วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ศาสนาคืออะไร

๑. คำจำกัดความ
คำว่า “ศาสนา” เป็นคำภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีใช้ศัพท์ว่า “สาสน” ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอน คำสั่ง หมายถึงศีลหรือวินัย คำสอน หมายถึงพระธรรม เรียกรวม ๆ กันว่า ศีลธรรม ส่วนคำว่าศาสนาในทางตะวันตกท่านใช้ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า “Religion” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “ Religio “ แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำนิยามไว้ว่า ศาสนา คือ “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักคือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ
หลวงวิจิตรวาทการได้อธิบายความหมายของศาสนาไว้ว่า คำว่า “ศาสนา” ต้องเป็นเรื่องที่มีลักษณะดังนี้
๑) เป็นสิ่งที่เชื่อถือโดยมีความศักดิสิทธิ์และไม่ใช่เชื่อถือเปล่า ๆ ต้องเคารพบูชาด้วย
๒) มีคำสอนทางศีลธรรมจรรยา และกฏเกณฑ์ ที่เกี่ยวกับความประพฤติเพื่อบรรลุผลอันดีงาม
๓) ปรากฏตัวผู้สอนผู้ตั้ง ผู้ประกาศ ที่รู้แน่นอน และยอมรับว่าเป็นความจริงประวัติศาสตร์
๔) มีคณะบุคคลทำหน้าที่โดยเฉพาะสำหรับรักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนนั้น สืบต่อบุคคล คณะนี้เรียกว่า “พระ” หรือ “วรรณะ” ปละเป็นเพศพเศษต่างกับสามัญชนเรียกว่า “สมณเพศ”
๕) มีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Fidelity หมายความว่า ถ้าถือศาสนาหนึ่งแล้ว จะไปถือศาสนาอื่นไม่ได้ แม้แต่จะเคารพบูชาปูชนียวัตถุของศาสนาหรือลัทธิอื่นก็ถือว่าเป็นบาปใหญ่หลวงทีเดียว
ความหมายของศาสนาตามที่กล่าวมานี้ มีลักษณะทั่ว ๆ ไปทั้งเทวนิยมและอเทวนิยมปน ๆ กันไป คือเป็นความเชื่อในเทพเจ้า บาปบุญ ปรมัตถธรรม ชีวิตปรโลก คำสั่งสอนในฐานะเป็นกฎศีลธรรม ที่มีศาสดาและคณะผู้ประกาศคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ศาสนิกจะละเลยไม่ได้
ท่านพุทธทาส ภิกขุ ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า “ศาสนาคือตัวการปฏิบัติหรือตัวการกระทำ อันเป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ หรือสิ่งที่สัตว์นั้น ๆ ไม่พึงปรารถนา”
สุชีพ ปัญญานุภาพ ได้สรุปความหมายของศาสนาไว้ ๓ ประการคือ
· ศาสนาคือที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงสุดของมนุษย์
· ศาสนาคือที่พึ่งทางใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกยึดเหนี่ยวตามความพอใจ
· ศาสนาคือคำสั่งสอน อันว่าด้วยศีลธรรมและอุดมติสูงสุด ในเรื่องของบุคคล รวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวปฏิบัติต่าง ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา
ความหมายของศาสนาตามที่ยกมานี้ หากกล่าวโดยภาพรวมแล้วจะเห็นชัดว่า ย่อมประกอบด้วยความเชื่อและเหตุผลที่เป็นระเบียบอันมนุษย์มองไม่เห็นและมีความดีสูงสุดที่มนุษย์สามารถปรับตัวเองให้กลมกลืนได้ศาสนา
๒. มูลเหตุการเกิดของศาสนา
การกำเนิดขึ้นของศาสนาประเภทอเทวนิยม ย่อมแตกต่างจากศาสนาประเภทอเทวนิยมดังนี้ คือ เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการทางปัญญาสูงขึ้น อาศัยประสบการณ์ และความเพียรพยายามเพื่อค้นหาความจริงของโลกและชีวิตโดยการไม่ต้องอ้างอิงอำนาจของเทพเจ้า ใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างแยบคายจนสามารถเข้าถึงความจริงได้แล้ว นำผลการค้นคว้าที่ตนได้ประสบมานั้น ประกาศสั่งสอนชาวโลกให้รู้ตามไปด้วย เช่น พระพุทธเจ้า ทรงประกาศสั่งสอนพระธรรมคืออริยสัจสี่ที่ได้ทรงตรัสรู้มาด้วยพระองค์เองนั้นแก่ชาวโลก
ดังนั้น ความกลัวอันเกิดจากอวิชชาคือความไม่รู้จริงตามสภาพ การหวังความพ้นภัยธรรมชาติและการใช้ปัญญาหรือเหตุผลบนพื้นฐานแห่งความพากเพียรพยายามของมนุษย์เป็นมูลเหตุแห่งการเกิดขึ้นของศาสนาในโลกนี้
๓. ลักษณะของศาสนา
ศาสนาประเภทอเทวนิยมในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักความเชื่อที่มีเหตุผลโดยเน้นหลักคำสอนทางศาสนาทีมีอยู่ตามความเป็นจริงเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผล โดยอาศัยความก้าวหน้าด้านสติปัญญาของมนุษย์ เป็นความเชื่อที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนแล้วจึงเชื่อ ฉะนั้นศาสนาประเภทอเทวนิยม เช่น พุทธศาสนา จึงเน้นหนักด้านความเป็นจริงมากกว่าเป็นความเชื่อที่ไปผูกพันอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติ
๔. องค์ประกอบของศาสนา
ศาสนาในฐานเป็นปรากฏการณ์ทางจิตและสังคม เป็นบ่อเกิดของคุณค่าและวัฒนธรรมและมีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น ซึ่งมีความลึกซึ้งและมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่ที่ถือว่าสำคัญที่สุดที ๕ ประการ คือ
Ø ศาสดา คือผู้ตั้งศาสนาหรือผู้สอนดังเดิม
Ø คัมภีร์ศาสนา คือที่รองรับหลักธรรมคำสอนในศสานั้นด้วย
Ø นักบวช คือผู้ปฏิบัติตามคำสอน หรือผู้สืบทอดต่อศาสนา
Ø ศาสนสถาน สถานที่สำคัญของศาสนา หรือปูชนียสถาน
Ø สัญลักษณ์ เครื่องหมายแสดงออกของศาสนาด้านพิธีกรรมและปูชนียวัตถุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น