย” ได้ศึกษาปรัชญานิกายเทียนไท้ ส่วนท่านฮูกายนั้นไกศึกษา ณ วัดแชเล่งยี่ได้รับมนตราภิเษกจากท่านคณาจารย์ฮุ่ยก๊วยและได้รับเครื่องมณฑลบูชาครบชุด กลับไปญี่ปุ่น และได้ตั้งสำนักแผ่ลัทธิเจริญรุ่งเรื่อง และขยายเป็นนิกายต่าง ๆ แต่ที่ได้รับการแผ่หลายที่สุด คือในธิเบต ซึ่งมีลักษณะที่พิสดารกว่า เพราะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทามหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี เช่น ท่าน ศานตรักษิต ท่านคุรุปัทมสัมภพ ท่านกมลศีลา ท่านอดตีศะ ได้นำเข้าไปเผยแผ่โดยตรง
๑.๑ การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในธิเบต
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ พระพุทธศาสนาเริ่มแพร่หลายในธิเบต แต่ประวัติศาสตร์บอกแก่เราว่าพระพุทธศาสนาเริ่มแผ่เข้าสู่ธิเบตในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ สมัยพระเจ้าสรองตสันคัมโปปกครองธิเบต โดยพระมเหสีของพระองค์ ๒ พระองค์ องค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิงจีนทรงพระนามว่า “บุ้นเซ้งกงจู้” และอีกพระองค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิงเนปาลทรงพระนามว่า “ภฤกุฏีเทวี” ราชเทวีทั้ง ๒ ได้เป็นผู้ชักนำให้สวามีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ๑
พระพุทธศาสนาเข้าสู้ธิเบตหลายระยะด้วยกัน จากหลักฐานที่ต่างๆ ว่า ครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ครั้งที่ ๒ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ในสมัยของพระเจ้าสรองตสันคัมโป โดยพระมเหสีของพระองคื ๒ พระองค์ องค์แรกเป็นเจ้าหญิงจีน พระนามว่า “บุ้นเซ้งกงจู้” ส่วนองค์ องค์แรกเป็นเจ้าหญิงจีน พระนามว่า “ ภฤกุฎีเทวี” ส่วนครั้งที่ ๓ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยคณาจารย์แห่งลัทธิพุทธตันตระนามว่า “คุรุปัทมสมภพ” ซึ่งท่านได้รับนิมนต์เข้าไปในธิเบตและท่านสามารถยังศรัทธาปสาทะให้เกิดขึ้นแก่ชนชาวธิเบตได้สำเร็จ จึงทำให้พระพุทธศานาในธิเบตเป็นปึกแผ่นมั่นคงแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กษัตริย์ชาติมองโกล ทรงพระนามว่า “กุบไลข่าน” ได้ให้ความในใจต่อพระพุทธศาสนาในธิเบตมาก และในขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมโดยวิธีต่างๆ เพราะเหตุดังนี้ พระพุทธศาสนาในธิเบต่จึงเจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นโดยลำดับ
พระพุทธศาสนาที่ได้เข้าสู่ธิเบตนิยกายแรกคือ มนตรยานตันตระ ซึ่งเป็นนิกายที่ถูกกับอุปนิสัยรสนิยมของชาวธิเบต อันเป็นชาติที่มีควมเป็นอยู่ในดินแดนลี้ลับแห่งนี้ ที่ได้กลมกลืนกับชาวธิเบตเพราะแต่เดิมได้นับถือลัทธิบูชาเทวะลึกลับ ซึ่งเต็มไปด้วยเวทมนต์อาถรรพณ์ เรียกว่า “ลัทธิบอนปะ” ๒
ต่อมามีคณาจารย์แห่งลัทธิพุทธตันตระองค์หนึ่งนามว่า “คุรุปัทมสมภพ” เป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ที่เป็นผู้ที่ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นคงในดินแดนแห่งธิเบต พร้อมได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชาหลายพระองค์ เป็นผลทำให้พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปทั่วธิเบต เราจึงรู้จักนามของพระพุทธศาสนาอยู่ในธิเบตอีกชื่อหนึ่งคือ“ลัทธิลามะ”๓
๑.๒. นิกายหลักวัชรยาน
ครั้งถึงยุคราชวงศ์เหม็ง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีคณาจารย์ธิเบตองค์หนึ่งชื่อ “ตสองขะปะ” เป็นผู้ไปศึกษาและเรียนรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกจากอินเดีย ท่านได้เห็นสังฆมณฑลแต่ก่อน ประพฤติเลอะเทอะ มุ่งแต่ในทางกฤตยาคุณ อาคมขลังต่างๆ ละทิ้งการศึกษาและพระวินัย จึงได้ตั้งนิกายของตนขึ้นใหม่ ให้สงฆ์นุ่งห่มกาสาวพัสตร์สีเหลือง และบังคับให้ประพฤติพรหมจรรย์ ถือปาฎิโมกขสังวรศีลอย่างเคร่งครัดและให้ศึกษาปริยัติธรรมด้วย เนื่องจากนิกายเดิมทรงกาสาวพัสตร์สีแดง จึงได้เกิดเป็น ๒ นิกาย คือ นิกายแดง และนิกายเหลือง นิกายเดิมคือ นิกายแดง นับถือคุรุปัทมสมภพเป็นปฐมจารย์ สงฆ์ในนิกายนี้มีวัตรปฏิบัติทางพระวินัยหย่อนยานมาก แต่เมื่อนับนิกายปัจจุบันที่แยกย่อย ประมาณ ๓๐ กว่านิกาย นิกายสำคัญ โดยนับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศธิเบต โดยส่วนใหญ่เป็นคำสอนที่ถ่ายทอดไปจากอาจารย์และโยคีชาวอินเดีย วรรณคดีพุทธ๔ศาสนมี่ธิเบตใช้เป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตล้วน มีการถ่ายทอดคำสอนออกเป็นหลายนิกายทั้งนิกายใหญ่และนิกายย่อย โดยเฉพาะนิกายหลักที่สำคัญ ๔ นิกาย คือนิงมะ (ยิงมาปา) ,กาจู (คากิว), สักยะ และเกลุก (เกลุกปะ) โดยเรียงลำดับจากความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก บางครั้งจะพบคำว่า “ปะ” ต่อท้าย แปลว่า “เป็นของ” เช่น นิงมะปะ คือ ของนิกายนิงม
๑. นิกายนิงมาปา หรือนิกายหมวกแดง อ้างว่าถือกำเนิดจากปฐมาจารญ์ชาวอินเดีย คือ คุรุปัทมสัมภวะ ซึ่งเดินทางมราธิเบตตามคำเชิญของพระเจ้าตริสองเดชัน ในค.ศ. ๘๑๗ เพื่อให้มาช่วยปราบภูตผีมารร้านที่เป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่พุทธศาสนา ปัทมสัมภวะไม่ใช่พระภิกษุแต่เป็นโยคีผู้ทรงความรู้โดยเฉพาะในสายของตันตระ
นิกายนิงมาปาแบ่งคำสอนในพุทธศาสนาออกเป็น นวยาน (ยานทั้ง ๙ ) สามยานแรกเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตวยาน ยานทั้งสามนี้คือ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ปรากฎในพระสูตร จากนั้นก็เป็นตันตระสาม ได้แก่ กิริยาตันตระ อุปตันตระ และโยคะตันตระ
๒. นิกายคากิว ๔ เป็นนิกายในพุทธศาสนาแบบธิเบตที่สำคัญ มีผู้สืบทอดที่โด่งดังคือโยคีมิลาเรปะโดยมีรากฐานความเป็นมาจากสองแหล่ง ได้แก่ อาจารญ์มาร์ปะโชคี โลดด (๑๐๑๒–๑๐๘๙) และทุงโป ญาลจอร์ (๙๗๘–๑๐๗๙) อาจารย์มาร์ปะนั้น เป็นนักแปลที่มีชื่อเสียงท่สุดคนหนึ่งของธิเบต ได้รับการฝึกฝนจาก ดรอกมีเยเช (๙๙๓– ๑๐๕๐) จากนั้นอาจารย์มาร์ปะ เดินทางไปอินเดีย ๓ ครั้ง ไปเนบาล ๔ ครั้ง เพื่อแสวงหาพระธรรม ได้ศึกษาโดยเป็นศิษย์ของทั้งอาจารย์และโยคีจำนวนมาก
3.นิกายสักยะ หรือนิกายหลายสี ความเป็นมาของนิกายสักยะผูกพันอยู่กับ “ดอน” ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางโบราณ การสืบสายของตระกูลนี้ ตกทอดมาโดยมิขาดสายจนถึงทุกวันนี้ นับจาคอน คอนจ็อก เจลโป (๑๐๓๔-๑๑๐๒) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งนิกายสักยะ
๔. นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เป็นนิกายที่องค์ทะไล ลามะ เป็นผู้นำ นิกายเกลุกปะพัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีษะ วางรากฐานไว้แต่เดิม และจัดเป็นรูปแบบชัดเจนโดยอาจารย์สองขะปะ (๑๓๕๗-๑๔๑๙) อาจารย์สองขะปะเกิดที่เมืองสองขะ ในแคว้นอัมโด รับศีลอุบาสกตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ จากอาจารย์รอลเปดอร์เจกรรมะปะองค์ที่ ๔ กุงกะ นิงโป ต่อมาอายุได้ ๗ ขวบ บรรพชาเป็นสามเณร รับศีลจากอุปัชฌาย์ โชเจ ทอนดุบ รินเซ็นและได้รับฉายาว่าลอบชังดรักปะ แม้ในเยาว์วัยได้ทั้งคำสอนและพิธีอภิเษกของเหรุกะ ยมันตกะ และเหวัชระ สามารถท่องจำพระคัมภีรื เช่น พระนามของพระมัญชูศรี ได้ทั้งหมด
๒. หลักปฏิบัตินิกายวัชรยาน
นิกายนี้มีหลักปรัชญาและพิธีกรรมที่ดัดแปลฃมาจากพราหมณ์ และชาวพื้นเมืองในมณฑลเลงกอลหรือที่เรียกว่าแคว้นกามรูป จึงหมายความว่านิกายมนตรยานนี้มีลากษณะของพระพุทธศาสนาลบริสุทธิ์นิ้ยกว่ามหายานทุก ๆ นิกาย คติที่เรียกว่า รหัสยาน หรือ คุยหยาน ซึ่งแปลว่ายานลึกลับ เพราะมีเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. เพราะเป็นความลึกลับ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายซ่อนเร้นเอาไว้ ไม่ทรงเปิดเผยแก่สาธารณชน นอกจากบุคคลผู้มีปัญญาสูง
๒. เพราะธรรมชาติศัพท์สำเนียกต่าง ๆ ในโลก แท้จริงเป็นธรรมเทศของพระไวโรจนพุทธะ แต่ปุถุชนไม่สามารถจะทราบได้
๓. เพราะพุทธวจนะน้นมีอรรถรสที่ลึกซ่ง บางครั้งพระองค์ตรัสโดยโวหาร เช่นตรัสว่า ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นอริยมรรค ถ้าเราจับฉวยตามโวหาร ก็ผิด
๔. เพราะการปฏิบัติเข้าถึงโพธินั้น ลำพังกำลังของตนไม่พอที่จะต่อต้านกิเลสมารได้ จำต้องพึ่งอานุภาพของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ช่วยจึงจักสำเร็จ
นอกจากนี้ยังมีข้อปลีกย่อย เช่นอ้างว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้แจ้งถึงพุทธภาวะของตนเอง จัดว่าเป็นความลึกลับด้วย
อนึ่ง เพราะในลัทธินี้ต้องปิดการบำเพ็ญโยคกรรมและสวดมนต์ ตลอดจนทำมุทระ จะให้เปิดเผยแก่ชนผู้ยังมิได้ผ่านการอภิเษกจากอาจารย์มิได้ แต่โยคกรรมบางอย่างก็อนุญาติให้เปิดเผยได้
คัมภีร์สำคัญ
๑. มหาไวโรจนาภิสัมโพะวิกุรฺวิตาธิษธานไวปุลฺยสูตฺเรนฺทรราชนมปรฺยายสูตร เรียกสั้น ๆ ว่า มหาไวโรจนสูตร (ไต้ยิดเก็ง) ท่านศุภกรสิงหะ กับ ท่านอิกเหงร่วมกันแปล
๒. วัชรเสขสูตร ท่านอโมฆวัชระแปล
๓. อรรถกถามหาไวโรจนสูตร ของคณาจารย์อิกเหง
พระคัมภีร์ล้วนแปลจากคัมภีร์ในภาษาสันสกฤต การแปลนี้ นักปราชญ์ชาวตะวันตกยกย่องว่าแปลถูกต้องดีมากไม่ขาดตกเลย ส่วนที่แปลออกจากัมภีร์ภาษาจีนอีกตอนหนึ้งก็มี คัมภีร์เหล่านี้แบ่งออกเป็นสองหมวด หมวดหนึ่งเรียกว่า กาห์คยุร เป็นตัวพระคัมภีร์ หมวดสองเป็นอรรถกถา เรียกว่า ตางคยุร คัมภีร์หมวด กาห์คยุต นี้มีหมดด้วยกันร้อยหนึ่งหรือร้อยแปดเล่ม เล่มหนึ่งราวพันหน้า คัมภีร์ทั้งหมดแลบ่งเป็นเรื่องได้พันกับแปดสิบ คัมภีร์ที่ธิเบตใช้ตัวพิมพ์ไม้แกะเป็นที้งประโยคพิมพ์ลงบนกระดาษข่อย ที่วิเศขึ้นไปใช้กระดาษนี้หลายแผ่นอัดกันแล้วทาสีดำเขียนเป็นอักษรตัวเงินหรือทอง (สมุดดำ) คัมภีร์กาห์คยุร แบ่งเป็นสามตอนเรียกว่า ตริปิฎก คือ
๑. ดุลวิ (วินัย) พระอุบาลีเป็นผู้รวบรวมมี ๑๓ เล่ม
๒. โท (สูตร) พระอานนท์เป็นผู้รวบรวมมี ๑๓ เล่ม
๓. จะโอสนอน ปะ (อภิธรรม) มี ๒๑ เล่ม รวมทั้งคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาของนาคารชุนด้วย
๓. ศึกษาวิเคราะห์หลักความคิดวัชรยาน
ปรัชญาอื่นๆ ที่อ้างว่าสำคัญและดีที่สุด ก็ปรากฎว่ามีอยู่ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ตัวจริงของพระพุทธศาสนานั้นมิได้เป็นอะไรทั้งนั้น นอกจากเป็น “สัจธรรม”ชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานติ์ ชี้ทางพระนฤพานอันพันโศกวิโยคภัยแก่สรรพสัตว์
ในพระไตรปิฎกเรามีเรื่องการลบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์มากมาย ที่เรียกว่าชาดกและจริยาปิฎก ใครจะปรารถนา พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ อรหันตภูมิ ก็มีเสรีจะปรารถนาได้ ของเรามีพร้อมทั้งแนวปฏิบัติเสร็จ มหายานเป็นแต่นำเอาหลักการบำเพ็ญเพื่อพุทธภูมิขึ้นมาประกาศมากกว่าของเราเท่านั้น
หากเป็นสาวกยานนิกายเถรวาที่ถือหลักภาษาบาลีเป็นสำคัญแล้ว ในพระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ที่ฝ่ายเถรวาทรักษาไว้ได้นี้นักหนา ถ้าไม่มีนิกายเถรวาทแล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะรู้จักพระพุทธมติดั้งเดิมแท้จริงได้เลย หลักธรรมของพระพุทธองค์คือความจริง อนิจจํ ทุกขํ อนตตา และอริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ข้อปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ยิ่งในสติปัฎฐาน ๓ เชื่อว่ามหายานและสาวกยานก็ไม่จะโต้แย้งกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น